“ฟอร์ติเน็ต” ชี้ Single Vendor SASE คือ Game Changer
23 Jun 2023

ผลสำรวจสถาปัตยกรรม SASE ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของ Fortinet ระบุว่าการทำงานแบบ "Branch-Office-of-One" ท้าทายความปลอดภัยเน็ตเวิร์กในยุค Hybrid Work โดยการสำรวจเน้นย้ำความสำคัญของ Single-Vendor-SASE เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับพนักงานที่ทำงานจากระยะไกลท่ามกลางอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการจัดการจำนวนมากและการโจมตีด้านความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น

 

สำหรับการสำรวจครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยการพูดคุยกับผู้นำด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จำนวน 450 คนจาก 9 ประเทศทั่วทั้งเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เวียดนาม และไทย ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสำรวจคือผู้ประกอบการจาก 9 อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต 14% ค้าปลีก 13% โลจิสติกส์ 14% การบริการดูแลสุขภาพ หรือเฮลธ์แคร์ 13% บริการทางการเงิน หรือ FSI 10% และภาครัฐ 11%

พีระพงศ์ จงวิบูลย์ รองประธาน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีสินค้าเทคโนโลยีมากกว่า 50 ชนิด และมีผู้ใช้สินค้ามากกว่า 30 ชนิดจากทั้งหมด ทั้งนี้มีการเรียนรู้และพัฒนาสินค้าให้สอดรับกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยเทรนด์เทคโนโลยีตอนนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่สามารถจัดการได้โดยตรงเข้ามาในระบบทำให้การป้องกันภัยคุกคามมีช่องโหว่ เนื่องจากในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา 2-3 ปี มีการทำงานจากที่บ้านหรือนอกพื้นที่ของตัวองค์กร หรือ work from home ทำให้เทรนด์การใช้เทคโนโลยีจะต้องตอบโจทย์ปัญหานี้ 

 

 

ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจให้ความสนใจในเรื่องระบบความปลอดภัยที่สามารถครอบคลุมการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งหลังโควิด-19 จึงยังคงมีบริษัทใช้ระบบทำงานแบบไฮบริด คือ ยังมีบางส่วนทำงานที่บ้าน และบางส่วนทำงานที่ออฟฟิศ อย่างไรก็ตามภัยคุกคามด้านไซเบอร์มีมูลค่าความเสียหายเป็นระดับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มอาเซียนที่ได้ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้กับธุรกิจมากที่สุด ดังนั้นการมีการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ เนื่องจากในกลุ่มแฮกเกอร์ประเทศไทยถูกจับตามองเช่นกัน

ความท้าทายของ Branch Office of One

ราชิช แพนเดย์ รองประธานฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ภูมิภาคเอเชีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ฟอร์ติเน็ต  กล่าวว่า ในขณะที่โลกเปลี่ยนไปสู่การทำงานในแบบไฮบริด องค์กรธุรกิจต่างต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมการทำงานที่มาในรูปของสาขาส่วนบุคคล หรือ Branch Office of One ซึ่งคนทำงานและอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนทำงานอยู่ภายนอกของพื้นที่การทำงานปกติ 

สำหรับงานวิจัยสถาปัตยกรรม SASE ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกครั้งนี้ได้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนสำหรับองค์กรในการปรับใช้กลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมที่จะเข้ามาช่วยจัดการทั้งความซับซ้อนและความเสี่ยงที่เกิดจากการเติบโตของการทำงานจากระยะไกล หรือ Remote Work 


Branch-Office-of-One ของไทยเพิ่มขึ้น

96% ประเทศไทยทำงานแบบไฮบริด 
50% ที่ทำงานในแบบไฮบริด 
80% คาดว่าจะมีอุปกรณ์ที่มีการจัดการเพิ่มขึ้นกว่า 100% 
64% คาดว่าอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการจัดการจะเติบโตกว่า 50% 
30% อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่มีการจัดการ

ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามด้านความปลอดภัยจากการทำงานในรูปแบบไฮบริดและการเติบโตของการเชื่อมต่อเข้าสู่เน็ตเวิร์กทั้งที่ได้รับการจัดการและไม่ได้รับการจัดการ ส่งผลต่อการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของภัยคุกคามด้านซีเคียวริตี้ โดย 34% ขององค์กรที่ตอบรับการสำรวจในประเทศไทยระบุการละเมิดมากกว่าถึง 3 เท่า และจากการสำรวจพบว่า 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยเคยประสบกับการโจมตีด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า 

ส่วนรูปแบบการโจมตีซีเคียวริตี้ที่อยู่ในอันดับต้นๆ คือ การทำฟิชชิง การปฏิเสธการบริการ การโจรกรรมข้อมูลและข้อมูลส่วนบุคคล แรนซัมแวร์ และการสูญหายของข้อมูล อย่างไรก็ตาม มีเพียง 49% ขององค์กรทั่วเอเชียเท่านั้นที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยและการละเมิดที่มากขึ้น

ทั้งนี้จากการสำรวจเห็นได้ชัดเจนว่า Single-Vendor SASE ที่มาพร้อมความสามารถในการควบรวมระบบเน็ตเวิร์กและความปลอดภัยเข้าด้วยกัน คือสิ่งที่พิสูจน์ว่ากำลังจะเข้ามาเป็นจุดเปลี่ยน หรือ Game Changer สำหรับหลายๆ องค์กรที่กำลังมองหามาตรการรักษาความปลอดภัยที่เรียบง่ายและมั่นคงสำหรับผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกเครือข่ายทั้งหมด ซึ่งจากการสำรวจพบว่า 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยต้องการผู้จำหน่ายเพียงรายเดียวสำหรับความสามารถด้านเน็ตเวิร์กกิ้งและซีเคียวริตี้

ขณะที่ 52% กำลังอยู่ระหว่างการรวมเวนเดอร์ด้านไอทีซีเคียวริตี้เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถาม 68% ยังต้องการผู้ขายเพียงรายเดียวสำหรับบริการรักษาความปลอดภัยผ่านคลาวด์ และ SD-WAN โดยระบุถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับ เช่น ช่องว่างด้านความปลอดภัยที่ลดลง ประสิทธิภาพเครือข่ายที่ดีขึ้น ความง่ายในการปรับใช้ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความท้าทายจากการบูรณาการและความสามารถในการปรับขยายขีดความสามารถในการทำงาน

Single Vendor SASE ลดความซับซ้อน

ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยยังคงมุ่งหน้าไปสู่อนาคตทางดิจิทัลเพื่อกลายเป็นผู้นำในเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้กลายเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ต้องรับทราบถึงอัตราความถี่และความซับซ้อนในการโจมตีทางไซเบอร์ ตลอดจนการละเมิดข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะในอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์คือสิ่งที่ยิ่งทำให้ปัญหานี้ยิ่งมีความท้าทายเพิ่มสูงขึ้น

 

 

ทั้งนี้ฟอร์ติเน็ตมุ่งมั่นที่จะเชื่อมช่องว่างทางทักษะ หรือ Skill Gap การให้ความรู้และการตระหนักรู้ที่เกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่จำเป็นแก่คนทำงานทั้งหมดที่อยู่ในองค์กร ด้วยโซลูชัน Single-Vendor SASE ซึ่งมีเป้าหมายในการช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการนโยบายความปลอดภัย พร้อมทั้งยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ให้กับคนทำงานจากระยะไกล เพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ของประเทศสามารถรับมือกับความท้าทายด้านความปลอดภัยของคนทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงและสำหรับฟอร์ติเน็ตประเทศไทยยังคงเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มของเอเชียแปซิฟิกที่สามารถตรวจจับภัยคุกคามไซเบอร์ได้ดี 

ไซมอน พิฟฟ์ รองประธานฝ่ายวิจัย ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจเน้นไปที่ความสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญมาตรการรักษาความปลอดภัยและการลงทุนในโซลูชันที่ให้การทำงานบนคลาวด์ที่บูรณาการเข้ากับโซลูชันแบบ On-Prem ได้อย่างราบรื่นเพื่อจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบไฮบริด รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แนวโน้มความพึงพอใจที่มีต่อการใช้เวนเดอร์เพียงรายเดียวแต่รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน (Infrastructure Convergence) แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงความต้องการการจัดการที่มีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้รวมถึงสถาปัตยกรรมแบบ Zero-Trust ที่สามารถพัฒนาการปรับใช้และเสริมประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจต่างต้องการที่จะจัดการปัญหาความท้าทายต่างๆ รวมไปถึงการลงทุนในโซลูชันด้านการรักษาความปลอดภัยทั้งเพื่อรองรับกลุ่มคนทำงานในรูปแบบไฮบริดและลดภัยคุกคามด้านความปลอดภัย

 

[อ่าน 747]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
UNODC เปิดตัวแคมแปญ “เช็กก่อนแชร์ (Beware the Share)”
ฟูจิฟิล์ม เอาใจคนรักภาพฟิล์ม ครั้งแรก! ของกล้อง FUJIFILM X-T50
พฤกษาโชว์รายได้ไตรมาสแรก 4,171 ล้านบาท ธุรกิจเฮลท์แคร์ เติบโต 21%
ออริจิ้น เปิดบ้าน-คอนโดใหม่ อีก 11,180 ล้าน บุกตลาด Pet Family Condo-บ้านเดี่ยว
มูจิ ปรับลดราคาอีกครั้งกว่า 126 รายการ ตั้งเป้าเป็นแบรนด์สามัญประจำบ้านในใจคนไทย
อาร์เอส กรุ๊ป จับมือ บางจากฯ ขยายธุรกิจ เพ็ท รีเทล ร่วมลงทุน ‘PET ALL MY LOVE’
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved