ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่กับการเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมระดับโลก IPAC’22 ต่อยอดองค์ความรู้ พัฒนาอุตสาหกรรม
24 Jun 2022

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในนามประเทศไทย ตัวแทนภาคพื้นเอเชีย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาค 13th International Particle Accelerator Conference หรือ IPAC’22  ครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 12-17 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงสินค้า และการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งคนไทย และต่างชาติรวมกว่า 800 คน

ซึ่งต่างชาติมาจากประเทศ เยอรมันนี,สหรัฐอเมริกา,ฝรั่งเศส,สวิสเซอร์แลนด์,ญี่ปุ่น,อิตาลี,สหราชอาณาจักร, เกาหลี และสเปน โดยมีผู้ส่งบทคัดย่องานวิจัยมากว่า 1,000 ชิ้น และการแสดงสินค้าของผู้ประกอบการทางด้านเครื่องเร่งอนุภาคจากต่างประเทศกว่า 60 บูท ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากทางด้านวิชาการ และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยทั่วโลก นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศก่อให้เกิดรายได้เข้าในส่วนธุรกิจโรงแรม อาหาร และการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และเป็นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศไทยที่ดีให้กับชาวต่างชาติที่ได้เข้าร่วมงาน

 

 

ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ประธานคณะกรรมการบริหารการจัดงาน IPAC’22 กล่าวว่า “IPAC เป็นการประชุมวิชาการด้านเครื่องเร่งอนุภาคที่มีความสำคัญ และใหญ่ที่สุดของโลก และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยเวียนการเป็นเจ้าภาพใน 3 ทวีป คือ เอเชีย(รวมออสเตรเลีย) ยุโรป และอเมริกาเหนือ-อเมริกาใต้ สำหรับปีนี้เป็นวาระของทวีปเอเชีย และประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนแข่งขัน และได้รับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพการจัดงานครั้งที่ 13 นี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งนักวิชาการ และผู้สนใจจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย วิศวกร และผู้ประกอบการด้านเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ต่างกล่าวชื่นชมประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการจัดงานว่าจัดออกมาได้อย่างดี และประทับใจเป็นอย่างมาก”

 

 

โดยภายในงาน IPAC’22 มีการนำเสนอข้อมูลล่าสุดของการวิจัย และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคทั่วโลก รวมทั้งการนำงานวิจัย เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้จริงในห้องปฏิบัติการ และในภาคอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์จากทั่วทุกมุมโลกมาอัพเดทงานวิจัยด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค เทคโนโลยีแม่เหล็ก เทคโนโลยีสุญญากาศ และเทคโนโลยีระบบ เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้ก้าวล้ำมากยิ่งขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลแก่นักฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาคระดับโลก รางวัลแต่ละประเภทจึงเป็นชื่อนักฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาคเชื้อสายเอเชียที่มีคุณูปการและบทบาทสำคัญต่อวงการเครื่องเร่งอนุภาค ได้แก่ รางวัลเซี่ยจยาหลิน ซึ่งตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.เซี่ยจยาหลิน นักฟิสิกส์เชื้อสายจีนผู้บุกเบิกการพัฒนาเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อใช้บำบัดมะเร็ง รางวัลนิชิกาวา เทซึจิ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ชิกาวา เทซึจิ นักฟิสิกส์เชื้อสายญี่ปุ่นเชี่ยวชาญด้านพลศาสตร์ลำแสงของเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และรางวัลโฮกิล คิม ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.โฮกิล คิม นักฟิสิกส์และนักการศึกษาผู้บุกเบิกโครงการเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ ในเกาหลีใต้ และประสบความสำเร็จในฐานะนักฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาค ที่สถาบันการศึกษาในสหรัฐ และยังมีกิจกรรมที่มีการนำเสนอนิทรรศการการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องที่ 2 ของประเทศที่จะสร้างขึ้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi จังหวัดระยอง เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม โดยจะใช้เวลาประมาณ 7 ปี จ.ระยอง คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศอีกไม่ต่ำกว่าปีละ 6,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

 

 

ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ทั้งนี้ ประเทศไทยมีสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) หรือ SLRI มีหน้าที่ให้บริการแสงซินโครตรอนแก่ผู้ใช้บริการทั้งภาครัฐ และเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ในการศึกษาวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในหลายด้าน อาทิ อาหาร ยา เครื่องสำอาง พอลิเมอร์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ บริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา แห่งเดียวในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีการประยุกต์ใช้ที่หลากหลาย ทั้งทางเกษตร การแพทย์ เภสัชกรรม อุตสาหกรรม อย่างเช่นการให้บริการแสงซินโครตรอนแก่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาเครื่องสำอาง

โดยใช้ศึกษาวิเคราะห์การซึมผ่านสู่ผิวหนัง การใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนในการพัฒนายา เช่น การพัฒนายารักษาโควิด-19 โดยใช้แสงซินโครตรอนเพื่อบอกโครงสร้างโมเลกุลของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำได้ครั้งแรกด้วยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนที่จีน ตามมาด้วยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนที่อังกฤษ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถออกแบบยาที่สามารถ Block โมเลกุลไวรัสที่เกาะกับเซลล์ของคนได้ หรือการใช้แสงซินโครตรอนพัฒนายารักษาไข้หวัดนก เช่น สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนที่ออสเตรเลีย พัฒนายาที่รักษาโรคจากเชื้อไวรัส H5N1 จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนนับเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยีวิศวกรรม ที่นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานอันสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งสามารถต่อยอดทางธุรกิจ ขยายขีดความสามารถในรองรับงานวิจัยจากภาคอุตสาหกรรม นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสร้างงานสร้างอาชีพในหลากหลายสาขาได้”

                       

ซึ่งการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาค 14th International Particle Accelerator Conference จะจัดขึ้นครั้งต่อไปโดยประเทศอิตาลีเป็นเจ้าภาพการจัดงาน

[อ่าน 621]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
CP LAND มอบความอุ่นใจ ห่วงใยชีวิตเจ้าหน้าที่เขตดินแดง ผ่านโครงการ CP LAND Life Care สู่ปีที่ 7
คปภ. เร่งให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีรถยนต์กระบะเฉี่ยวชนเสาไฟฟ้า เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ที่นครพนม
UDON SONGKRAN FESTIVAL 2024
กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด ครองตำแหน่ง "สนามบินที่ดีที่สุดในโลก"ในงานประกาศผลรางวัลสนามบินโลกสกายแทร็กซ์ ประจำปี 2567
ทิพยประกันภัย ร่วมกับ OR เพิ่มความสะดวก และรวดเร็ว ในการซื้อประกันภัย ผ่าน QR Code ใน พีทีที สเตชั่น
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved