กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยสถิตินักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยรอบ 4 เดือนของปี 2567 (มกราคม-เมษายน) พุ่งสูง อนุญาตให้คนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 253 ราย เงินลงทุนสะพัดกว่า 54,958 ล้านบาท สร้างการจ้างงานคนไทยถึง 1,019 คน ญี่ปุ่นครองแชมป์เข้ามาลงทุนอันดับ 1 รองลงมา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน และฮ่องกง ด้านการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จำนวน 77 ราย มูลค่าการลงทุนจำนวน 14,033 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-เมษายน) อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 253 ราย
โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจำนวน 69 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) จำนวน 184 ราย เกิดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 54,958 ล้านบาท ส่งผลดีต่อการจ้างงานคนไทยถึง 1,019 คน สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่
1. 63 ราย คิดเป็นร้อยละ 25 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 34,055 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
2. 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 17 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 4,499 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
3. 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 1,148 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
4. จีน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 4,031 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
5. ฮ่องกง 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 1,650 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยดังที่กล่าวไปข้างต้น ได้สร้างประโยชน์ให้เกิดกับประเทศไทยจะเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย สร้างทักษะการทำงานขั้นสูงให้กับแรงงานไทย เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมในการออกแบบระบบโซล่าร์ขั้นสูง องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีติดตามยานพาหนะ องค์ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสถานีอัดประจุไฟฟ้าองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องจักรและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นต้น
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า การอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยในปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 17 (ม.ค.-เม.ย.67 อนุญาต
253 ราย /ม.ค.-เม.ย.66 อนุญาต 217 ราย) และมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 16,256 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42 (ม.ค.-เม.ย.67 ลงทุน 54,958 ล้านบาท/ ม.ค.-เม.ย.66 ลงทุน 38,702 ล้านบาท) ในขณะที่มีการจ้างงานคนไทยลดลง 1,400 ราย คิดเป็นร้อยละ 58 (ม.ค.-เม.ย.67 จ้างงาน 1,019 คน/ ม.ค.-เม.ย.66 จ้างงาน 2,419 คน) โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่นเช่นเดียวกับปีก่อน
อธิบดี กล่าวต่อว่า สำหรับการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ของนักลงทุนต่างชาติ ช่วงสี่เดือนแรกของปี 2567 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 77 ราย คิดเป็น 30% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนจำนวน 34 ราย หรือเพิ่มขึ้น 79% (ม.ค.-เม.ย.67 ลงทุน 77 ราย/ ม.ค.-เม.ย.66 ลงทุน 43 ราย) และมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 14,033 ล้านบาท คิดเป็น 26% ของเงินลงทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 6,512 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 87% (ม.ค.-เม.ย.67 เงินลงทุน 14,033 ล้านบาท/ ม.ค.-เม.ย.66 เงินลงทุน 7,521 ล้านบาท เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น 20 ราย เงินลงทุน 2,002 ล้านบาท จีน 14 ราย เงินลงทุน 980 ล้านบาท สิงคโปร์ 9 ราย เงินลงทุน 1,018 ล้านบาท และประเทศอื่นๆ 34 ราย เงินลงทุน 10,033 ล้านบาท
โดยธุรกิจที่ลงทุนในพื้นที่ EEC อาทิ