รายงานแนวโน้มพฤติกรรมการช้อปปิ้งของคนไทยปี 2567
22 Jun 2024

รายงานแนวโน้มพฤติกรรมการช้อปปิ้งของคนไทยปี 2567: ค่าสาธารณูปโภคและค่าอาหารที่พุ่งสูงขึ้นชี้เป็นข้อกังวลอันดับต้นๆ ของคนไทย การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและการใช้ส่วนลดคือกลยุทธ์สำคัญของธุรกิจ

 

NIQ บริษัทวิจัยผู้บริโภคชั้นนำของโลกด้านข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค เปิดเผยถึงข้อมูลจากรายงาน Thai Shopper Trends 2567 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย ผู้ชื้อชาวไทยมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับค่าสาธารณูปโภคและค่าอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น แรงกดดันทางเศรษฐกิจกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยหลายคนวางแผนที่จะลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและปรับเปลี่ยนนิสัยการซื้อของตนเพื่อรับมือกับความตึงเครียดทางการเงิน

โดยแนวโน้มพฤติกรรมของผู้ซื้อชาวไทยนี้จะถูกเปิดเผยในงานเว็บสัมมนา “Consumer Revolution: Understanding Shoppers Today and Tomorrow” ในวันที่ 25 มิถุนายน เวลา 13.00

 

 

ผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อพฤติกรรมผู้บริโภค

สถานะทางการเงินของผู้ซื้อชาวไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปีที่ผ่านมา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 จำนวน 48% ของนักช้อปรายงานว่าสถานะทางการเงินของตนนั้นแย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งตัวเลขอยู่ที่ 39% สถานะทางการเงินที่ลดลงนี้ส่วนใหญ่เกิดจากค่าต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้งบประมาณครัวเรือนทั่วประเทศตึงตัว

 

ความกังวลของผู้บริโภค

ต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นกังวลอันดับต้นๆ ของผู้บริโภค โดยต้นทุนของอาหารได้พุ่งสูงขึ้นจาก 27% ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 เป็น 30% ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังต้องรับมือกับความกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและผลกระทบของภาวะโลกร้อนด้วย เพื่อจัดการกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนเหล่านี้ ผู้ซื้อหลายคนจึงวางแผนซื้อสินค้าในช่วงลดราคาและช่วงที่มีการจัดโปรโมชันพิเศษเพื่อช่วยลดการใช้จ่าย

 

การตอบสนองของผู้บริโภค

เพื่อตอบสนองต่อต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น กลุ่มผู้ซื้อจึงใช้กลยุทธ์ต่างๆ ดังนี้:

●      การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย: ผู้ซื้อหลายคนให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายสินค้าที่จำเป็นมากขึ้น โดยตัดการซื้อของที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อจัดการกับงบประมาณให้ดีขึ้น ผู้ซื้อชาวไทยให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาต้องการมากกว่าสิ่งที่อยากได้

●      การลดปริมาณการซื้อ: ผู้ซื้อจะลดปริมาณสินค้าที่ซื้อ โดยเน้นที่การซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นหรือสต็อกสินค้าที่จำเป็น

●      การซื้อของในช่วงลดราคา: ผู้ซื้อนิยมซื้อสินค้าในช่วงลดราคา เช่น ช่วงวันหยุดหรือช่วงโปรโมชั่นลดราคาสองหลัก เนื่องจากต้องการแสวงหาการลดราคาและข้อเสนอพิเศษเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถใช้จ่ายในงบประมาณเพิ่มมากขึ้น

 


 

แนวโน้มของผู้บริโภค

ความกังวลด้านการเงินส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของของผู้ซื้อชาวไทยเป็นอย่างมาก:

เน้นที่คุณภาพของสินค้า: จำนวนผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้นถึง 90% ในปี พ.ศ. 2567 เพิ่มขึ้นจาก 82% ในปี พ.ศ. 2565 โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าราคา

ความพึงพอใจที่จะใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย: ความพึงพอใจที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อประหยัดเวลา เพิ่มขึ้นเป็น 78% ในปี พ.ศ. 2567 จาก 70% ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งอาจเกิดจากปริมาณงานที่มากขึ้นและระยะเวลาเดินทางที่นานขึ้น เป็นนัยยะว่าผู้ซื้อชาวไทยให้ความสำคัญต่อเวลาของพวกเขามากขึ้นด้วย

การใช้ส่วนลด: ผู้ซื้อชาวไทยหันมาแสวงหาส่วนลดพิเศษกันมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการใช้จ่ายเชิงกลยุทธ์ท่ามกลางแรงกดดันทางการเงิน

ความเปิดกว้างต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ: ผู้ซื้อประมาณ 89% ยินดีที่จะลองผลิตภัณฑ์และแบรนด์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจาก 79% ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การสำรวจทางเลือกที่คุ้มต้นทุน

สินค้าที่มีอิทธิพลของร้านค้า: เมื่อเป็นเรื่องของตัวเลือกของร้านค้าสำหรับผู้ชื้อชาวไทย มีสินค้า 3 หมวดหมู่หลักที่ร้านค้าต้องคำนึงถึงและมีขาย เพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของนักซื้อชาวไทย ได้แก่:

●      แชมพูและครีมนวดผม

●      ผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่ม

●      อาหาร เช่น ข้าว แป้ง พาสต้า น้ำมันปรุงอาหาร และเครื่องปรุงรสอาหาร

 

ผลกระทบต่อธุรกิจ

ธุรกิจ โดยเฉพาะในภาค FMCG จะต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ ความภักดีต่อแบรนด์นั้นมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก โดยมีเพียง 19% ของผู้ซื้อในปี พ.ศ. 2566 ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะซื้อสินค้าเดิมๆ เมื่อเทียบกับตัวเลขที่สูงกว่าในปีที่ผ่านมาเนื่องจากความตึงเครียดทางการเงินไม่ใช่ปัญหาที่ต้องกังวลในเวลานั้น เพื่อสนับสนุนผู้ซื้อ ธุรกิจควรพิจารณาเสนอส่วนลดและตัวเลือกในการซื้อจำนวนมากมากขึ้น และต้องเน้นย้ำถึงคุณค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาและดึงดูดลูกค้า ธุรกิจควรใช้กลยุทธ์การขายออนไลน์มากขึ้นเพื่อลดต้นทุนหน้าร้านและเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นให้กับผู้ซื้อที่มองหาข้อเสนอพิเศษทางช่องทางออนไลน์

 

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทย ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และปรับกลยุทธ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การคำนึงถึงความสามารถในการซื้อ คุณภาพ และการลดราคาเชิงกลยุทธ์จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถสนับสนุนผู้ซื้อได้ดีขึ้นในช่วงเวลาที่ท้าทายเหล่านี้และสามารถรับประกันถึงการมีส่วนร่วมของผู้ซื้ออย่างต่อเนื่อง

 


สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวรายงาน Thai Shopper Trends 2567 ได้ที่ NIQ Shopper Trends 2024 - NIQ (nielseniq.com)

 

[อ่าน 519]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต จัดงาน “2025 AGENCY LEADER MIDYEAR PLAN” เปิดเกมรุก สู่ชัยชนะ
บิ๊กซีจับมือ Simplus จัดแฟนมีท “Butterbear” ดึงคาแรคเตอร์หมีสุดคิ้วท์เอาใจสายครอบครัว
เอไอเอ ครองอันดับ 1 บริษัทที่มีสมาชิกสโมสรล้านเหรียญโต๊ะกลม (MDRT) มากที่สุดในโลก 11 ปีติดต่อกัน
ทิพยประกันภัย ต้อนรับ คณะเยาวชน-ผู้ปกครอง โครงการเยาวชนไทยในสหรัฐอเมริกา เยือนแผ่นดินแม่ 2568
ไอคอนสยาม จับมือ กรุงเทพมหานคร และภาคีภาครัฐ-เอกชน เปิดโครงการ “BKK Food Bank @ICONSIAM"
Bravo BKK ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ถวายเทียนพรรษา ณ วัดอุทัยธาราม
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved