ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกมาประเมิน มูลค่าตลาดยาในประเทศปี2565 ที่ผ่านมาว่า มีตัวเลขอยู่ที่ 2.33-2.38 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 3.0-5.0% เมื่อเทียบกับปี 64 ที่ขยายตัว 2.5% โดยช่องทางการจัดจำหน่ายของตลาดยาบ้านเราจะแบ่งออกเป็น ช่องทางผ่านโรงพยาบาลของรัฐ 60% โรงพยาบาลเอกชน 25% และช่องทางผ่านร้านขายยาอีก 15%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคาดว่า การจำหน่ายผ่านช่องทางโรงพยาบาลรัฐ น่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่จะพึ่งพิงสวัสดิการรักษาพยาบาลของภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่ร้านค้าขายยารายย่อยต้องเผชิญการแข่งขันจากการเติบโตของร้านขายยาแฟรนไชส์และการขยายจุดจำหน่ายยาของห้างค้าปลีก ทั้งนี้ เม็ดเงินค่าใช้จ่ายสำหรับยาต้นตำรับ (Original Drugs) ต่อยาชื่อสามัญ (Generic Drugs) มีสัดส่วนประมาณ 45:55 ของค่าใช้จ่ายยาในประเทศทั้งหมด
การเติบโตที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ ต่างให้ความสนใจในการเปิดตัวยาใหม่ๆ เข้ามาสู่ตลาดยาของบ้านเรา
ล่าสุด บริษัท อินเตอร์ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) บริษัทผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบครบวงจร และผู้นำในการคิดค้นและนำเสนอผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการป้องกันโรคและชะลอวัย ได้รับการยอมรับจากโรงพยาบาลและร้านขายยามายาวนาน ก็มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยาลดไข้ บรรเทาปวด ครั้งแรก คือ “เบลลา พารา” (Bella Para) สรรพคุณลดไข้และบรรเทาอาการปวดทั้ง 7 ไม่ว่าจะเป็น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดฟัน ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ป่วยประจำเดือน และ ปวดเมื่อยจากไข้หวัด
การเข้าตลาดในครั้งนี้ มีการทุ่มงบกว่า 50 ล้านบาท!! เพื่อทำการประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด พร้อมกันนี้ยังได้นางเอกสาวสวยเบอร์หนึ่งของเมืองไทย “อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ” รับหน้าที่พรีเซ็นเตอร์ มุ่งหวังที่จะให้ “เบลลา พารา” (Bella Para) เป็นที่รู้จักในวงกว้างสร้างการรับรู้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
“เบลลา พารา” (Bella Para) เป็นกลุ่มยาพาราเซตามอลเป็นแบรนด์แรก ที่มีสรรพคุณโดดเด่นในการลดไข้และบรรเทาอาการปวดทั้ง 7 ได้แก่ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดฟัน ปวดข้อ ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือน และ ปวดเมื่อยจากไข้หวัด สรรพคุณครบจบอยู่ใน 1 tablet เป็นยาที่ควรมีไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้าน เกิดอาการเหล่านี้ครั้งใด นำมารับประทานบรรเทาอาการปวดของคุณให้ดีขึ้นได้
ตลาดยาพาราเซตามอล ถือเป็นยาชื่อสามัญที่มีผู้เล่นอยู่ในตลาดนี้หลากหลายบริษัท โดยแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักก็คือ ไทลินอล ของ “จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน” และซาร่า พาราเซตามอล จากค่ายไทยนครพัฒนา ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การจำหน่ายผ่านช่องทางโรงพยาบาลรัฐ น่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่จะพึ่งพิงสวัสดิการรักษาพยาบาลของภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่ร้านค้าขายยารายย่อยต้องเผชิญการแข่งขันจากการเติบโตของร้านขายยาแฟรนไชส์และการขยายจุดจำหน่ายยาของห้างค้าปลีก ทั้งนี้ เม็ดเงินค่าใช้จ่ายสำหรับยาต้นตำรับ (Original Drugs) ต่อยาชื่อสามัญ (Generic Drugs) มีสัดส่วนประมาณ 45:55 ของค่าใช้จ่ายยาในประเทศทั้งหมด
ดร. ตฤณวรรธน์ ธนิตนิธิพันธ์ ผู้บริหารของ บริษัท อินเตอร์ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) เผยว่า
จากแนวคิดของบริษัทที่มีแนวคิดที่จะขยายธุรกิจใหม่ๆ ทำให้มีการศึกษาข้อมูล งานวิจัยใหม่ๆ ให้ครอบคลุมรอบด้าน และมีความแตกต่างจนมั่นใจ จึงเปิดไลน์ธุรกิจใหม่ เบลลา พารา สำหรับแผนกลยุทธ์การตลาด โดยต้องการให้ชื่อของ “เบลลา พารา” (Bella Para) เป็นที่รู้จักในประเทศไทยอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้างที่สุด
“การเปิดตัวครั้งนี้ ทุ่มงบประมาณ 50 กว่าล้านบาท ในการทำประชาสัมพันธ์ และสื่อสารการตลาดกับกลุ่มผู้บริโภคให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และต้องขอบคุณ คุณอั้ม พัชราภา ที่เชื่อมั่นในบริษัทฯ ไว้ใจเรา และตอบรับมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ “เบลลา พารา” (Bella Para)
ด้วยความที่คุณอั้ม เป็นซุปตาร์เบอร์หนึ่ง และตรงกับสรรพคุณของ “เบลลา พารา” (Bella Para) สามารถเป็นตัวแทนสร้างความรับรู้เข้าถึงประชาชนได้ตรงกลุ่มผมจึงมั่นใจในตัวคุณอั้ม จะทำให้เบลลา พารา เติบโต ได้อย่างรวดเร็ว ผมหวังว่า เมื่อเกิดอาการป่วยไข้ และต้องการยาบรรเทาอาการปวด แบบครบองค์รวมคุณจะคิดถึง “เบลลา พารา” (Bella Para) ”
ถือเป็นอีกการรุกตลาดที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว....