สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ GIT ผลักดันมาตรฐาน 'GIT STANDARD' สร้างความเชื่อมั่นสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเน้นย้ำการเป็นศูนย์กลางการค้า และการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับโลก
สุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT)
อัญมณีและเครื่องประดับ จัดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับต้นๆ ของประเทศ รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมดังกล่าว และมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในระดับโลก ปัจจุบันมีอัญมณีเทียมและสังเคราะห์เข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมากซึ่งยากต่อผู้บริโภคที่จะแยกแยะแม้ปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการเอกชนเปิดให้บริการตรวจสอบอัญมณีจำนวนมาก แต่ก็ยังมีมาตรฐานในการออกใบรับรองที่แตกต่างกัน ดังนั้นการมีมาตรฐานวิเคราะห์ตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นมาตรฐานสากลหรือเทียบเท่ามาตรฐานสากล จะส่งผลดีอย่างยิ่งในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ และยังไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล จึงทำให้อาจมีห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับของภาคเอกชนทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศหลายแห่งที่เปิดให้บริการ โดยไม่มีการควบคุมคุณภาพการออกใบรับรองตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่น และขาดความมั่นใจในคุณภาพสินค้าของประเทศ ซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในฐานะศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลก
สถาบันในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในด้านการตรวจสอบอัญมณีและรับรองคุณภาพอัญมณีและเครื่องประดับ จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการ GIT Standard โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ เปิดโอกาสให้ห้องปฏิบัติการภายในประเทศสามารถพัฒนา และยกระดับคุณภาพมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ / ทดสอบสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และเพื่อให้ห้องปฏิบัติการ ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันสามารถนำไปใช้เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยครอบคลุม 4 ด้านหลัก ได้แก่
ทั้งนี้ในการจัดทำมาตรฐานนั้น สถาบันได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการจัดทำมาตรฐาน อาทิ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ, สมาคมค้าทองคำ, สมาคมช่างทองไทย, สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, กรมการท่องเที่ยว, ผู้แทนจากภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณีและเครื่องประดับ พร้อมทั้งได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนผ่านช่องทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊คของสถาบัน และมีผู้เข้าร่วมฟังการแสดงข้อคิดเห็นผ่านทุกช่องทางเป็นจำนวนมาก ซึ่งคณะกรรมการวิชาการได้นำข้อคิดเห็นดังกล่าวเข้าประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้ง จนได้ GIT Standard ที่พร้อมประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบันสถาบันได้ดำเนินการจัดทำและประกาศใช้มาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า และมาตรฐานด้านหลักเกณฑ์ มากกว่า 22 ขอบข่าย และมีห้องปฏิบัติการที่ผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ ภายใต้มาตรฐาน GIT Standard ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 สถาบันได้จัดพิธีมอบใบรับรองการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ GIT STANDARD ให้กับห้องปฏิบัติการข้างต้น ภายในงาน บางกอก เจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่ แฟร์ ครั้งที่ 67 เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่เข้าร่วมงาน
นอกจากนี้สถาบันยังได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาขึ้นมาเพื่อให้บริการให้คำปรึกษาและแนะนำการพัฒนาด้านเทคนิคและระบบงานมาตรฐานด้านอัญมณีและเครื่องประดับให้เหมาะสมกับกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับโดยเฉพาะ ตลอดจนบริหารโครงการ การให้บริการ และรับปรึกษากับลูกค้า/องค์กรภายนอก ให้เป็นไปตามขอบเขตและข้อตกลง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศให้แข่งขันได้ และมีขีดความสามารถเพียงพอต่อการขยายตลาดการค้าสู่สากล
ขอบเขตงานบริการให้คำปรึกษาด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ประกอบด้วย
สถาบันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินการในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยในการส่งเสริม และสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยให้สมกับการเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณี และเครื่องประดับของโลก
ศูนย์ให้คำปรึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 0-2634-4999 ต่อ 451-456, E-mail : gitstandard@git.or.th
Facebook : The Gem and Jewelry Institute of Thailand, www.gitstandard.com