ใครๆ ก็หันหลังให้ ‘รัสเซีย’
13 Apr 2022

 

ทันทีที่ วลาดีมีร์ ปูตินประธานาธิบดีรัสเซีย ได้ลั่นกลองรบในการบุก ‘ยูเครน’ นอกจากเสียงระเบิดที่เกิดขึ้นแล้ว ในอีกฟากหนึ่งก็มีเสียงที่แสดงออกถึงการไม่เห็นด้วยตามมาอย่างอื้ออึงไม่แพ้กัน

มาตรการคว่ำบาตรต่างๆ เริ่มทยอยออกมาจากรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในขณะที่ภาคธุรกิจก็ได้ออกมาส่งเสียง เพื่อเรียกร้องสันติภาพด้วยการ  ‘หันหลัง’ ประกาศยุติกิจการในดินแดนหมีขาว ซึ่งแม้จะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 144 ล้านคนก็ตาม

 

จนถึงตอนนี้มีรายชื่อที่รวบรวมโดย Yale School of Management มีบริษัทไม่น้อยกว่า 400 แห่งทั่วโลกออกมาประกาศหยุดการทำธุรกิจในรัสเซีย หลังจากการรุกรานเข้าสู้ยูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลลน์สกี แห่งยูเครน กล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อวัน 16 มีนาคมที่ผ่านมา เรียกร้องให้แบรนด์ระดับโลกทั้งหมดออกจากรัสเซีย ซึ่งเป็นตลาด ‘ที่นองไปด้วยเลือด (ของชาวยูเครน)’ เขาหวังว่า นี่จะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะกดดันเศรษฐกิจของดินแดนหมีขาว

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามแล้ว หากมองให้ลึกลงไปการดำเนินงานในรัสเซียได้กลายเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับบริษัทต่างชาติ ด้วยมาตรการคว่ำบาตรที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าเงินรูเบิลลดลง และการห้ามธุรกรรมของสหรัฐฯ กับธนาคารกลางรัสเซีย ดังนั้นการตัดสินใจถอนตัวจึงกลายเป็นทางเลือกที่ง่ายกว่าสำหรับบริษัทต่างๆ

 

 

 

ใครบ้างที่หันหลัง

เริ่มจากยักษ์ใหญ่ทางด้านไอทีที่ออกมาประกาศยุติกิจการในรัสเซียไม่ว่าจะเป็น 'Apple' หยุดการขายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นชั่วคราวรวมไปถึงจำกัดการเข้าถึงบริการดิจิทัล

"เรากำลังสนับสนุนความพยายามด้านมนุษยธรรม ให้ความช่วยเหลือแก่วิกฤติผู้ลี้ภัย และทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อสนับสนุนทีมของเราในภูมิภาคนี้ Apple กล่าว

 

ด้าน Google จำกัดบริษัทข่าวที่ได้รับทุนจากรัฐบาลรัสเซียจากเครื่องมือโฆษณาและคุณลักษณะบางอย่างบน YouTube ขณะที่ Facebook และ Twitter ได้เริ่มปราบปรามเนื้อหาของสื่อรัสเซีย ที่ท้ายที่สุดแล้วบรรดาแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ ก็ถูกแบนในที่สุด

สตูดิโอฮอลลีวูดเช่น Walt Disney, Paramount Pictures, Sony และ WarnerMedia ประกาศหยุดการฉายภาพยนตร์ใหม่ในรัสเซีย ส่วน Netflix นั้นก็ได้ยุติการให้บริการ ซึ่งจะกระทบลูกค้าราว 1 ล้านคน แต่ตัวเลขนี้ก็ถือว่าไม่มากนัก เมื่อเทียบกับฐานลูกค้าที่มีกว่า 222 ล้านคนทั่วโลก

Sony ได้ประกาศหยุดขายคอนโซล PlayStation และซอฟต์แวร์ในรัสเซีย ซึ่งการขยับตัวของ Sony เป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดของอุตสาหกรรม เพราะถือเป็นพี่ใหญ่ในตลาดรัสเซีย

 

ค้าปลีกก็ไม่อยู่แล้ว

อุตสาหกรรมค้าปลีกก็เป็นอีกส่วนที่ยุติการดำเนินธุรกิจในรัสเซีย โดยแบรนด์แรกๆ ที่ขยับตัวคือ Nike ยักษ์ใหญ่ด้านกีฬาของสหรัฐฯ ที่หยุดการขายโดยอ้างว่า เกิดจากปัญหาทางด้านการขนส่ง

Adidas แบรนด์กีฬาจากแดนอินทรีเหล็ก ซึ่งมีร้านค้าประมาณ 500 แห่งในรัสเซีย และทำรายได้ประมาณ 2% เมื่อเทียบกับทั่วโลก ก็ได้หยุดการขายเช่นเดียวกัน

โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Adidas ได้กล่าวกับ CNBC ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินถึงสามารถในการกลับมาเปิดร้าน แต่ในระหว่างนี้ Adidas ก็ยืนยันที่จะจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานจำนวนหลายพันคนต่อไป

IKEA ยักษ์ใหญ่ด้านเฟอร์นิเจอร์ก็ได้ประกาศปิดร้านในรัสเซีย ซึ่งมีทั้งหมด 17 แห่ง โดยการหยุดครั้งนี้ได้กระทบกับพนักงานกว่า 1.5 ล้านคน

ไม่เพียงเท่านั้นยักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์ต่างประกาศยุติธุรกิจและกิจกรรมในรัสเซียเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Volkswagen, BMW, General Motors, Ford Motor, Toyota Motor, Harley-Davidson, Volvo และ Daimler Truck

 

 

 

บางแบรนด์ก็ไม่ได้ออกในทันที

ใช่ว่าทุกแบรนด์จะประกาศหันหลังให้รัสเซียในทันที แต่ยังมีแบรนด์ยักษ์ใหญ่หลายๆ แห่งที่ยังไม่ได้ถอดตัวไม่ว่าจะเป็น McDonald's ซึ่งมีร้านอยู่ราว 850 แห่งที่เปิดต่อไป รวมไปถึง Starbucks เชนร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็เดินหน้าเปิดร้านทั้ง 130 สาขา

ร้าน KFC ซึ่งมีมากกว่า 1,000 แห่งและ Pizza Huts 50 แห่งก็ไม่ปิดเช่นกันในเวลานั้น Yum Brands บริษัทแม่ของ KFC และ Pizza Huts ให้เหตุผลว่า ยังเร็วเกินไปที่สรุปเกี่ยวกับอนาคตของการดำเนินงานในรัสเซีย

ส่วนยักษ์ใหญ่ด้านน้ำอัดลมอย่าง Coca-Cola และ PepsiCo ยังไม่มีสัญญาณของการถอนตัวออกจากรัสเซีย ซึ่งคิดเป็นประมาณ 4% ของรายรับทั่วโลกของทั้งสองบริษัท

Uniqlo ยักษ์ใหญ่ด้านฟาสต์แฟชั่นเบอร์ 3 ของโลกได้ประกาศเปิดร้าน 50 สาขาต่อไป ซึ่งเป็นการเดินสวนทางกับ Zara ที่ปิดสาขาในรัสเซียทั้ง 502 แห่ง และระงับการขายผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย ส่วน H&M ฟาสต์แฟชั่นยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ก็ปิดร้าน 170 สาขา ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีจำนวนมากที่สุดอันดับ 6 ของโลก

เหตุผลที่ Uniqlo ไม่เปิดร้านนั้น เป็นเพราะ ทาดาชิ ยานาอิ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Fast Retailing บริษัทแม่ของ Uniqlo ได้มองว่า เสื้อผ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ผู้คนในรัสเซียก็มีสิทธิ์จะใช้ชีวิตได้เหมือนกับพวกเราทุกคน

แน่นอนว่า การว่ายสวนทางน้ำเชี่ยวนั้นได้มีผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที โดยในโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้เกิด แฮชแท็กอย่าง #BoycottPepsi, #BoycottCocaCola และ #BoycottYumBrands ก็กำลังเป็นที่นิยมบน Twitter รวมไปถึง #BoycottUniqlo

        

สุดท้ายก็ต้องยอมถอย

ที่สุดแล้วด้วยกระแสสังคมตลอดจนความเคลื่อนไหวที่เข้มข้นขึ้นของมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ที่ออกมาจากภาครัฐบาล ก็ทำให้แบรนด์ต่างๆ ที่ก่อนหน้านี้ยังไม่ได้แสดงท่าทียุติการดำเนินธุรกิจในรัสเซีย ได้กลับลำในท้ายที่สุด

โดย Uniqlo ระบุว่า ในขณะที่ Uniqlo ดำเนินธุรกิ ในรัสเซียต่อไป ก็เห็นได้ชัดว่าเราไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากปัญหาหลายอย่าง" โดยอ้างถึง "ความท้าทายในการดำเนินงานและสถานการณ์ความขัดแย้งที่เลวร้ายลง" จึงได้ตัดสินใจปิดร้านเป็นการชั่วคราว

ร้านค้า 50 แห่งของ Uniqlo ในรัสเซียเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจของแบรนด์ในยุโรปซึ่งมีร้านค้าประมาณ 110 แห่ง แต่นั่นเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยในธุรกิจโดยรวมของ Fast Retailing ซึ่งประกอบไปด้วยร้านค้าประมาณ 3,500 แห่งทั่วโลก

ภายหลังการให้สัมภาษณ์ของยานาอิซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ Nikkei Asia ได้รายงานว่า ภายในบริษัทเองก็ได้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับความต่อเนื่องทางธุรกิจและความเสี่ยงด้านชื่อเสียงเกิดขึ้นหลังจากความเห็นเขา โดยกรรมการภายนอกและคนอื่นๆ ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงนโยบาย

ในการแถลงข่าวเมื่อปีที่แล้วยานาอิได้พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกี่ยวกับธุรกิจต่างๆ ที่ถูกกดดันให้ตัดสินใจที่อาจถือเป็นจุดยืนทางการเมือง โดยเขากล่าวว่า การก้าวไปพร้อมกับตำแหน่งทางการเมืองอย่างง่ายดายหมายถึงการตายของธุรกิจ

นอกจาก Uniqlo แล้ว แบรนด์สินค้ายักษ์ใหญ่อย่าง McDonalds, Starbucks, Coca-Cola และ Pepsi ต่างก็ออกมาเผยถึงทิศทางที่เป็นเหรียญคนละด้านกับก่อนหน้านี้ โดยระบุถึงการยุติการดำเนินธุรกิจในรัสเซีย

 

 

 

จับตาที่ McDonalds

ในบรรดาแบรนด์ต่างๆ ที่ปิดประตูธุรกิจในแดนหมีขาว หากถามว่าแบรนด์ใดที่สั่นทะเทือนต่อจิตใจของชาวรัสเซียมากที่สุด คำตอบคงหนีไม่พ้น  ‘McDonalds’

ย้อนกลับไปในวันที่ 31 มกราคม ในปี 1990 ผู้คนจำนวนมากได้รวมตัวกันอยู่ที่หน้าร้าน McDonalds ในกรุงมอสโกเพื่อๆลิ้มลอง Big Macs เป็นครั้งแรก โดย CBC รายงานในเวลานั้นว่า วันแรกของกรเปิดร้านมีลูกค้ากว่า 30,000 คนเลยทีเดียว

การมาถึงของ McDonalds ในมอสโกไม่ใช่แค่ Big Macs หรือ มันฝรั่งทอดเท่านั้น แต่แบรนด์ที่เป็นยักษ์ใหญ่ด้านเบอร์เกอร์ถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เพราะหลังจากเปิดร้านได้เพียง 2 ปี สหภาพโซเวียตก็ได้ล่มสลายลง

ศาสตราจารย์ด้านรัสเซียประจำวิทยาลัยวิลเลียมส์กล่าวกับ CNN ว่า หากการเปิดร้าน McDonalds ในปี 1990 เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นชีวิตยุคใหม่ในสหภาพโซเวียต ซึ่งแสดงถึงยุคที่มีเสรีภาพที่มากกว่า การยุติร้านในปัจจุบันไม่เพียงแสดงถึงการปิดตัวของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสังคมโดยรวมด้วย

George Cohon ผู้ดูแลธุรกิจการของ McDonalds ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1970 - 1990 คือผู้ที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการนำ McDonald's มามอสโก ซึ่งต้องใช้เวลา 14 ปีกว่าจะทำได้

เขาเล่าถึงขั้นตอนที่ยากลำบากในการเปิดร้านแห่งแรก เพราะในเวลานั้นฝั่งโซเวียต มีความเข้าใจที่น้อยมากเกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งหรือดำเนินการของ McDonald's โดยเฉพาะทำเลแห่งแรกที่จะไปเปิด นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่ไม่เคยมีมาก่อนอีกด้วย

 

ในช่วงแรกที่เปิดร้านมีหลายคนที่มองว่า McDonald's ไม่น่าจะอยู่ได้นาน เพราะแม้ชาวรัสเซียบางคนจะตอบว่า " McDonald's เป็นมากกว่าแค่สถานที่สำหรับซื้อแฮมเบอร์เกอร์แบบอเมริกัน"  แต่ลูกค้าอีกหลายคนก็มองว่า ตัวแฮมเบอร์เกอร์เองก็ไม่ได้น่าตื่นเต้น อีกทั้งอาหารหนึ่งมื้ออาจต้องเสียค่าใช้จ่ายครึ่งวันสำหรับชาวรัสเซียโดยเฉลี่ยอีกต่างหาก

ที่สุดแล้ว McDonald's ก็ยืนหยัดดำเนินธุรกิจมากว่า 32 ปี และกลายเป็นภาพจำของชาวรัสเสียหลายคนที่มอง McDonald's เป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยใหม่และความเป็นอิสระภาพ ก่อนที่ภาพนั้นจะพังทลายลงเมื่อมีการประกาศยุติการดำเนินธุรกิจ

"ในรัสเซีย เราจ้างพนักงาน 62,000 คนที่ทุ่มเทหัวใจและจิตวิญญาณให้กับแบรนด์ McDonald's เพื่อให้บริการลูกค้าของพวกเขา เราทำงานร่วมกับซัพพลาย   เออร์และพันธมิตรในท้องถิ่นในรัสเซียหลายร้อยรายที่ผลิตอาหารสำหรับเมนูของเราและสนับสนุนแบรนด์ของเรา และเราให้บริการลูกค้าชาวรัสเซียหลายล้านรายในแต่ละวันที่ไว้วางใจ McDonald's"  แม่ทัพของ McDonald's กล่าวในแถลงการณ์

เขากล่าวต่อว่า ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา McDonald's เป็นส่วนหนึ่งชองรัสเซียจากร้านที่มีกว่า 850 แห่ง แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันทำให้การเปิดร้านเป็นไปอย่างงยากลำบาก จึงเป็นที่มาของการปิดร้าน

McDonald's จะยังคงจ่ายเงินให้พนักงานในรัสเซียต่อไป โดยยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเมื่อไรที่ McDonald's จะเปิดประตูต้อนรับชาวรัสเซียอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีการประเมินถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นว่า McDonald's จะต้องขาดทุนเดือนละ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1,600 ล้านบาท

 

 

 

หลายแบรนด์ไม่สามารถถอนตัวได้

อย่างไรก็ตามสำหรับบางแบรนด์การพูดอาจง่ายกว่าทำให้สำเร็จ ยักษ์ใหญ่ด้านอาหารฟาสต์ฟู้ด Burger King และ Subway, ร้านค้าปลีกชาวอังกฤษ Marks & Spencer และเครือโรงแรม Accor และ Marriott เป็นหนึ่งในธุรกิจจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถถอดตัวออกจากแดนหมีขาว อันเนื่องมาจากข้อตกลงด้านแฟรนไชส์ที่ซับซ้อน

Graeme Payne ผู้เชี่ยวชาญในสหราชอาณาจักรและธุรกิจแฟรนไชส์ระดับนานาชาติที่สำนักงานกฎหมาย Bird&Bird บอกกับ BBC ว่าการดำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์นั้นมีประโยชน์สำหรับแบรนด์ตะวันตกที่ต้องการเข้าสู่ตลาดในประเทศต่างๆ ที่ตัวเองไม่ได้มีความเชี่ยวชาญหรือมีงบลงทุนที่มากพอ  

หากมองจากคนทั่วไปก็จะคิดว่า ทำไมพวกเขาไม่ปิดร้านไปเลย แต่จากมุมมองของธุรกิจและกฎต่างๆ มันยากมากที่จะทำเช่นนั้นโดยไม่ส่งผลกระทบทางกฎหมายที่ร้ายแรง   

นั้นเพราะผลที่ตามมาอาจทำให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ต้องเสียเงินก้อนโตให้กับผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ จากการถูกฟ้องเนื่องจากแบรนด์ฝ่าฝืนข้อตกลงต่างๆ และที่ประโชคระบุว่า "หากแฟรนไชส์ซีกำลังทำอะไรเพื่อสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของแบรนด์ ทางแบรนด์ก็สามารถยุติสัญญาได้" แต่ปัญหาในรัสเซียในปัจจุบันก็คือแฟรนไชส์จำนวนมากไม่ได้ทำอะไรผิด

 

ด้าน Craig Tractenberg หุ้นส่วนของสำนักงานกฎหมาย Fox Rothschild ให้ความเห็นว่า แฟรนไชส์บางคนไม่ต้องการหยุดดำเนินการเพราะพวกเขาอ้างว่าปัญหาไม่ได้มาจากคนรัสเซีย และแบรนด์ควรให้บริการลูกค้าต่อไป

 

 ซึ่งการตัดสินใจใดๆ ย่อมมีผลกระทบทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย โดย ดร.เอียน ปีเตอร์ส ผู้อำนวยการสถาบันจริยธรรมธุรกิจ แสดงความคิดเห็นกับ BBC ว่า

โลกมีแนวโน้มที่จะตัดสินแบรนด์จากสิ่งที่พวกเขาทำในสถานการณ์เช่นนี้ และการตัดสินตามหลักจริยธรรมจะมีความสำคัญพอๆ กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการคว่ำบาตรที่นำโดยรัฐบาล

 

แม้แบรนด์ส่วนใหญ่จะมีสิ่งที่เรียกว่า เข็มทิศทางจริยธรรม(Ethical Compass) ที่ใช้ในการตัดสินท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ แต่ดร.เอียนก็ระบุว่า

ในสถานการณ์เช่นนี้เราจะแนะนำให้แบรนด์มองภาพรวมและพยายามทำสิ่งที่ถูกต้อง โดยให้ผลประโยชน์ในวงกว้างมากกว่าผลกำไรระยะสั้น

 

ยุติการสนับสนุน

เมื่อแบรนด์ไม่สามารถถอดตัวได้อย่างใจหวัง ทางออกจึงเป็นการยุติการสนับสนุนแทน โดย Burger King ซึ่งเป็นเจ้าของโดย Restaurant Brands International ประกาศว่า ได้ระงับการสนับสนุนร้านอาหารแฟรนไชส์มากกว่า 800 แห่งในรัสเซีย และจะปฏิเสธการอนุมัติสำหรับการขยายสาขาใหม่ อย่างไรก็ตามร้านจะยังเปิดต่อไปภายใต้การดูแลชองแฟรนไชส์หลักในท้องถิ่น

ในทำนองเดียวกัน Subway ไม่ได้มีร้านที่เป็นของตัวเองในรัสเซีย แต่ร้านอาหารกว่า 450 แห่ง ซึ่งดำเนินการโดยแฟรนไชส์จะเปิดดำเนินการต่อไป

ขณะเดียวกัน Marks & Spencer ซึ่งมีร้านค้า 48 แห่งในรัสเซีย บอกกับ CNBC ว่าได้หยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับแฟรนไชส์ของบริษัท FiBA ในตุรกี แต่ทั้งสองยังคง  ‘อยู่ในการเจรจา’ เกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่องของแบรนด์ที่นั่น

 

กลุ่มโรงแรมในเครือ Accor และ Marriott ต่างก็ระงับการเปิดโรงแรมแหงใหม่ในรัสเซีย แต่โรงแรมพวกเขายังคงเปิดดำเนินการโดยบุคคลที่สาม ซึ่ง Marriott และ Accor มีโรงแรม 28 และ 57 แห่งที่เปิดให้บริการตามลำดับ

 

 

ความช่วยเหลือหลั่งไหลไปสู่ยูเครน

         อีกด้านหนึ่งหลายองค์กรได้ออกมาประกาศช่วยเหลือกับชาวยูเครนที่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้น โดย Airbnb เสนอที่พักระยะสั้นฟรีสำหรับชาวยูเครนมากถึง 100,000 คนที่ต้องพลัดถิ่นจากสงครามกับรัสเซีย โดยที่พักสำหรับผู้ลี้ภัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Airbnb.org ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอิสระที่เปิดตัวหลังเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแซนดี้ที่ทำงานเพื่อจัดหาที่พักชั่วคราวให้กับผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤติ

         IKEA บริจาค  20 ล้านยูโร สำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ฟาก Ferrari ได้บริจาคเงิน 1 ล้านยูโรให้กับยูเครนเพื่อบรรเทาทุกข์ ขณะที่

 


 

บทความจากนิตยสาร MarketPlus Issue 144 April 2022 


 

[อ่าน 2,888]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘Digital Art Toy’ ภาคต่อที่เพิ่มมูลค่าให้กับ ‘ของเล่นศิลปะ’
พบความเชื่อมโยง แพลตฟอร์มท่องเที่ยวระดับโลก
กับเหตุสังหารหมู่โลมา เมืองไทจิ ประเทศญี่ปุ่น
ทำความเข้าใจการขึ้นราคากระเป๋า Chanel ล่าสุดปี 2024 และตลาดขายต่อ
"ยูนิลีเวอร์" วางแผนแยกธุรกิจไอศกรีม ส่งผลให้พนักงาน 7,500 ราย ถูกเลิกจ้าง
"ฝรั่งเศส" เจ้าภาพโอลิมปิก 2024 เผยโฉมชุดนักกีฬาทีมชาติ
อาลัย Akira Toriyama ผู้สร้าง Dragon Ball เสียชีวิตแล้วในวัย 68 ปี
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved