AIS The StartUp ธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ
10 Jun 2024

 

“พี่ๆ ผมต้องทำ ESG ไหม ?”

 

คำถามที่ ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้าน AIS The StartUp พบเจอประจำจากผู้ประกอบการ Startup ยิ่งในช่วงเวลานี้ที่กระแสมาแรงทั้งในโลกและประเทศไทย ไม่ว่าหันไปทางไหนก็จะเห็นบริษัทใหญ่ๆ ต่างชูนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลักการ ESG (Environmental : สิ่งแวดล้อม, Social : สังคม และ Governance : ธรรมาภิบาล) กันทั่วบ้านทั่วเมือง

จากคำถามดังกล่าว “AIS The StartUp” ที่ซึ่งมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจ StartUp มาตั้งแต่ปี 2554 จึงเดินสายหาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในแวดวง รวมถึงนักลงทุน และ Stakeholder หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จนตกผลึกได้มาซึ่งคำตอบของคำถามว่า “ต้องทำ” ซึ่งต้องทำให้ “ถูกต้อง” และ “ถูกเวลา”

  • ทำให้ถูกต้อง หมายถึง ทำให้ถูกกระบวนการ เข้าใจเรื่อง ESG อย่างแท้จริง
  • ทำให้ถูกเวลา หมายถึง ถ้ายังเป็น Idea Stage หรือมีโปรดักส์ออกมาแล้ว แต่มีแค่ผู้ใช้งาน (User) ยังไม่มีลูกค้า (Customer) ยังไม่ต้องทำ ESG แต่ต้องเตรียมเรียนรู้ไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวันที่บริษัทโตขึ้น

 

มากกว่า “ต้องทำ” คือ “เหตุผลที่ต้องทำ”

ดร.ศรีหทัย พราหมณี เปิดฉากเล่าถึงความเข้าใจผิดต่อ ESG ที่ส่วนมากมองกันเฉพาะมิติด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การแยกขยะ, Net Zero หรือแม้แต่ Carbon Credit หากแต่แท้ที่จริงแล้ว ESG เป็นเรื่องของการบริหารความเสี่ยงในทั้ง 3 มิติ โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อนักลงทุน หรือ Stakeholder ต่อผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้น และยังไม่มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบเหมือนบริษัทขนาดใหญ่

ความเสี่ยงที่ว่านั้นคือ ถ้ามีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเจ้าของบริษัท (Founder) ใครคือผู้สืบทอดบริษัท (Successor) และบริษัทมีแผนการดำเนินการต่อไปอย่างไร (Succession Plan) นั่นคือตัว “G” อักษรลำดับสุดท้าย ที่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ต้องเริ่มก่อนทำเป็นลำดับแรก หากคิดจะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลัก ESG

“Governance” หรือธรรมาภิบาล มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลุ่มผู้ประกอบการ StartUp เพราะนี่เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่นักลงทุนใช้เพื่อประเมินมูลค่าบริษัทและตรวจสอบว่าธุรกิจมีการจัดการ การบริหาร การกำกับดูแลเพื่อประเมินความเสี่ยง และสามารถจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียได้มากน้อยขนาดไหน

 

 

ESG = ทำสิ่งที่ทำอยู่ “ให้เป็นระบบ”

ดร.ศรีหทัย พราหมณี ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ถึง ESG ที่ตามปกติทุกบริษัทก็มีการทำอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่รู้ว่านี่คือ ESG เช่น ผู้ประกอบการที่มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ (Governance : ธรรมาภิบาล) คิดค้นระบบบัญชีขั้นต้นขึ้นมาให้ร้านค้าหรือผู้ประกอบการรายย่อยใช้ฟรี (Social : สังคม) และด้วยระบบบัญชีนี้เอง ส่งผลทำให้การใช้กระดาษลดน้อยลง (Environmental : สิ่งแวดล้อม)

หรือกรณีที่เจ้าของบริษัทต้องการซื้อกาแฟให้พนักงานทุกคน วันละ 1 แก้ว อาจจะคิดว่าไม่เป็นอะไร แค่กาแฟแก้วเดียว ดึงเงินจากส่วนนั้นส่วนนี้มา ทั้งที่จริงแล้วต้องลงบัญชีในส่วนของงบเอนเตอร์เทน หรือค่ารับรองให้เป็นระบบ ซึ่งแสดงถึงความจริงใจ ชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพราะนักลงทุน หรือ Stakeholder ก็ต้องการรู้ว่าบริษัทที่เขาลงทุน ใช้เงินไปกับอะไรบ้าง

จากตัวอย่างนี้ยิ่งตอกย้ำให้เห็นชัดว่า หากต้องการทำ ESG ต้องเริ่มที่ตัว “G” นั่นคือทำให้บริษัทมีความเป็นธรรมาภิบาลที่แข็งแกร่ง ซึ่งจากความมีเสถียรภาพของบริษัทนี้เอง จะส่งผลไปถึงสินค้า ผลิตภัณฑ์ และสังคม นั่นคือตัว “S” ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า หรือแม้แต่คู่แข่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสุดท้ายด้วยทั้งกระบวนการ ทั้งบริษัท และสินค้าหรือบริการ ก็จะส่งผลไปถึงสิ่งแวดล้อม หรือตัว “E” ในลำดับต่อไป

 

 

ESG to Capital for Tech Entrepreneurs
จากแนวความคิด สู่การเห็นภาพความเป็นจริง

เมื่อรู้ความหมายและเข้าใจตรงกันในเรื่องของ ESG สเต็ปถัดมาที่ผู้จัดการด้าน AIS The StartUp ต้องคิดคือ ผู้ประกอบการ Startup จะได้รับประโยชน์อย่างไรกับเรื่องนี้ เป็นที่มาโครงการ “ESG to Capital for Tech Entrepreneurs” โดยร่วมกับมือฉมังในวงการ ทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NA) และสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup Association) ในการ “สร้าง เสริม และต่อยอด” หลักการ ESG ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่ง และสามารถประยุกต์ใช้หลักการด้าน ESG เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการลงทุนและการประเมินมูลค่าบริษัทของตัวเองได้

โดยเป็นการวางรากฐานหลักธรรมาภิบาลในมิติต่างๆ เช่น ธรรมาภิบาลองค์กร (Corporate Governance), ธรรมาภิบาลการสร้างพันธมิตร (Partnership Governance), ธรรมาภิบาลทางการเงิน (Financial Governance) หรือการกำกับดูแลผู้ถือหุ้น (Shareholder Governance) อันเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะได้รับความเชื่อมั่น และพร้อมทางการแข่งขันในตลาดทุน

 

 

โครงการ “ESG to Capital for Tech Entrepreneurs” เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของ AIS The StartUp ที่มุ่งอัพสกิลให้กับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ มีความเข้าใจในการวิเคราะห์ความเสี่ยงการลงทุนและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบการดำเนินงาน ESC ด้วยเนื้อหาที่มีความเข้มข้นจากพาร์ทเนอร์และวิทยากรจากองค์กรชั้นนำระดับประเทศที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนตลอด 3 เดือนเต็ม

โดยเฉพาะตลอดระยะเวลาการจัดงานสัมมนา 3 วันเต็ม ได้จัดเต็มความรู้ในมุมมองภาพใหญ่ในเชิงนโยบายของภาครัฐด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับทิศทางการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนสตาร์ทอัพ และการเติบโตขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ หรือแม้แต่เชื่อมต่อกับองค์กรชั้นนำเพื่อมาแบ่งปัน และร่วมสะท้อนปัญหาและความสำคัญในการนำ ESG เข้าไปเป็นหนึ่งในกระบวนการทำงานของธุรกิจ อาทิ

  • อนันตชัย ยูรประถม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (SBDi) ที่มาบอกเหตุผลว่าทำไม ESG ถึงสำคัญกับ Tech Entrepreneurs และให้ข้อมูลในเรื่องการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงตามหลัก ESG รวมถึงการปรับตัวของธุรกิจ
  • ดร.เอื้อมพร ปัญญาใส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน) บริษัทมหาชนผู้ซึ่งมองว่าตัวเองคือ SMEs ไซส์ L แม้เข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ทุกเรื่องยังขับเคลื่อนด้วย CEO ที่มาแชร์ในมุมมอง ESG Vision & Execution จากวันที่แปซิฟิกไพพ์ ไม่อยู่ในเรดาร์ของ ESG สู่พื้นที่ยั่งยืนในปัจจุบัน
  • วินิตา กุลตังวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธรรมาภิบาลและความยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มาเปิดเผยวิธีการทำรีพอร์ตเพื่อเตรียมนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ว่ามีแกนอะไรบ้าง ในหัวข้อ Applying IMM to One Report
  • มยุรี อรุณวรานนท์ CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP กับหัวข้อ Global Report Initiative (GRI) ที่มาร่วมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและฉายภาพให้เห็นถึงหน้าตา GRI Report ที่จะต้องทำในการก้าวไปในตลาดต่างประเทศ
  • ฐิติรัตน์ สิทธัครเดช Principal ADB Ventures กับหัวเรื่อง Business and Capital Opportunity สำหรับบทบาทการสนับสนุนการไปต่างประเทศของ Startup โดยมี ศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มูฟมี ฮีโร่ จำกัด มาเป็น worst-case
  • Minette Navarrete President Kickstart Ventures, Inc. บริษัทรายใหญ่ที่ลงทุนทั้งในด้านดิจิทัลและนัน-ดิจิทัลทั่วโลก ซึ่งบินตรงมาฟิลิปปินส์มาแบ่งปันในหัวข้อ Regional VC Investment Thesis มุมมองความเสี่ยงของนักลงทุนที่ใช้หลัก ESG มาคำนวน

 

 

ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้าน AIS The StartUp สรุปปิดท้ายว่า เป้าหมายของ AIS ไม่ใช่ว่าจบโครงการแล้วจะทำได้เลย แต่อย่างน้อยที่สุดให้สามารถตั้งทรงได้ ซึ่งการจะทำให้ถูก ต้องเกิดจากการตั้งทรงและตั้งทิศให้ถูก เหมือนจะไปเชียงใหม่ ต้องตั้งเข็มทิศไปเชียงใหม่ ฉะนั้น หลังจบโครงการนี้ AIS ไม่ได้คาดหวังว่า ผู้ประกอบการจะไปถึงเชียงใหม่เลย แต่อยากน้อยให้รู้ว่ากำลังหันหัวรถไปเชียงใหม่

ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะสามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการมีรากฐานในการดำเนินธุรกิจที่แข็งแรง โดยเฉพาะการวางกลยุทธ์ด้าน ESG ที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ อันจะเป็นการลดความเสี่ยง เตรียมความพร้อม และเปิดประตูโอกาสการเข้าสู่ตลาดทุน และขยายขนาดการเติบโตขององค์กร (Scale up) ได้ต่อไป

[อ่าน 21,019]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
KXVC เปิดตัว KX Horizon โปรแกรมส่งเสริมสตาร์ทอัพ AI และ Web3 ระยะเริ่มต้น
True Space: จากพื้นที่กิจกรรมสู่เส้นทางสตาร์ทอัพสำหรับชมรมเล็กในมหาวิทยาลัย
สร้างประสบการณ์พูดคุยเสมือนจริงมากขึ้น ด้วยโฮโลแกรม 3 มิติ ขนาดเท่าคนจริงจาก Proto
Succession + Passion ธุรกิจครอบครัวสไตล์ “ตระกูลสุโกศล”
AIS ยืนหนึ่งวงการสตาร์ทอัพไทย คว้ารางวัล Prime Minister Award ในหมวด National Startup 2024
ESG to Capital for Tech Entrepreneurs ทางออกสตาร์ทอัพไทยสู่ความยั่งยืน
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved