ChatGPT ปัญญาประดิษฐ์พลิกโลก แล้วอะไรจะเกิดหลังจากนี้
24 Jul 2023

ปัจจุบันเทคโนโลยี AI ได้เข้ามามีบทบาทมากมายทั้งในโลกธุรกิจ การทำงาน ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Generative AI (Gen-AI) ซึ่งเป็น AI ในยุคใหม่ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้ มีความสามารถในการ “สร้างใหม่” จากชุดข้อมูลที่มีอยู่ ด้วยอัลกอริทึมแบบ Generative Model โดยผลสำรวจการ์ทเนอร์ เผยผู้บริหารกว่า 70% บอกว่าองค์กรของตนอยู่ในช่วงของการสำรวจและศึกษาเทคโนโลยี Generative AI และมีการประเมินการจัดสรรงงบประมาณบางส่วนให้กับโซลูชัน Generative AI พร้อมตั้งคำถามว่าควรจัดสรรงบประมาณเท่าใดถึงจะคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยี Generative AI ที่กำลังร้อนแรงและโด่งดังที่สุดขณะนี้คงหนีไม่พ้น ChatGPT

 

หลังจาก ChatGPT เปิดตัวเมื่อปลายปี 2022 ทำให้ทั่วโลกได้เข้าใจถึงความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ทันที และเกิดแรงกระเพื่อมมากมายทั้งในวงการเทคโนโลยีและสังคมถึงการปรับตัวอยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI โดย ChatGPT ที่ถูกพัฒนาโดย OpenAI องค์กรวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ก่อนที่จะเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้ได้เมื่อ 30 พ.ย. 2022 ที่ผ่านมาจนประสบความสำเร็จ ด้วยความสามารถในการตอบคำถามต่างๆ ได้น่าเชื่อถือในเวลาเพียงไม่กี่วินาที สรุปข้อมูลยาวๆ มาให้อ่านได้ภายในไม่กี่ย่อหน้า หรือแม้กระทั่งเป็นผู้ช่วยวางแผนในเชิงธุรกิจ ตลอดจนถึงการช่วยทำงานให้กับโปรแกรมเมอร์ที่ให้ ChatGPT ช่วยเขียนโค้ดโปรแกรมบางส่วน และยังสามารถถาม-ตอบเป็นภาษาไทยได้อีกด้วย

 

ล่าสุด ทางเอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันแบบครบวงจร ได้ให้ความคิดเห็นต่อข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อย่าง ChatGPT นั่นคือเรื่องของความแม่นยำของข้อมูล ที่ไม่ว่า ChatGPT จะสามารถเขียนข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงใด แต่ถ้าเจาะลึกลงไปในความถูกต้องและการอ้างอิงข้อมูลจากต้นทางแล้ว ยังพบว่าข้อมูลที่ระบบ ChatGPT นำมาใช้นั้นยังมีความไม่แม่นยำอยู่บ้าง

 

กิตติภูมิ เลิศนิติพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่าย CIO Advisory บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้แสดงความคิดเห็นต่อการใช้ ChatGPT ไว้อย่างน่าสนใจว่า

“ถึงแม้ว่า ChatGPT จะเป็นเสมือนเพื่อนผู้รอบรู้ สามารถตอบคำถามที่สงสัยได้เกือบทุกข้อ แต่ก็ยังคงมีความน่ากังวลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของเนื้อหาและคำตอบที่ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI กลุ่มนี้แสดงผลออกมา ว่าแท้จริงแล้วเป็นการจับแพะชนแกะของข้อมูล หรือเป็นการนำเอาผลงานหรือข้อมูลต่างๆ ที่มีเจ้าของผสมรวมออกมา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ข้อมูลที่นำมาใช้ก็มีความเสี่ยงสูงที่อาจส่งผลต่อการถูกฟ้องร้องกันในภายหลังได้ ดังนั้น ในความคิดเห็น ChatGPT จึงเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเปิดโอกาสความเป็นไปได้ใหม่ๆในการทำงาน และทำให้งานสำเร็จได้เร็วขึ้น มากกว่าที่จะนำเอาสิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI กลุ่มนี้คิดมาเป็นชิ้นงานสำเร็จรูปและนำไปใช้เลยโดยไม่ได้มีการตรวจแก้หรือสืบค้นถึงแหล่งที่มาของข้อมูล”

 

 

ทั้งนี้ คุณกิตติภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า “อีกหนึ่งประเด็นที่น่าคิดคือเรื่องของความปลอดภัยทางไซเบอร์หรือ Cyber Security เพราะปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ประเภทนี้จำเป็นจะต้องนำเอาข้อมูลที่เราป้อนถามกลับไปประมวลผลคำตอบที่เซิร์ฟเวอร์หลัก ซึ่งหมายความว่าหากเรานำข้อมูลภายในองค์กรไปถาม อาทิ การนำเอาตัวเลขทางการเงิน หรือตัวเลขในการทำงานต่าง ๆ ของบริษัทไปให้ ChatGPT, Google Bard หรือ Bing Chat ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ประเภทเดียวกันมาช่วยประมวลผลนั้น ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่ข้อมูลภายในองค์กรจะหลุดออกไปด้วย ยกตัวอย่างกรณีของผู้ผลิตสมาร์ตโฟนยักษ์ใหญ่ระดับโลกรายหนึ่งได้ออกนโยบายสั่งแบนและห้ามพนักงานใช้ ChatGPT และปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อื่นๆ เพื่อป้องกันข้อมูลองค์กรรั่วไหล สาเหตุอันเนื่องมาจากมีพนักงานภายในบริษัทอย่างน้อย 3 รายที่ใช้ ChatGPT เพื่อสรุปการประชุม และช่วยปรับปรุงโค้ดโปรแกรมและแก้ไขปัญหาของโค้ด ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่พนักงานป้อนเข้าระบบก็คือความลับของบริษัทนั่นเอง จากกรณีศึกษาดังกล่าวส่งผลให้ผู้พัฒนา OpenAI ได้ตระหนักถึงปัญหาข้อนี้ ในอนาคตจึงเตรียมปล่อยแผนการให้บริการ ChatGPT for Business ที่ยืนยันว่าจะไม่นำข้อมูลของผู้ใช้มาเทรนปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เพิ่มเติม และสามารถควบคุมการใช้งานในองค์กรได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพอีกด้วย”

จากมุมมองของ เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) มีความคิดเห็นว่า หากมองการเปลี่ยนผ่านของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชันที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบันของระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และระบบอัตโนมัติต่าง ๆ รวมไปถึงกระแสข่าวที่ออกมาเป็นระยะต่อเรื่องที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะเข้ามามาแทนที่การทำงานของมนุษย์นั้น ดูเหมือนว่าจะมีความเป็นไปได้กับงานที่จริงๆ แล้วอาจไม่เหมาะกับมนุษย์มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เช่น งานที่ต้องทำซ้ำๆ หรืองานที่ยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มีความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำมากกว่ามนุษย์ตั้งแต่แรก

 

สุดท้ายแล้วเราคงหยุดความก้าวหน้าของโลกไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นมนุษย์ในยุคต่อไปต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนจากการเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานไปสู่การเรียนใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อใช้งานสนับสนุนในชีวิตประจำวันแทน และงานที่ยังต้องการมนุษย์อยู่ก็จะเป็นงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับงานที่ต้องใช้ Soft Skill ต่างๆ ส่วนใครที่มีทักษะการทำงานที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ทำงานแทนได้ ก็จะนำไปสู่การ Re-Skill เพื่อเรียนรู้ใหม่เพื่อให้ทำงานได้ต่อไป

 

[อ่าน 331]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอไอเอส X กสทช. ดูแลผู้พิการรอบด้าน ตอกย้ำดิจิทัลเป็นหัวใจการสร้างความเท่าเทียมแก่ทุกกลุ่ม
เอสซีจี ขนกองทัพนวัตกรรมจาก 10 แบรนด์ชั้นนำ ร่วมงานสถาปนิก 67
“โยเกิร์ต - ณัฐฐชาช์ บุญประชม” อวดแฟชั่นจากแบรนด์ MISTY MYNX คอลเลกชั่นล่าสุด
เอไอเอ ประเทศไทย มอบรางวัลเกียรติยศแก่สุดยอดตัวแทน “ที่สุดแห่งปี” AIA Annual Agency Awards Presentation 2023
Coach เปิดตัว The Coach Tabby Shop ลาน PARC PARAGON
พานาโซนิค บิวตี้ ส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ “Panasonic nanocare EH-NA0J” เจาะตลาดไฮเอ็นด์
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved