‘เคทีซี’ เร่งวางรากฐานองค์กร รับการแข่งขัน ตั้งเป้าปี 2566 ติดปีกทำกำไร ‘นิวไฮ’ ต่อเนื่อง
04 Jan 2023

ปี 2566 เป็นอีกปีที่ ‘เคทีซี’ ปักหมุดเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งจากภายในเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่ ‘รากฐานใหม่ๆ’ (New Foundation) ตามยุคสมัยให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และเท่าทันความคาดหวังของลูกค้า ตอกย้ำความเป็น Trusted Organization และเตรียมการปูพรมทั้งระบบไอที บุคลากร และบูรณาการข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการทำกำไร ‘นิวไฮ’ อย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมาย 1 หมื่นล้านบาทภายใน 3 ปี นับจากปี 2567-2570 ชี้ ‘เป้าหมายไม่เปลี่ยน แต่แผนอาจเปลี่ยนตามสถานการณ์’

 

ระเฑียร ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 'เคทีซี'

 

‘3 มิติ’ สู่ ‘รากฐานใหม่’

จากเป้าหมายการทำกำไรนิวไฮให้ได้ 1 หมื่นล้านบาทภายในปี 2570  ที่ ระเฑียร ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. บัตรกรุงไทย หรือ ‘เคทีซี’ วางไว้นั้นทำให้ เคทีซี ต้องเตรียมการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในองค์กรของตนเอง เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ ‘รากฐานใหม่ๆ’ หรือ ‘New Foundation’ และ ทำให้ปี 2566 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเคทีซี ทั้งโครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ กระบวนการ เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบริการ โดยเฉพาะการพัฒนา Mindset ของคนในองค์กรให้มี 'ดีเอ็นเอ' เดียวกัน

 

นอกเหนือจาก 3 ค่านิยมหลัก ‘กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง - ทำให้ง่าย ไม่ซับซ้อน - ทำสิ่งที่มีความหมาย และเป็นประโยชน์’ ระเฑียร ยังกล่าวอีกว่า

 


“ในปี 2566 เคทีซีจะเริ่มปรับเปลี่ยน เพื่อเตรียมองค์กรให้เป็นโครงสร้างแบบแนวราบ (Flat Organization) และ มีหน่วยงานใหม่เพิ่มขึ้น

อีกทั้งจะบูรณาการไอทีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กร สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมุ่งสร้างวัฒนธรรม ‘องค์กรแห่งความไว้วางใจ’ (Trusted Organization) ภายในองค์กรให้แกร่งยิ่งขึ้น เพื่อส่งต่อความไว้วางใจนี้ไปสู่สมาชิก องค์กร ผู้ถือหุ้น และสังคม ” 


 

สำหรับการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ ‘รากฐานใหม่’ ซึ่งเป็นภารกิจที่ เคทีซี จะต้องเร่งดำเนินการภายในปี 2566 ให้เสร็จสิ้น ประกอบด้วย

  1. Enterprise Architecture การจัดการโครงสร้างให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งด้านธุรกิจทประกอบด้วยบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล, ด้านไอทีและระบบปฏิบัติการ
  2. Enterprise Skill Assets การส่งเสริมให้คนเคทีซีได้พัฒนาทักษะสำคัญๆ ในด้านต่างๆ ที่จะสามารถสร้าความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและเป็นประโยชน์กับองค์กร พร้อมทั้งรับบุคลากรใหม่เข้ามาเสริมในทีม เพื่อให้คนเหล่านี้พร้อมที่จะขยายธุรกิจให้องค์กรสามารถทำกำไรได้มากขึ้น
  3.  Enterprise Data Assets การบริหารจัดการข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผน การจัดเก็บ การเข้าถึงข้อมูลไปจนถึงการทำลายข้อมูล เน้นความปลอดภัย ถูกต้องและโปร่งใส เพื่อให้เคทีซีมีฐานข้อมูลคุณภาพ สนับสนุนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ 

 

นอกจากนี้ เคทีซียังจะมุ่งบริหารต้นทุนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ โดยจะระดมเงินกู้ยืมระยะยาวประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปี 2566 จำนวน 4,640 ล้านบาท รวมทั้งสนับสนุนการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อเคทีซี ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อสิ้นปี 2566 เคทีซีจะมีสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อเงินกู้ยืมระยะยาว (Original Term) 20:80 และต้นทุนการเงินอาจเพิ่มขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากปี 2565 อยู่ที่ 2.5 -3 %

 

ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจของเคทีซีนับจากนี้จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

1) กลุ่มธุรกิจหลัก (Existing) ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิต และธุรกิจสินเชื่อไม่มีหลักประกันที่มีพอร์ตสินเชื่อในระดับหมื่นล้านบาทขึ้นไป

2) กลุ่มธุรกิจใหม่ที่คาดว่า จะสร้างรายได้แบบก้าวกระโดด (New S-Curve) ได้แก่ สินเชื่อรถแลกเงิน เคทีซี พี่เบิ้ม และสินเชื่อกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง

3) กลุ่มโมเดลธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการบ่มเพาะ (Incubator) เช่น MAAI - Loyalty Platform ฯลฯ

 

ประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต 'เคทีซี'

 

ธุรกิจบัตรเครดิต เน้น Less is MORE’

สำหรับธุรกิจบัตรเครดิต ประณยา นิถานานนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – การตลาดบัตรเครดิต 'เคทีซี' กล่าวว่า

“ธุรกิจบัตรเครดิตยังเป็นธุรกิจหลักที่เคทีซีให้ความสำคัญมาตลอด โดยสถานการณ์ตอนนี้เกือบทุกหมวดใช้จ่ายมีการเติบโตสูงกว่าปี 2562 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดรุนแรงของโควิด-19 สำหรับแผนกลยุทธ์การตลาดบัตรเครดิตในปี 2566 จะเน้นแนวคิด Less is MORE หรือ การทำสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด’

ทั้งนี้ เคทีซี ได้ปรับกระบวนการทำงานในทีมการตลาดให้กระชับคล่องตัวมากขึ้น บน 5 แกนสำคัญดังนี้ 

1) การบริหารพอร์ตลูกค้าให้มีคุณภาพมากที่สุด ด้วยการสร้างสรรค์โปรแกรมการตลาด เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง และการนำระบบออโตเมชั่น (Automation) เข้ามาใช้ในกระบวนการของการบริหารความสัมพันธ์กับสมาชิกบัตรที่มีอยู่ในปัจจุบันประมาณ 2.5 ล้านบัตร ด้วยการใช้ช่องทางออนไลน์กับทุกช่วงอายุ (Life Cycle)

2) การเน้นขยายฐานลูกค้ากลุ่มรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 5 หมื่น - 2 แสนบาทขึ้นไป ด้วยสิทธิพิเศษด้านไลฟ์สไตล์ที่ตรงใจ  

3) จัดโปรแกรมกระตุ้นการใช้จ่ายที่ตอบโจทย์ฐานสมาชิกบัตรเคทีซีโดยเน้นที่หมวดร้านอาหารและร้านอาหารในโรงแรม (Dining & Hotel Dining) หมวดช้อปปิ้งออนไลน์และหมวดท่องเที่ยว พร้อมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ ที่มีเป้าหมายทางธุรกิจเดียวกัน เพื่อทำกิจกรรมการตลาดที่ตอบโจทย์ทุกหมวดใช้จ่ายสำคัญของสมาชิก และเพื่อสร้างการจดจำและผูกพันกับแบรนด์  

4) ร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นที่มีความแข็งแรง หรือพันธมิตรที่ต้องการทำตลาดในต่างจังหวัด เพื่อจัดแคมเปญการตลาดและกิจกรรมการขยายฐานสมาชิกบัตรในต่างจังหวัด

5) บริหารจัดการการสื่อสารการตลาด (Marketing Communications) ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยเน้นการทำ Content Marketing ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์เคทีซีให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ในปี 2566 เราตั้งเป้ามีสมาชิกสมัครบัตรใหม่ 1.8 แสนใบ จากฐานปัจจุบันที่มีสมาชิกบัตร 2.5 ล้านใบ และคาดว่า จะมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโต 10% จากปี 2565 หรือประมาณ 2.64 แสนล้านบาท”

 

พิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้บริหารสูงสุด สายงานสินเชื่อบุคคล 'เคทีซี'

ตลาดยังโต ‘เคทีซี พราว’

สำหรับธุรกิจสินเชื่อบัตรกดเงินสด ‘เคทีซี พราว’ (KTC PROUD) พิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ธุรกิจสินเชื่อบุคคล 'เคทีซี' กล่าวว่า

“ในปี 2565 ธุรกิจสินเชื่อบุคคลเติบโตขึ้น 7% ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้สินเชื่อได้ครบทุกฟังก์ชัน ทั้งการเบิกใช้วงเงิน ‘รูด - โอน - กด – ผ่อน’

สำหรับแผนกลยุทธ์ในปี 2566 เราจะเน้นพัฒนาไปในทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อตอบรับกับพฤติกรรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเริ่มที่ลูกค้าสามารถสมัครขอสินเชื่อออนไลน์ได้ด้วยตนเองแอปฯ KTC Mobile และทราบผลได้แบบเรียลไทม์ สามารถเบิกถอนเงินสดออนไลน์ผ่านทางแอปฯ KTC Mobile ใด้สะดวกขึ้น และสามารถเพิ่มบัญชีพร้อมเพย์ เพื่อรับโอนเงิน นอกเหนือจากที่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ 15 แห่ง

นอกจากนี้ ‘เคทีซี พราว’ ยังมุ่งบริหารพอร์ตลูกค้าที่มีกว่า 7.5 แสนราย ให้สามารถใช้วงเงินได้อย่างต่อเนื่อง และกล้ากลับมาใช้บริการวงเงินได้ใหม่ หากมีความต้องการใช้เงิน ด้วยการสร้างความผูกพัน ระหว่างเคทีซีกับกลุ่มสมาชิก ด้วยการต่อยอดกิจกรรมสัมมนา อาชีพเสริม เพิ่มรายได้ และการส่งเสริมวินัยในการชำระผ่าน ‘โครงการเคลียร์หนี้เกลี้ยง’ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า เพราะเป็นความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

จากการศึกษาลูกค้าผ่านการทำ Empathy เราจัดต่อเนื่อง และจะครบ 14 ครั้ง ในปี 2566 และ คาดว่าภายในสิ้นปี 2566 พอร์ตลูกหนี้สินเชื่อบุคคลจะเติบโต 7% และมีสมาชิกใหม่ ‘เคทีซี พราว’ 1.1 แสนราย”

 

 เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี ผู้บริหารสูงสุด สายงานสินเชื่อรถยนต์ 'เคทีซี'

 

‘เคทีซี พี่เบิ้ม’ ปรับเวลาอนุมัติเร็วกว่าเดิม

สำหรับแผนกลยุทธ์ของ ‘เคทีซี พี่เบิ้ม’ เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการธุรกิจสินเชื่อ ‘เคทีซี พี่เบิ้ม’ กล่าวว่า

“ในปี 2566 จะเน้นขยายพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการพัฒนากระบวนการทำงานด้วยการใช้เทคโนโฌลยี เพื่อช่วยพิจารณาสินเชื่อจสากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเป็นการอนุมัติภายใน 1 ชั่วโมง รับเงินทันที ด้วยวงเงินใหญ่สูงสุด 1 ล้านบาท โดยจะเปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่มีข้อจำกัดด้านเอกสารและรายได้ สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น

ผ่านธนาคารกรุงไทยกว่า 900 สาขาทั่วประเทศ จะเป็นช่องทางหลักในการรับสมัคร ซึ่งเราได้ปรับรูปแบบบริการให้เจ้าหน้าที่ธนาคารฯ สามารถทำรายการผ่านแท็บเล็ต เพื่อรับสมัครสินเชื่อให้กับลูกค้า และอนุมัติแบบครบวงจรภายใน 1 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที รวมทั้งจะเน้นการสื่อสาร เพื่อสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ‘เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน’ ผ่านช่องทางออฟไลน์ และออนไลน์ ไปยังแพลทฟอร์มหลักต่างๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด 

สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเคทีซี พี่เบิ้ม ตามที่เราวางบทบาทเป็นสินเชื่อทางเลือกคนไม่ท้อ เราจึงเปิดรับทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะคนทำมาหากินที่สู้ชีวิต และผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อก้อนใหญ่จากสถาบันการเงินอื่น โดยคาดว่าสิ้นปี 2566 จะมียอดอนุมัติสินเชื่อ ‘เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน’ เพิ่ม 9,100 ล้านบาท”

 

 

เป้าคงเดิม แผนปรับตามสถานการณ์

ระเฑียร กล่าวถึงภาพรวมของยุทธศาสตร์องค์กรว่า

“ เคทีซียังเดินหน้าแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนอย่างรับผิดชอบ เนื่องจากเคทีซีประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อ ซึ่งหลักการของการดำเนินธุรกิจคือ เริ่มต้นที่การปล่อยสินเชื่อ และทำอย่างไรให้ลูกค้าใช้สินเชื่อ หรือใช้บัตรเครดิตของเคทีซี แต่สุดท้ายแล้วก็สำคัญมาก นั่นคือ เราต้องเก็บเงินได้ ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะเก็บเงินก้อนนั้นๆ ได้หมด สำหรับงานหลักในปี 2566 จึงเป็นการสร้างโครงสร้างขององค์กรด้วย Enterprise Architecture ซึ่งทำให้เคทีซีไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ก็เป็นการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะ (Skilled Talents) เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่เข้ามาเสริมทีมและสร้างความแข็งแกร่งจากภายในองค์กร ขณะเดียวกัน ก็นำข้อมูล (Data) มาทำให้เกิดประโยชน์เพื่อที่จะสามารถสร้างกำไรได้จริง เพื่อที่เคทีซีจะดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของการสร้างกำไร 1 หมื่นล้านบาทในปี 2570 และเป็นการสร้าง นิวไฮ อีกครั้งขององค์กร "

 

 

"ดังนั้น เคทีซี จึงต้องเร่งพัฒนา และยกระดับองค์กรให้แข็งแกร่งภายในปี 2566 โดยที่เป้าหมายของการทำกำไร 1 หมื่นล้านบาทในปี 2570 ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่แผนการดำเนินงาน หรือกลยุทธ์จะต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์"

 

[อ่าน 2,228]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Garmin ทำรายได้เติบโตสูงสุดในไทยกว่า 25% พร้อมรีเฟรชแบรนด์ใหม่ผ่านแคมเปญ “Garmin มีดีมากกว่าที่คิด หาข้อที่ใช่...แล้วไปต่อ”
เลขาธิการ คปภ. กดปุ่มเทคออฟสู่เป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย Big Data ประกันภัย
‘เลย์’ แจกรอยยิ้มทั่ว กทม. คลายร้อนให้ชื่นใจ เพื่อขอบคุณทุกความทุ่มเทของพนักงานเก็บขยะ ‘ยิ้มเลย์ในเวย์คุณ’
ยูโอบี ประเทศไทย แนะนำพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่งสำหรับลูกค้าที่มีความมั่งคั่ง ในงานสัมมนา Mid-Year Outlook
วัตสันเดินหน้า รุกขยายสาขา เปิดตัว Greener Store แห่งแรกของไทย
เปิดตัวรถต้นแบบแบ่งปันอาหาร AIA Goodie Foodie Truck มุ่งลดปัญหาขยะล้นโลก
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved