ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 2.7% เร่งขึ้นจาก 2.5% ในปีก่อนหน้า โดยหนึ่งในแรงส่งสำคัญมาจากการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะพลิกกลับมาเติบโต 3.0% จากเดิมที่เคยหดตัวถึง -1.6% ในปี 2567 โดยได้รับอานิสงส์ของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งกำลังหลั่งไหลเข้ามาในไทยเพิ่มมากขึ้น
นายกณิศ อ่ำสกุล นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ระบุว่า การลงทุนภาคเอกชนปี 2568 จะกลับมามีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดย FDI จากจีน เป็นตัวแปรหลักที่ช่วยพลิกฟื้นการลงทุน เห็นได้จากช่วง 9 ปีที่ผ่านมา เงินลงทุนจากจีนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สวนทางกับญี่ปุ่นที่เริ่มชะลอตัว ในปี 2567 FDI จากจีนมีมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงถึง 1.75 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่าญี่ปุ่นถึง 3-4 เท่า
ปัจจัยหนุนคือ “ศักยภาพการดึงดูดเงินทุน” ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้รับการจัดอันดับจากหลายสถาบันต่างประเทศ เช่น Milken Institute ของสหรัฐฯ ที่จัดไทยให้อยู่ในอันดับ 2 ของกลุ่มประเทศ Emerging and Developing Asia (รองจากมาเลเซีย) โดยชูจุดเด่นเรื่องสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และความพร้อมด้านบริการการเงิน อย่างไรก็ดี ยังมีจุดที่ไทยสามารถพัฒนาเพิ่ม เช่น ระบบการคุ้มครองนักลงทุน และการดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ดร. สุปรีย์ ศรีสำราญ นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เสริมว่า การเพิ่มขึ้นของ FDI จะสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยหลายภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ 3 กลุ่มสำคัญ ได้แก่
แม้กระแสเงินทุนต่างชาติจะส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย แต่อีกด้านหนึ่งยังมี 5 ปัจจัยเสี่ยง ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวม FDI ในระยะข้างหน้า ได้แก่
ยิ่งไปกว่านั้น Global Minimum Tax หรือการเก็บภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำในระดับโลก อาจส่งผลให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยเป็นจุดขายหลักในการจูงใจ FDI สูญเสียความได้เปรียบในเวทีการแข่งขัน ดังนั้น ไทยจำเป็นต้องเร่งดำเนินนโยบาย เช่น Upskill/Reskill บุคลากร และรุกเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพิ่มเติม เพื่อรักษาระดับเม็ดเงินลงทุนต่างชาติให้อยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง
การไหลเข้าของ FDI โดยเฉพาะจากจีน กำลังเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงให้การลงทุนภาคเอกชนไทยปี 2568 กลับมาขยายตัวอย่างโดดเด่นที่ 3% หลังเผชิญภาวะหดตัวในปีก่อนหน้า แม้จะส่งผลเชิงบวกต่อหลายภาคธุรกิจทั้งนิคมอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ แต่ไทยยังต้องรับมือกับ 5 ปัจจัยเสี่ยงระดับโลก และเร่งปรับโครงสร้างในด้านกฎระเบียบ โครงสร้างพื้นฐาน และทักษะบุคลากร เพื่อให้การฟื้นตัวของภาคการลงทุนเป็นไปอย่างยั่งยืนและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศในระยะยาว