บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) หรือ TU เดินหน้าโครงการนวัตกรรมทางการเงินอย่างต่อเนื่อง รุกเปิดตัว 'ศูนย์บริหารและบริการร่วมทางการเงิน' หรือ 'Global Treasury Center' ของบริษัทฯ ว่าด้วยเรื่อง In-House Banking & Automation ในปีนี้ต่อเนื่องจากปี 2564 ที่ไทยยูเนี่ยนเริ่มใช้ Blue Finance (การเงินที่ส่งเสริมความยั่งยืน (ESG) ที่มีเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ต้องทำให้สำเร็จ)
ทั้งนี้ ยงยุทธ เสฏฐวิวรรธน์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายการบริหารการเงินกลุ่มและศูนย์บริการร่วมทางการเงิน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้นำในธุรกิจอาหารทะเลของโลก เปิดเผยถึงโครงการนวัตกรรมทางการเงินอย่างต่อเนื่องครั้งใหม่ ของบริษัทฯ ว่า
โครงการนวัตกรรมทางการเงินโดยศูนย์บริหาร และบริการร่วมทางการเงิน หรือ Global Treasury Center ของบริษัทฯ ว่าด้วยเรื่องของ In-House Banking & Automation ทั้งนี้ โมเดล In-House Banking เป็นโมเดลที่เกิดขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ และหนี้สิน ขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ ของกระแสเงินสด และการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งใช้กระบวนการอัตโนมัติทางธุรกิจ (Automation) มาใช้ในการทำ In-House Banking สำหรับขั้นตอนการโอนเงินต่างๆ ภายในบริษัทตั้งแต่ปี 2564
"ในฐานะบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ทั่วโลก ไทยยูเนี่ยน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารและการบริการทางการเงินแบบรวมศูนย์ จึงได้จัดตั้ง Global Treasury Center ในปี 2558 โดยทำงานร่วมกับศูนย์บริหารเงินในลักเซมเบิร์ก ที่บริหารงานที่เกี่ยวข้องในทวีปยุโรป และอีกศูนย์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองลอสแองเจลีส สำหรับการบริหารงานที่เกี่ยวข้องในสหรัฐอเมริกา
ทว่าในการตั้ง Global Treasury Center บริษัทจะต้องได้รับใบอนุญาตต่างๆ ซึ่งบริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นศูนย์บริหารเงิน(Treasury Center) จากกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2558 และใบอนุญาตจากกรมสรรพากร ในการเป็นสำนักงานใหญ่ระหว่างประเทศ(International Headquarter: IHQ)
ซึ่งต่อมาในปี 2562 ใบอนุญาตจากกรมสรรพากรดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นใบอนุญาตในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ(International Business Center: /BC) และในปี 2558 บริษัทฯ ได้เริ่มระบบการจัดการสภาพคล่องทางการเงินระหว่างส่วนกลางกับบริษัทในกลุ่มประเทศยุโรป(Global Cash Pooling)มีการบริหารรวบรวมยอดคงเหลือของแต่ละบริษัท เพื่อนำมาบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ และบริษัทได้ขยายขอบเขตของ Global Cash Pooing ให้ครอบคลุมการจัดการสภาพคล่องทางการเงินระหว่างส่วนกลางกับกลุ่มบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2560"
ยงยุทธ กล่าวต่อไปว่า "ในปี 2559 ไทยยูเนี่ยน ได้เริ่มรีไฟแนนซ์เงินกู้ระยะยาวของบริษัทในเครือแถบทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยใช้แหล่งเงินทุนจาก Global Treasury Center ของบริษัทเองสำหรับ In-House Banking ของธุรกิจไทยยูเนี่ยนในประเทศไทยนั้นเริ่มในปี 2563 ขณะที่โครงสร้างหรือโมเดลการทำงาน In-House Banking นั้นได้เริ่มในสำนักงานต่างๆ ของไทยยูเนี่ยนในทวีปยุโรปก่อนแล้ว"
อย่างไรก็ตาม โมเดลการทำงานของศูนย์บริหารและบริการร่วมทางการเงินของไทยยูเนี่ยนในยุโรป อเมริกาและประเทศไทยนั้น มีความแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ
ในส่วนของกระบวนการอัตโนมัติทางธุรกิจ (Automation) ยงยุทธ กล่าวว่า
บริษัทฯ ได้เริ่มใช้ Robotic Process Automation (RPA) ในกระบวนการ In-House Banking ของบริษัทสำหรับขั้นตอนและรายงานทางการเงินประเภทต่างๆ ภายในบริษัท ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่บริษัทได้เริ่มนำมาใช้ในปี 2564 ทำให้บริษัทสามารถรวบรวมข้อมูลทางการเงินประเภทต่างๆ เช่น การเก็บเงิน การจ่ายเงินและสถานะเงินสด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นปัจจุบันมากขึ้น
เมื่อเทียบกับกระบวนการทำงานแบบเดิมที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 3-7 วัน นอกจากนี้ RPA ยังช่วยให้ขั้นตอนการทำงานต่างๆ ที่ทำเป็นประจำ สะดวก รวดเร็วมากขึ้น เช่น การรับข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง การโอนเงิน การบันทึกการโอนเงินเข้าระบบ การจัดทำรายงานทางการเงิน และการส่งรายงานและข้อมูลทางการเงินไปยังฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องได้โดยอัตโนมัติและทันท่วงที่
กล่าวโดยสรุปคือ นวัตกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้น โดยศูนย์บริหารและบริการร่วมทางการเงินของไทยยูเนี่ยน ส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งในเรื่องต้นทุนทางการเงิน และประสิทธิภาพในการทำงาน และ มีข้อดีหลักๆ 3 ประการ ได้แก่
Thai Union At A Glance ผู้นำในธุรกิจอาหารทะเลของโลก
บทความลงตีพิมพ์ในนิตยสาร MarketPlus Issue 147 June-July 2022 คอลัมน์ SpotLight