บทเรียนโควิด-19 เปลี่ยนวิถีการค้าของธุรกิจแบบ B2B ไปตลอดกาล
01 Aug 2022

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การทำธุรกิจแบบ B2B หรือการซื้อขายระหว่างธุรกิจในรูปแบบเดิมที่เน้นให้พนักงานขายเดินทางไปพบลูกค้า เพื่อเจรจาซื้อขาย หรือการร่วมงานแสดงสินค้า (Trade Fair) ทั้งในและต่างประเทศต้องหยุดชะงัก ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการดำเนินงานของทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs ที่อยู่ในภาคการผลิตของประเทศไทยกว่า 500,000 ราย รวมถึงสถานการณ์การค้าขายและระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้ทุกธุรกิจต้องเพิ่มช่องทางการขายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ทำให้อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) หรืออีมาร์เก็ตเพลส (e-Marketplace) ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นช่องทางการขายที่สำคัญในยุคดิจิทัล

 

 

ไม่ใช่อีคอมเมิร์ซทุกแพลตฟอร์มจะเหมาะกับ B2B

แม้ประเทศไทยจะมีแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซอยู่หลายราย และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี แต่ต้องยอมรับว่าส่วนใหญ่จะเป็นแพลตฟอร์มเพื่อการการค้าปลีกหรือซื้อขายรายย่อย แต่ไม่เหมาะกับการซื้อขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจหรือ B2B ที่มีความซับซ้อนและเฉพาะทางมากกว่า ซึ่งเป็นการสั่งซื้อในปริมาณมากกับผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง หรือโรงงานโดยตรง ในรูปแบบการสั่งผลิตที่มีระยะเวลาหรือราคาที่ไม่เท่ากัน มีการะบวนการวางบิล ชำระเงิน และขนส่งที่แตกต่างออกไป 

 

 

นายวิวัฒน์ อุตสาหจิต ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด เล่าว่าเราเป็นผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ที่สามารถพิมพ์งานได้เกือบทุกประเภทตั้งแต่หนังสือ นามบัตร โบรชัวร์ บรรจุภัณฑ์กระดาษต่างๆ บรรจุภัณฑ์ซองฟิล์มพลาสติกลามิเนทที่นำมาใส่อาหาร ขนม ไปจนถึงป้ายโฆษณาตาม Event หรือ Exhibition มีกลุ่มลูกค้า B2B เป็นหลักกว่า 95%โดยเป็นการขายแบบ made-to-order ต้องมีการกำหนดขนาด รูปแบบ และอื่นๆ ตามที่ลูกค้าต้องการแตกต่างกัน ที่ผ่านมาช่องทางการจัดหน่ายส่วนใหญ่เป็นแบบออฟไลน์ จึงได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงโควิด-19 เลยต้องปรับตัวโดยการเน้นขายผ่านโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ของบริษัทฯ มากขึ้น โดยสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้า B2C ได้บ้าง ทำให้ยังประคองธุรกิจได้ แต่ก็ไม่สามารถสร้างยอดขายได้ตามเป้าหมายเนื่องจากโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ไม่ได้รองรับวิธีการซื้อขายแบบ B2B ที่ต้องมีการออกเอกสารใบเสนอราคา วางบิล และระบบการชำระเงินระหว่างบริษัทที่ต้องมีความปลอดภัยสูง ส่วนแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซทั่วๆไป ก็ไม่สามารถการสั่งซื้อสินค้าที่ต้องระบุความต้องการที่แตกต่างได้ เช่น ขนาด จำนวนพิมพ์ คุณสมบัติพิเศษของสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ เป็นต้น ซึ่งการจะพัฒนาเว็บไซต์ของบริษัทเองเพื่อให้สามารถรองรับธุรกรรมทั้งหมดนี้ได้ก็ต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับริษัท เราจึงเริ่มมองหาแพลตฟอร์มที่เหมาะกับรูปแบบธุรกิจของเราจริงๆ และได้รู้จักกับ mywawa.me ซึ่งสามารถตอบโจทย์การซื้อขายของเราได้ทั้งหมด

 


ข้อจำกัดทางความรู้ด้านเทคโนโลยี อาจทำให้ธุรกิจไม่ได้ไปต่อ

ผู้ประกอบการหลายรายที่อยากทรานส์ฟอร์มสู่การค้าบนโลกออนไลน์ แต่มีข้อจำกัดด้านความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี อย่าง ครูยุ คอจเทจ ผู้ประกอบการด้านการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารชั้นนำ นางสาวนัฐติกานต์ เสริมสุข ประธานกรรมการ บริษัท ครูยุ คอทเทจ จำกัด เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารภายใต้แบรนด์ ครูยุ คอจเทจ มีการจัดจำหน่ายในรูปแบบออฟไลน์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นโรงงานผู้ผลิตที่มีกลุ่มลูกค้า B2B เป็นหลัก อาทิ ร้านขายส่ง ร้านขายของฝาก จุดพักรถ เป็นต้น

หรือบางครั้งก็จะไปเข้าร่วมงานแสดงสินค้าใหญ่ๆ สถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ต้องเข้าสู่การค้าออนไลน์เร็วขึ้น แต่เนื่องจากขายแบบออฟไลน์มาโดยตลอดจึงไม่มีความถนัดมากนัก จนได้มาขายผ่าน mywawa.me ที่ช่วยให้ทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่การค้าบนโลกออนไลน์ได้ง่ายและเร็วขึ้น สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้า B2B ได้ตามต้องการและกว้างมากขึ้น ประหยัดเวลา ลดต้นทุนในการเดินทาง มีผลกำไรมากขึ้น และมีทีมงานหลังบ้านที่คอยช่วยเหลือจึงหมดกังวลเรื่องการใช้งานแพลตฟอร์ม ในขณะที่ลูกค้าเข้ามาค้นหาสินค้าที่ต้องการได้ง่าย หรือลูกค้าประจำที่อยู่ไกลก็สั่งผ่าน MyWaWa ได้สะดวก เพราะระบบขนส่งที่สะดวกต่อการเข้าถึงได้ทุกพื้นที่

 

ใหญ่แค่ไหนเมื่อโลกเปลี่ยนก็ต้องรีบปรับ

เมื่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกปรับตัวครั้งใหญ่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะรายเล็กหรือรายใหญ่ก็ต้องปรับตัวหาทางรอดให้ธุรกิจตัวเอง เช่นเดียวกับยักษ์ใหญ่อย่าง บริษัท สหวิริยาสตลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เห็นว่าแม้จะไม่มีวิกฤตโควิด-19 แต่การทรานสฟอร์มธุรกิจสู่การค้าในโลกออนไลน์นั้นเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ 

 

 

นายสรชาย พิทักษ์กรราษฎร์ ผู้จัดการทั่วไปสายงานกลยุทธ์ร่วมทางการค้า เอสเอสไอ กล่าวว่า ที่ผ่านมาช่องทางจำหน่ายหลักของเอสเอสไอ ส่วนใหญ่เน้นการขายในลักษณะออฟไลน์เป็นหลัก โดยจะมีพนักงานขายไปนำเสนอขายสินค้าและบริการ รวมถึงให้คำแนะนำให้แก่ทางลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสินค้าของเอสเอสไอเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีน้ำหนักมาก จำหน่ายครั้งละจำนวนมาก และด้วยรูปแบบการสั่งซื้อที่แตกต่างกับสินค้าบริโภคในชีวิตประจำวันอย่างสิ้นเชิง การที่มีแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซที่สามารถตอบโจทย์ของธุรกิจ B2B ได้จึงเป็นเรื่องดี และเป็นเครื่องมือธุรกิจที่สำคัญในการต่อยอดไปสู่เป้าหมายการค้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถขยายตลาดไปสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและกลุ่มผู้ใช้ปลายทางได้เพิ่มมากขึ้น เอสเอสไอได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับแพลตฟอร์ม mywawa.me ที่มีความเป็นมิตรกับผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย ด้วยระบบที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ตั้งแต่ E-Commerce, E-Finance ไปจนถึง E-Logistics   

การเข้าสู่การซื้อขายโลกออนไลน์เป็นครั้งแรกของเอสเอสไอถือว่าเป็นก้าวแรกขององค์กรที่จะไปสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเต็มรูปแบบ และเป็นการเพิ่มเติมประสบการณ์ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตลาดในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง การศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อให้เข้าใจในมุมมองและความต้องการของลูกค้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มก่อสร้าง ที่ไม่ใช่เพียงแค่ร้านค้าส่ง แต่ลงไปถึงผู้ใช้งานที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์จากเราจริงๆ ผ่านอี-คอมเมิร์ซ”   

 

 

mywawa.me เป็นแพลตฟอร์ม B2B e-Marketplace ที่มุ่งตอบโจทย์ Pain Point ให้แก่ผู้ประกอบการไทยในทุกหมวดอุตสาหกรรม มุ่งยกระดับทั้ง SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ทรานส์ฟอร์มสู่โลกการค้าออนไลน์ รวมสินค้าโรงงานผู้ผลิตผู้จำหน่าย และซัพพลายเออร์จากทุกอุตสาหกรรม พร้อมเครื่องมือทันสมัยรองรับการซื้อขาย วางบิล ชำระเงิน และการขนส่งในแพลตฟอร์มเดียว อีกทั้งเปิดให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายลงทะเบียนใช้งานระบบได้ฟรี


สนใจเป็นผู้ขายหรือผู้ซื้อกับ MyWaWa สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มได้ที่ https://www.mywawa.me หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 09 2492 2497 และLine: @mywawasupport

[อ่าน 835]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการ คปภ. มีมติเห็นชอบแต่งตั้งรองเลขาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
SAM มู่งสู่องค์กรธรรมภิบาล ได้รับผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสปี 66 ที่ระดับ A
ตังกุยจั๊บเบฟเวอเรจ เปิดตัว จีเอสดี โสมเกาหลีตังกุยจับ สูตรเพิ่มทอรีน 1000 มก.
Hotel Indigo เตรียมเปิดให้บริการในอภิมหาโครงการของกรุงเทพฯ เดอะ ฟอเรสเทียส์
ม.เกษตรศาสตร์ และ อัลเตอร์วิม ร่วมลง MOU ร่วมมือในการพัฒนาการแข่งขันเชิงธุรกิจ ด้านพลังงาน
ราช กรุ๊ป ปิดดีลโรงไฟฟ้าพลังความร้อนไพตัน อินโดนีเซีย มูลค่าลงทุนประมาณ 590.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved