KTC-TDRI แชร์มุมมองเศรษฐกิจครึ่งหลังปี 66 สินเชื่อโตตามกำลังซื้อฟื้นตัว
12 Jun 2023

เคทีซีจัดงานเสวนา KTC FIT Talks #9 จับเข่าคุยเรื่องเศรษฐกิจและธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคครึ่งหลังปี 2566 มั่นใจทิศทางและเป้าหมายการเติบโตธุรกิจส่งสัญญาณบวก 

 

มองเศรษฐกิจในมุม TDRI

ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการ โครงการ TDRI Economic Intelligence Service (EIS) กล่าวว่า สำหรับเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังของปี 2566 จะดีกว่าช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากมองว่ามีการขยายตัวจากการส่งออกและการท่องเที่ยว รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลดีต่อไทย รวมถึงกำลังซื้อของครึ่งปีหลังจะดีขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นในภาพรวมของธุรกิจท่องเที่ยว

แนวโน้มเศรษฐกิจโลก

ผู้อำนวยการ TDRI Economic Intelligence Service มองว่าเศรษฐกิจโลกมีความถดถอย แต่ยังมีการเติบโตที่ช้าลงจากเดิมคือ เติบโต 2.1% หากดูประมาณการณ์จากธนาคารโลกพบว่า การขยายตัวที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศมีการเติบโตที่ช้าลงเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าจะมีผลกระทบกับไทยในเรื่องการส่งออก แต่จีนคือประเทศใหญ่ที่เป็นคู่ค้าไทยซึ่งมีการเติบโตถึง 5.6% ทำให้เห็นว่าจีนมีสัญญาณเติบโตที่ต่อเนื่อง ซึ่งจากที่จีนเปิดประเทศส่งผลชัดเจนกับไทยในเรื่องการท่องเที่ยวและส่งออก ดังนั้นแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีการส่งผลกระทบทางทางบวกและทางลบ
 
ส่วนเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ผ่านจุดสูงสุดมาแล้วแต่ยังไม่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อในภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้มีการขึ้นดอกเบี้ยจากธนาคารกลางในสหรัฐอเมริกาด้วยหวังให้ลดภาวะเงินเฟ้อ ลดการใช้จ่าย ทำให้ราคาสินค้าลดลงบ้างแต่ส่งผลชัดเจนกับธนาคารขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา 
ทั้งนี้วิกฤตธนาคารปิดตัวในสหรัฐอเมริกายังส่งผลกระทบให้เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์มีแนวโน้มชะลอตัวลดลง หลายหน่วยงานคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงปลายปี 2566 โดย FED มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารโลกคาดว่าปีนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่ 1.1% เปรียบเทียบกับปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 2.1% 
 
อีกทั้งจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ทำให้มีเงินไหลเข้าสหรัฐอเมริกามากขึ้น ทำให้แนวโน้มเงินบาทไทยอาจแข็งค่าขึ้นเช่นกันในปีนี้ เพื่อลดช่องว่างลงระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งปีนี้เฉลี่ยแล้วทั้งปีค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 33.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งหากครึ่งปีหลังมีการส่งออกและการท่องเที่ยวดีขึ้น ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมากกว่านี้

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย

ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ผู้อำนวยการ TDRI Economic Intelligence Service มองว่า GDP ของไทยจะเติบโตที่ 3.5% ในปีนี้ ซึ่งการมีรายได้เพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลังทำให้กำลังซื้อดีขึ้น และส่งออกของไทยมีมากกว่าการนำเข้าสินค้า เนื่องจากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีการนำเข้าสินค้าเพื่อการลงทุนเข้ามาจำนวนมาก เช่น วัตถุดิบ เครื่องจักร เป็นต้น แต่สำหรับปีนี้การนำเข้าน้อยลงจึงส่งผลให้การส่งออกเป็นบวก 
 
ทั้งนี้การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวเหนือระดับก่อนโควิด-19 ซึ่งในอนาคตมองว่าดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคในการใช้จ่ายมีมากขึ้นในช่วง 6 เดือนหลังจากนี้ รวมถึงการว่างงานมีแนวโน้มลดลงจากการจ้างงานที่ฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งในกลุ่มอาชีพอิสระ เจ้าของธุรกิจมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยแนวโน้มการจ้างงานในอีก 3 เดือนข้างหน้า นายจ้างมีความต้องการกำลังคนมากขึ้น 
 
ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 2.5% ในปีนี้ และมองว่าปีหน้าจะอยู่ที่ 2% เนื่องจากในปีนี้ปัจจัยเรื่องค่าแรงขั้นต่ำที่มีการปรับขึ้นในช่วงตุลาคม 2565 ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อในปีที่ผ่านมาค่อนข้างสูง ซึ่งเริ่มเห็นชัดว่าผู้ผลิตมีการส่งผ่านต้นทุนมาที่ผู้บริโภคมากขึ้น และอีกปัจจัยคือค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่มีราคาเพิ่มขึ้น
 
อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับเพิ่มขึ้น 0.25% และทยอยปรับขึ้นต่อเนื่องเป็น 2.25% - 2.5% ภายในปีนี้ หากพิจารณาดอกเบี้ยนโยบายภายในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยมีการปรับอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด ขณะที่หนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูงซึ่งจะเป็นข้อจำกัดในการเพิ่มการบริโภคในอนาคต ทั้งนี้ 1 ใน 3 ของหนี้ครัวเรือนไทย เป็นการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ส่วนเงินกู้ที่ผิดนัดชำระในส่วนเกิน 30 วัน มีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ช่วงหลังโควิด-19 ที่ผ่านมา
 
ส่วนการท่องเที่ยวจะเริ่มมีการฟื้นตัวมากขึ้น คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยว 29 ล้านคน และ 35.5 ล้านคนในปี 2567 แต่ข้อจำกัดหลักของไทยคือคนทำงานในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวไม่เพียงพอรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยว
 
ขณะที่การลงทุนมีการฟื้นตัวมากขึ้นตั้งแต่ในช่วงที่มีโควิด-19 ซึ่งมีการลงทุนมากขึ้นตั้งแต่ก่อนปี 2564 โดยการนำเข้ากลุ่มสินค้าเพื่อการลงทุนในการขยายกำลังการผลิต รวมถึงมีการย้ายฐานการลงทุนจากจีนมาที่ไทยมากขึ้น เช่น กลุ่มการผลิตรถยนต์จากจีน เป็นต้น 
 
แต่ทั้งนี้นักลงทุนยังคงมีความไม่มั่นใจในการเมืองภายในประเทศของไทย เนื่องจากการตั้งรัฐบาลช้าจะทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจการลงทุนในไทย และในเรื่องงบประมาณปี 2567 ที่ยังไม่สามารถตั้งงบประมาณได้ เนื่องจากยังตั้งรัฐบาลไม่ได้ ซึ่งในการใช้จ่ายภาครัฐไตรมาส 4 ของปีนี้ อาจจะไม่สามารถใช้งบประมาณได้มากนัก 
 
ส่วนสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นและมั่นใจในการใช้จ่ายมากขึ้น

KTC ปรับกลยุทธ์สอดรับเศรษฐกิจฟื้นตัว
 

ชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงานบริหารการเงิน เคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาธนาคารมีการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้ว่า การประเมินเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังมีแนวโน้มขยายตัวของทีดีอาร์ไอ เป็นไปในแนวทางเดียวกับข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผลจากภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ และเชื่อว่าจะส่งผลบวกให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลขยายตัวมากขึ้น 

ทั้งนี้ในช่วงไตรมาส 1/2566 ที่ผ่านมา เคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรม 14.8% อัตราการเติบโตของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 22.5% สูงกว่าอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตที่ 17.7% ส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร 12.2% และมีสัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 3.8%
อีกทั้งเคทีซีได้วางแผนกลยุทธ์การรุกตลาดเพื่อเตรียมรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ โดยได้ออกบัตรเครดิตเพื่อการท่องเที่ยว 2 ใบคือ บัตรเครดิต อโกด้า มาสเตอร์การ์ด และบัตรเครดิตเจซีบี อัลติเมท และมีสิทธิพิเศษหลากหลาย 
 
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าด้วยสถานการณ์ของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นจะส่งผลให้ทุกพอร์ตสินเชื่อของเคทีซีขยายตัว และมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งธุรกิจร้านค้ารับชำระเติบโต ทั้งจากภาคอุปสงค์ในไทยที่ขยายตัว จากการใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่\เดินทางเข้ามาในไทย แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น ต้นทุนการเงินของบริษัทฯ ยังคงสามารถรองรับการเติบโตตามเป้าหมายได้ 
 
นอกจากนี้ยังคงตั้งเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจในปี 2566 จะมีกำไรสูงกว่า 7,079 ล้านบาท พอร์ตสินเชื่อรวมเติบโต 15% บัตรเครดิตเติบโต 10% พอร์ตสินเชื่อบัตรกดเงินสด เคทีซี พราว เติบโต 7% ยอดอนุมัติสินเชื่อ เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เพิ่ม 9,000 ล้านบาท และ NPL น้อยกว่า 1.8% 
 
[อ่าน 603]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'RS' ยกทัพศิลปิน-ดารา ลุยสนามคอมเมิร์ซ ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ “ใบเตย อาร์สยาม”
เอไอเอส X กสทช. ดูแลผู้พิการรอบด้าน ตอกย้ำดิจิทัลเป็นหัวใจการสร้างความเท่าเทียมแก่ทุกกลุ่ม
เอสซีจี ขนกองทัพนวัตกรรมจาก 10 แบรนด์ชั้นนำ ร่วมงานสถาปนิก 67
“โยเกิร์ต - ณัฐฐชาช์ บุญประชม” อวดแฟชั่นจากแบรนด์ MISTY MYNX คอลเลกชั่นล่าสุด
เอไอเอ ประเทศไทย มอบรางวัลเกียรติยศแก่สุดยอดตัวแทน “ที่สุดแห่งปี” AIA Annual Agency Awards Presentation 2023
Coach เปิดตัว The Coach Tabby Shop ลาน PARC PARAGON
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved