‘ตัดไม้ ‘แต่ ‘ได้ป่า’ ได้ยังไง สวีเดนโมเดลไปได้ ไทยไปด้วยมั้ย?
24 Mar 2023

 

ถ้าฟังแค่ ‘ตัดไม้ ‘แต่ ‘ได้ป่า’ นั้นคงดูจะเป็น ‘ตรรกะแดกดัน’ หรือ Negative Approach ที่ดูจะเป็นเรื่องเลื่อนลอย แต่ตรรกะเช่นนี้เป็นไปได้และเป็นไปแล้วที่สวีเดนและกลายเป็นความร่วมมือระหว่าง ‘สถานเอกอัครราชทูตไทย-สวีเดน’ กับ ‘เอสซีจี และพันธมิตร’ เพื่อร่วมผลักดันโมเดลจัดการป่ายั่งยืนระดับโลกจากสวีเดน ประเทศแห่งการส่งออกไม้เศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 3 ของโลกและยังครองตำแหน่งผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ผ่าน ‘เวทีความร่วมมือด้านความยั่งยืนไทย-สวีเดน ปี 2566’  

 

 

วัตถุประสงค์ของความร่วมมือครั้งนี้เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมจัดการป่าสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายการอนุรักษ์ธรรมชาติและเศรษฐกิจ เช่น การพลิกฟื้นป่าที่เสื่อมโทรมทั่วประเทศที่เหลือเพียง 25% เป็น 75% ได้สำเร็จ รวมถึงการปลูกป่าไม้เชิงพาณิชย์ ส่งเสริมเศรษฐกิจเติบโต เช่น ไม้แปรรูปสำหรับภาคก่อสร้างขนาดใหญ่ ไม้แปรรูปสำหรับเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยมุ่งหวังจุดประกายให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นำโมเดลนี้ไปศึกษา และนำไปสู่การบริหารจัดการป่าไม้แบบ ‘ไทยโมเดล’  และ ‘ตัดไม้ ‘แต่ ‘ได้ป่า’ เฉกเช่นที่สวีเดน
 

 

 

จาก 'สวีเดนโมเดล' ถึง 'ปลูกป่าในใจคน'

อรุณรุ่ง โพธิ์ทอง ฮัมฟรีย์ส เอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม  กล่าวว่า  "ภารกิจสำคัญของสถานเอกอัครราชทูตฯ คือ การสานพลัง สร้างนวัตกรรม สู่ความยั่งยืน โดยเชื่อมโยงความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อหาแนวคิดที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนแก่ประเทศไทย ซึ่งการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของสวีเดนที่นำมาเผยแพร่ในวันนี้ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างป่าไม้ ชุมชน และเศรษฐกิจ ให้เติบโตไปพร้อมกัน เป็นการสร้างความผูกพันระหว่างป่ากับคน สอดคล้องกับพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่อง “ปลูกต้นไม้ในใจคน” ที่ต้องทำให้คนเข้าใจว่าเราปลูกต้นไม้ทำไม ประโยชน์คืออะไร ถ้าเราสามารถสร้างระบบอุตสาหกรรมและธุรกิจป่าไม้ที่ทำให้คนในชุมชนมีรายได้จากป่า เห็นคุณค่าจากป่า ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะร่วมกันบริหารจัดการป่าอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องแนวคิดการบริหารจัดการป่าในวันนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์แห่งความยั่งยืนของไทย สวีเดน ปี 2566 "

 

 


 

สวีเดนเนรมิตป่าจาก 25% > 75% ใน 100 ปี

ยอน ออสเตริม เกรินดาห์ล เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย  กล่าวว่า “ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สวีเดนส่งออกไม้เป็นอันดับที่ 3 ของโลก มูลค่ารวมกว่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่ยังสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เคยเหลือเพียง 25% เมื่อ 100 ปีก่อน เป็น 75% คือ การใช้ พระราชบัญญัติป่าไม้ (Forestry Act) ที่ทำให้ตัดไม้แต่ได้ป่า ถ้าตัดต้นไม้หนึ่งต้น ต้องปลูกเพิ่มอย่างน้อยสามต้น นอกจากจะได้พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ช่วยดูดซับคาร์บอน ลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ยังช่วยให้คนอยู่ร่วมกับป่า ใช้ประโยชน์จากป่า และมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าไปพร้อมกัน โดยได้ป่าไม้ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชน เช่น ไม้สำหรับการก่อสร้างอาคารสมัยใหม่ ไม้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงเศษไม้เหลือใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล รัฐบาลสวีเดนหวังว่าโมเดลและประสบการณ์ที่นำมาแบ่งปันในวันนี้ จะเกิดความร่วมมือระหว่างสองประเทศเพื่อขยายแนวคิดแห่งความยั่งยืนนี้ต่อไป”

 


ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมไม้จากสวีเดนที่สามารถสร้างอาคารสูง และ สะพานได้ 

สถาปัตยกรรมไม้ภายในบริษัท NCC สำนักงานใหญ่ ที่สวีเดน ผลงานของ Pi Ekblom  Gaia Architecture ขณะที่ทำงานกับบริษัท White Arkitektur  

 

สะพานไม้ BIFROST ออกแบบโดย Gaia Arkitektur ชนะรางวัลนวัตกรรม 


 

ปัจจัยความสำเร็จของ ‘การตัดไม้ แต่ได้ป่า’ ตามแบบสวีเดนโมเดล นอกเหนือจากพรบ.ป่าไม้แล้ว ยังประกอบด้วย นโยบาย มาตรการและแผนเชิงยุทธศาสตร์ที่บูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อดูแลการบริหารจัดการป่ายั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อาทิ

 

City x Forest x Climate

 

การทำงานของ มูลนิธิ Eco-Innovation ที่บูรณาการด้วยแนวคิด City x Forest x Climate เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Climate) ด้วยการเพิ่มพื้นที่ป่า (Forest) และการใช้วัสดุจากผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวัสดุก่อสร้าง (City) ดังนั้น มูลนิธิจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ที่ถูกทำลาย ทิ้งร้างที่ไม่มีผู้คนอาศัยหรือมีการทำการเกษตรให้เป็นพื้นที่ป่า ซึ่งจะไม่สร้างผลกระทบพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัย นอกจากนี้ ยังถือเป็นโอกาสที่มูลนิธิจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหา Climate Change และปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งในอนาคตอาจจะมีอาคารสีเขียว ซึ่งเป็นอาคารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ จากการระบายอากาศที่เป็นธรรมชาติ และทำให้ค่าเช่าอาคารไม่แพงด้วย ทั้งนี้ จะต้องมีระบบการบูรณาการอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่ก้าวหน้ากว่านี้ โดยมีการรับรองด้วยแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการก่อสร้างด้วย 

 

 

Sodra บริษัทที่ก่อตั้งมา 85 ปีในพื้นที่ยากจนสวีเดน แต่เมื่อบริษัทนี้เข้าพัฒนาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ป่า โดยมีสมาชิกที่เป็นเจ้าของรายย่อยกว่า 5.2 หมื่นคนที่ Sodra ส่งเสริมการทำกำไรด้วยการให้การสนับสนุนจากบริษัท และนำวัตถุดิบที่ได้จากป่าเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด นับแต่การผลิตกระดาษ ไบโอดีเซล กระแสไฟฟ้า และใช้เปลือกไม้เบิร์ช (Birch) เพื่อนำมาทำเส้นใยเพื่อผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปอีกด้วย จากเดิมที่ไม้ชนิดนี้คนสวีเด่นใช้ทำฟืนเท่านั้น ขณะเดียวกัน ก็พยายามพัฒนานวัตกรรมใหม่ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จาก Sodra ส่งออกไปทั่วโลก 80% และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั่วโลกอีกด้วย

 

Me Too ไม่ได้ ไทยต้องปั้น ‘ไทยโมเดล’เอง

จากวงเสวนาประเด็นที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่มีการตัดไม้เป็นข้อห้ามโดยอัตโนมัติ ซึ่งข้อห้ามดังกล่าวนั้นจัดได้ว่าไม่เวิร์ค แต่ควรทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนเห็นคุณค่าของป่า อีกทั้งรัฐบาลก็ไม่ควรหวั่นเกรงกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญ ในการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ป่าเพื่อความยั่งยืนควรจัดการพัฒนากับป่าเสื่อมโทรมให้เป็น ‘ป่าชั้นสอง’ เนื่องจากไม่มีคนอาศัย และหากพัฒนาแล้วก็ยังจะสามารถพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย แต่ในความเป็นจริง พื้นที่ป่าของประเทศไทยที่มีราว 1 หมื่นล้านตารางเมตรนั้น ส่วนใหญ่จะปลูกโดย ‘คนตัวเล็ก’ และเป็นต้นยูคาลิปตัส ซึ่งถือเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว และหากต้องการปลูกพืชชนิดอื่นก็จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบาย เนื่องจากพื้นที่ป่าของไทยเป็นของภาครัฐ ไม่อนุญาตให้เอกชนดำเนินการ และตอนนี้คงยากที่จะดำเนินธุรกิจอย่าง Sodra ในประเทศไทย เพราะการปลูกป่าแบบเดิมกับการปลูกผ่าในเชิงพาณิชย์นั้นเป็นเรื่องที่แยกกัน

 

อย่างไรก็ตาม หากว่ามี ‘คนตัวเล็ก’ ทำโครงการตัวอย่างให้เห็นว่า เอกชนและประชาชนก็สามารถสร้างป่าที่มีคุณค่าได้ก็อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายได้ และเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายที่ล้าหลังได้

 

“เราต้องร่วมกันสร้าง ‘ไทยโมเดล’ และปรับใช้ให้เข้ากับประเทศไทยให้ได้ ซึ่งแน่นอนว่า ต้องร่วมมือกันหลายภาคส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) นอกจากนี้ ก็ต้องพึ่งเทคโนโลยี เช่น การใช้โดรนบิน เพื่อดูแลพื้นที่ที่ต้องปรับปรุงพิเศษ พร้อมทั้งต้องทำเป็นระบบทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

 

ที่สำคัญ คือ ต้องพยายามทำให้ชาวบ้านเปลี่ยน Mindset และคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากป่าให้ได้สูงสุด พร้อมทั้งมีการใช้โมเดลทางธุรกิจที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับชาวบ้าน ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็ควรต้องให้ความรู้ กับในสังคมให้มีความรักธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยจะมีโอกาสเอาป่ามาพัฒนาได้และใช้ประโยชน์จากป่าได้ เช่น การต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ การท่องเที่ยวแนวรักษ์โลกที่เจาะตลาดคนรุ่นใหม่ได้ ที่สำคัญ หากมีการบริหารจัดการ/ฟื้นฟูป่าให้เป็น  ก็จะเป็นแรงจูงใจเพื่อนำไปสุ่การบริหารจัดการของคนเหล่านี้ได้ ซึ่งต้องชี้ให้เห็นว่า คนเหล่านี้จะได้อะไรจากผ่า ความสำคัญของธรรมชาติที่จะช่วยจัดการศัตรูพืชในพื้นที่ของเกษตรกร รวมทั้งระบบนิเวศ โดยเฉพาะเรื่องน้ำ เพียงแต่หากประเทศไทยสามารถทำได้จะใช้เวลาพัฒนาน้อยกว่าสวีเดน เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ต้นไม้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว”

 

เอสซีจี หวังเชื่อม - จุดประกายทุกภาคส่วน 

สู่โมเดลจัดการป่ายั่งยืนแบบ 'ไทยโมเดล'

 

 

นิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวในตอนท้ายว่า

“เอสซีจีเห็นประโยชน์จาก’สวีเดนโมเดล’ และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของประเทศไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ลองศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ซึ่งเอสซีจีให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พื้นที่ป่าในการทำเหมืองปูนซีเมนต์ เพื่อให้ระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ และขยายพื้นที่ป่าบก ป่าโกงกางและหญ้าทะเล รวมถึงการจัดการน้ำเพื่อบำรุงรักษาให้ป่าอุดมสมบูรณ์ในโครงการ ‘รักษ์ภูผามหานที’ โดยได้เพิ่มพื้นที่ป่าไปแล้ว 1.2 ล้านต้น และสร้างฝายชะลอน้ำ 1.15 แสนฝาย  ซึ่งช่วยชุมชนกว่า 306 ชุมชน 5.7 หมื่นครัวเรือนทั่วประเทศ ใช้อุปโภค-บริโภคและการเกษตร ส่งต่อการจ้างงานกว่า 2,550 คน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างรายได้เพิ่มกว่า 5 เท่า  โดยมีเป้าหมายปลูกป่า 3 ล้านไร่  1.5 แสนฝาย เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 5 ล้านตัน มุ่งสู่ Net Zero ในปี 2050  ตามแนวทาง ESG 4 Plus

 

นอกจากนี้ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์หรือเอสซีจีพีที่มีการใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบหลักได้นำระบบการบริหารจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐาน Forest Stewardship Council (FSC) มาใช้กับพื้นที่ปลูกป่าเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมยูคาลิปตัสสายพันธุ์ใหม่ และใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพการปลูก สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกษตรกรกว่า 3,800 ล้านบาท/ปี ทั้งนี้ เอสซีจีเชิญชวนทุกภาคส่วน ทั้งในและต่างประเทศ มาร่วมกันศึกษา ต่อยอด และออกแบบการบริหารจัดการพื้นที่ป่าของประเทศไทยในรูปแบบใหม่ เพื่อให้มีพื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำประโยชน์จากป่าไม้ไปสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศและภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”

 


 

ทั้งนี้ สัปดาห์แห่งความยั่งยืนไทย-สวีเดน ปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-22 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อผลักดันความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ของไทยกับสวีเดน จะช่วยส่งเสริมให้ไทยพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะด้านป่าไม้และเมืองยั่งยืน และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน

 

  • ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ เพิ่มเติมได้ทางเพจ Facebook ของ TNIU 

  •  www.facebook.com/TNIUThailandNordicInnovation

 

[อ่าน 956]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สร้างเซอร์ไพรส์ไม่ลิมิตตั้งแต่ต้นจนจบ ไทยประกันชีวิต PRESENTS GRAMMY RS CONCERTS HIT100 VOL.2
Panasonic nanocare EH-NA0J ไดร์เป่าผมท็อปซีรีส์รุ่นล่าสุดจากพานาโซนิค
เซ็นทรัล ชวนอัปสกิลสนุก ปลุกทุกพลังคิดส์
บี.กริม เพาเวอร์ โชว์กำไรสุทธิไตรมาส 1/67 ขยายตัว ยอดขายไฟฟ้าโต ลุยเพิ่มกำลังผลิตทั้งในและต่างประเทศ
ไอคอนสยาม เปิดเวทีประชันความสามารถ DANCE TO THE WORLD เฟ้นหาสุดยอดนักเต้น K-Pop Cover Dance
SCGC รุดลงพื้นที่รับฟังปัญหาชุมชน เดินหน้าเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved