บางกอกแอร์เวย์ส มั่นใจจัดทัพครั้งใหม่ปี 65 ทั้งเสริมแกร่งภายใน ทำองค์กรให้ลีน บริหารฝูงบิน ค่าใช้จ่าย พร้อมจับมือพันธมิตร เพิ่มช่องทางการเข้าถึง เผยสภาพคล่องยังไปได้อีกระยะ ตั้งเป้าปีนี้ดึงผู้โดยสาร 2.6 ล้านคน และกว่า 3.4 หมื่นเที่ยวบิน ทำรายได้รวม 8,175 ล้านบาท พร้อมกลับมาเปิดเส้นทางบินทั้งในและระหว่างประเทศ ชี้แม้จะมีปัจจัยความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่เชื่อดีมานด์ท่องเที่ยวปีนี้จะกลับมา
ตลาดการบินและเป้าหมาย
พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. การบินกรุงเทพ เปิดเผยถึงภาพรวมการเำเนินธุรกิจในปีที่ผ่านมาว่า
“การเดินทางของผู้โดยสารสายการบินบางกอกแอร์เวย์สลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงพฤษภาคม 2564 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ต่อเนื่องมาจนถึงสิงหาคม สายการบินฯ ได้เปิดให้บริการเส้นทาง sealed route เพื่อสนับสนุนนโยบายเปิดประเทศ ได้แก่ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ และ สมุยพลัส เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมความมั่นใจในการเดินทางมายังประเทศไทย จนกระทั่งพฤศจิกายน 2564 ที่จำนวนผู้โดยสารทยอยเพิ่มขึ้นจากนโยบายการเปิดประเทศ
ทั้งนี้ เส้นทางสมุยยังคงเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 63% ของรายได้ผู้โดยสารทั้งหมด ส่วนเส้นทางภายในประเทศอื่นๆ มีสัดส่วนอยู่ที่ 35% และกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กรุงเทพ-พนมเปญ ที่เปิดปฏิบัติการบินเมื่อเดือนธันวาคม 2564 มีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 2%”
สำหรับปี 2565 คาดว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวประมาณ 40% หลังจากอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางบินต่าง ๆ นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยว มาตรการการเดินทางของแต่ละประเทศ และการควบคุมสถานการณ์โควิด–19 ที่อาจยังไม่คลี่คลาย”
ทั้งนี้ เส้นทางบินที่จะเปิดเพิ่มเติมในปี 2565 ได้แก่
ขณะเดียวกัน สายการบินบางกอกแอร์เวย์ยังมีแผนการบริหารฝูงบินด้วยจากปัจจุบันที่มีฝูงบิน 37 ลำ และภายในสิ้นปีนี้จะมีเครื่องบินทั้งสิ้น 30 ลำ โดยจะทยอยคืน Airbus A320 จำนวน 5 ลำ ซึ่งครบกำหนดสัญญาแล้ว รวมถึงจำหน่ายเครื่องบิน ATR72-500 อีกจำนวน 2 ลำ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ยกระดับมาตรฐานด้านการซ่อมบำรุง โดยได้รับใบรับรองหน่วยซ่อม ซึ่งผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานตามข้อกำหนดใหม่ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย โดยพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงอากาศยานแบบ Airbus และ ATR ทั้งในระดับ Base Maintenance และ Line Maintenance
พุฒิพงศ์ กล่าวถึงประมาณการเป้าหมายของปี 2565ว่า บริษัทฯ คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้โดยสาร 2.6 ล้านคน ตั้งเป้ารายได้ผู้โดยสาร 8,175 ล้านบาท รวมเที่ยวบินกว่า 3.4 หมื่นเที่ยวบิน มีอัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 65% และราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ 3,100 บาทต่อเที่ยว
สภาพคล่องยังไปต่อได้
ด้วยสถานการณ์ความท้าทายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจการบิน อนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสสายงานการเงินและบัญชี บางกอกแอร์เวย์ กล่าวว่า
“ในภาพรวม สภาพคล่องของบริษัทฯ ยังไปต่อได้จากเดิมที่ได้จัดหาแหล่งเงินกู้มากว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ที่จะต้องแหล่งเงินทุนอีกด้วยจำนวนหลายพันล้านบาท เพื่อให้ไปต่อได้ และหนึ่งในทางเลือกนอกจากสถาบันการเงินก็คือการออกหุ้นกู้ เนื่องจากสถานะทางการเงินของบริษัทฯ ตอนนี้เสมือนเพิ่งฟื้นไข้ แต่กระนั้น บริษัทฯ ก็ยังเป็นลูกค้าที่ดีของคู่ค้าและสถาบันการเงิน”
สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 2564 เทียบกับปี 2563
ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ได้แก่
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีทั้ง ‘ขึ้นและลง’
สำหรับผลประกอบการของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบินมีทั้งธุรกิจที่เติบโตลดลงและเพิ่มขึ้น อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด มีรายได้อยู่ที่ 119.5 ล้านบาท ลดลง 61 % เนื่องจากมีจำนวนเที่ยวบินที่สนามบินสุวรรรณภูมิและสนามบินภูเก็ตลดลง
บริษัท ภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไลด์ไฟล์ทเซอร์วิส จำกัด มีรายได้ 1,122.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18 ทั้งนี้มีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายจึงทำให้มีกำไรอยู่ที่ 237 ล้านบาท
บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด มีผลการดำเนินงานที่สวนทางกับสองบริษัทฯ ข้างต้น โดยเป็นธุรกิจขาขึ้นมีรายได้ 2,140.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากอัตราการใช้บริการคลังสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น จากการแพร่ระบาดของโควิด-19
รุกทำตลาดทั้งใน / ระหว่างประเทศ
จุลิน กอเจริญ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขาย และรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาด กล่าวถึงทิศทางการขายและการตลาดของสายการบินในปี 2565 ว่า
“บริษัทฯ จะเน้นการขายในตลาดต่างประเทศควบคู่กับการให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย และกลยุทธ์ด้านราคา การพัฒนาระบบต่างๆ รวมถึงความสำคัญของระบบการจ่ายเงิน การให้ความสำคัญด้านรายได้เสริม การสื่อสารการตลาดและการมีส่วนรวมของลูกค้า และการเน้นย้ำในจุดแข็งของสายการบินฯ ในด้านความเป็นเลิศในการให้การบริการ โดยช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศยังคงเป็นช่องทางหลักที่ลูกค้าในประเทศใช้ คือ website/mobile และ Customer Care Centre 1771 ส่วนตลาดต่างประเทศจะจัดจำหน่ายผ่าน Billing & Settlement Plan Agents (BSP Agents) ในตลาดหลัก อาทิ ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน แอฟริกาใต้ และอีกกว่า 20 ตลาดทั่วโลก รวมถึงการขายผ่านเครือข่ายสายการบินพันธมิตรทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังเน้นช่องทาง API ผ่านโครงข่าย NDC และ metasearch เป็นหลัก เพื่อขยายช่องทางการเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมทุกกลุ่มทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก ช่องทาง API เชื่อมต่อการเข้าถึงข้อมูลของเรา ทำให้การจัดจำหน่ายผ่าน OTA เป็นเรื่องง่ายและลดต้นทุนในการจัดจำหน่าย โดยขณะนี้ OTA หลักๆ เหล่านี้ได้เชื่อมต่อกับระบบสำรองที่นั่งของสายการบินฯ เรียบร้อยแล้ว รวมถึง metasearch engine หลักทั้ง SkyScanner, Google นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งให้ผลิตภัณฑ์และการบริการไปอยู่ในทุกๆ ที่ที่ลูกค้าสามารถเลือกรับบริการได้ รวมถึงแอพพลิเคชั่น หรือ super APP ต่างๆ ซึ่งตอนนี้เรากำลังเชื่อมต่อกับ Robinhood รวมถึงการให้บริการจองผ่านแอพพลิเคชั่นที่ผู้บริโภคใช้ในชีวิตประจำวันให้คลอบคลุมมากยิ่งขึ้นต่อไป”
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ส่งแคมเปญ “คิดถึง.......ให้ถึง” เพื่อกระตุ้นการเดินทางของลูกค้าที่อาจจะไม่ได้มีโอกาสเดินทางในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาให้กลับมาเดินทาง พร้อมทำกิจกรรมทางการตลาดเพื่อสร้างการจดจำของแบรนด์ผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยกิจกรรมหลักของปีนี้ คือ ๆจัดการแข่งขันวิ่งฮาลฟ์มาราธอน บางกอกแอร์เวย์สบูทีคซีรี่ย์ 2022 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่น โดยจะจัดในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิ เกาะสมุย ลำปาง ตราด พังงา และสุโขทัย”