“กรุงไทย” แนะภาคธุรกิจเร่งปรับใช้โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างโอกาสเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ชู “การเงินยั่งยืน” ตัวช่วยธุรกิจปรับตัว
23 Apr 2024

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS แนะภาคธุรกิจเร่งปรับใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รับมือความท้าทายจากกฎเกณฑ์ประเทศคู่ค้า สร้างโอกาสใหม่ๆในการเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน และตอบโจทย์การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ชี้ในอีก 6 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจหมุนเวียนจะเพิ่มรายได้ทั่วโลกสูงถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ชู “การเงินเพื่อความยั่งยืนและการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน” เป็นฟันเฟืองสำคัญช่วยธุรกิจปรับตัว

 

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) เป็นเมกะเทรนด์โลกที่กำลังมาแรงในยุคที่ทุกฝ่ายต่างมองหาการเติบโตที่ยั่งยืน และสร้างภูมิคุ้มกันจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ และต้นทุนการผลิตที่อยู่ในระดับสูง จากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลกแบ่งขั้ว

สะท้อนจากผลสำรวจผู้ประกอบการรายใหญ่ทั่วโลกต่อการยึดมั่นในแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ผู้ประกอบการไทย จึงควรเร่งปรับตัวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสร้างโอกาส และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมเมกะเทรนด์ดังกล่าว โดยเฉพาะกฎระเบียบทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น เช่น

ยุโรปที่เริ่มบังคับใช้กฎเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนฉบับใหม่ (Corporate Sustainability Reporting Directive หรือ CSRD) ในปีงบการเงิน 2567  ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รวมปัจจัยเศรษฐกิจหมุนเวียน และมีผลกระทบกับบริษัทมากถึง 50,000 แห่ง ขณะที่ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ยุโรปอาจบังคับใช้มาตรการ Digital Product Passport ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคทราบ ซึ่งครอบคลุมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วย เป็นปัจจัยท้าทายต่อผู้ส่งออกของไทย 


“เศรษฐกิจหมุนเวียนจะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการ ทั้งโอกาสในการลดต้นทุน โอกาสในการเพิ่มรายได้ และโอกาสในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยงานวิจัยในต่างประเทศ ชี้ว่าเศรษฐกิจหมุนเวียนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนจากการลดวัสดุในการผลิต 28% เพิ่มรายได้ทั่วโลกมากถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2573 และช่วยลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกได้ถึง 39% ซึ่งประเทศไทยยังมีศักยภาพที่จะพัฒนาด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อีกมาก

สะท้อนจากอัตราการนำของเหลือทิ้งไปใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 33% โดยธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ สื่อและสิ่งพิมพ์  ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ มีอัตราต่ำกว่า 10% เทียบกับยุโรปและเกาหลีใต้ที่สูงถึง 46% และ 60% ตามลำดับ”

 

นายณัฐพร ศรีทอง นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย  Krungthai COMPASS  กล่าวว่า การเงินเพื่อความยั่งยืนและการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Sustainable and Transition Finance) เป็นฟันเฟืองสำคัญช่วยให้ภาคธุรกิจปรับตัวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและธุรกิจสีเขียว 

โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการออกตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนราว 9.84 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ในไทยอยู่ที่เกือบ 1.8 แสนล้านบาท และคาดว่า ในระยะข้างหน้าจะขยายตัวมากขึ้น จากเทรนด์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emission) เช่น ญี่ปุ่นวางแผนจะออก Transition bond มูลค่า 20 ล้านล้านเยน หรือ 1.35 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอีก 10 ปีข้างหน้า ขณะที่ในไทยมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากการเปิดตัวกองทุน “Thai ESG” รวมถึงภาคธนาคารไทยเตรียมนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางเงินที่สนับสนุนภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Transition Finance Product) ในช่วงต้นไตรมาส 3 ของปี 2567 นี้ 

 

“ผู้ประกอบการไทยควรเร่งปรับตัวรับความท้าทายจากกฎเกณฑ์ของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล เช่น ข้อมูลการใช้ปัจจัยการผลิตรีไซเคิล และข้อมูลการบริหารจัดการของเหลือทิ้ง ตลอดจนปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ รวมถึงพิจารณาระดมทุนผ่าน Sustainable และ Transition Finance ขณะที่ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุน เช่น มาตรการจูงใจ สนับสนุนองค์ความรู้แก่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่ม SME และมาตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้น”

[อ่าน 259]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานไตรมาส 1/2567 มีกำไรภายหลังการปรับปรุง 802 ล้านบาท พร้อม EBITDA เพิ่มขึ้น 5 ไตรมาสติดต่อกัน
อาริกาโตะ ชวน “คาลพิสแลคโตะ” มารังสรรค์เครื่องดื่มใหม่แสนอร่อย กับ “Arigato Drinking Yogurt”
KBank Private Banking เผยกลยุทธ์ปี 67 ชู ‘สินทรัพย์นอกตลาด’ ปลดล็อกทางเลือกลงทุน
เรดบูล เอเนอร์จี้โซดา จัด Esports ทัวร์นาเมนต์ RoV พร้อมหนุนจัดเทศกาลกีฬากรุงเทพ และ Bangkok Esports 2024

TOA โชว์วิชั่นผู้นำนวัตกรรมรักษ์โลก ชูแนวคิดความยั่งยืน “Future Tree” ในงานสถาปนิก’67
Taiwan Excellence โชว์เคสนวัตกรรมสีเขียว ในมหกรรมสถาปนิก' 67
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved