ธุรกิจประกันภัยไทยผ่าน Stress Test ปี 2567 ยืนยันความพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ แม้เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ
12 Sep 2024

นางสาวอายุศรี คำบรรลือ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนามาตรฐานการกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า


ตามที่สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยมีหน้าที่ในการวิเคราะห์และติดตามความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพธุรกิจประกันภัยระดับมหภาค รวมถึงความเสี่ยงที่ส่งผ่านระหว่างธุรกิจประกันภัยกับภาคการเงินอื่นๆ ดังนั้น เพื่อลดโอกาสในการเกิดความเสี่ยงและความรุนแรงของความเสี่ยงของธุรกิจประกันภัย

สำนักงาน คปภ. จึงทำการทดสอบสถานะของบริษัทภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยงจำลอง (Stress Test) เพื่อเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัทและประเมินความทนทานของบริษัทภายใต้สถานการณ์จำลองในลักษณะมองไปข้างหน้า (Forward Looking) รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเกิดสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบประกันภัยไทยในภาพรวม โดยสำนักงาน คปภ. ได้กำหนดสถานการณ์ความเสี่ยงจำลอง ปัจจัยและค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบ และให้บริษัทประกันภัยจัดทำและนำส่งผลการทดสอบให้สำนักงาน คปภ. เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา


สำหรับในปี 2567 สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการประเมินความทนทานของธุรกิจประกันภัยภายใต้สถานการณ์จำลอง (Stress Test) โดยหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ในการกำหนดสถานการณ์จำลอง Adverse Scenario เพื่อให้ภาคธุรกิจในระบบการเงินทำการทดสอบและประเมินผลกระทบ นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้จัดทำปัจจัยและค่าพารามิเตอร์ด้านประกันภัยเพิ่มเติม โดยได้หารือร่วมกับผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทย (TLAA) และสมาคมประกันวินาศภัยไทย (TGIA) โดยปัจจัยที่กำหนดเพื่อให้บริษัทดำเนินการทดสอบ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อัตราเงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของค่ารักษาพยาบาล และเหตุการณ์อุทกภัย


ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ทำการรวบรวมผลการทดสอบของบริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัย ที่มีการประเมินความทนทานของระบบประกันภัยกรณี Common Risk Scenario ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่า ระบบประกันภัยโดยรวมมีเสถียรภาพ บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยจำนวนรวมมากกว่าร้อยละ ๘๕ สามารถทนทานต่อสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคจำลองที่กำหนดได้ ทั้งด้านฐานะความมั่นคงทางการเงิน (Solvency) และด้านสภาพคล่อง (Liquidity) ซึ่งบริษัทประกันชีวิตได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ได้แก่

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในขณะที่ บริษัทประกันวินาศภัยได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านประกันภัย ได้แก่ เหตุการณ์อุทกภัย ทั้งนี้ บริษัทที่ไม่ผ่านการทดสอบ กล่าวคือ มีความเปราะบางหรือมีความเสี่ยงที่จะมีฐานะหรือเงินกองทุนต่ำกว่าระดับที่กฎหมายกำหนดหรือมีสภาพคล่องไม่เพียงพอรองรับความเสี่ยง บริษัทได้มีการจัดทำแผนการดำเนินการในการรับมือกับผลกระทบดังกล่าว

สำนักงาน คปภ. จะได้มีการติดตามและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งในเรื่องความเสี่ยงหลักที่มีผลกระทบต่อระบบประกันภัย รวมถึงมีความร่วมมือในการติดตามและประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ กับหน่วยงานกำกับดูแลทั้ง ธปท. และ สำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเตรียมพร้อมในการประสานนโยบายและออกมาตรการดูแลที่ตรงจุดเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น

[อ่าน 57]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ รับมอบรางวัลและตราสัญลักษณ์ MEA ENERGY AWARDS ปีที่ 7 ระดับ Standard และ Premium
เนรมิตรหนัง ฟิล์ม เสิร์ฟหนังรักชวนหนาวใจ Heavy Snow ฤดูหนาว เรารักกัน
โรจูคิส เปิดตัว DR. SHIN นวัตกรรมเซรั่ม จัดการฝ้า-จุดด่างดำสะสม ด้วยเทคโนโลยี BIO-CONVERSION
ออริจิ้น-บริทาเนีย เปิดตัวแคมเปญ “จุ่มเด็ด Secret Deals” ไตรมาส 4 ยกทัพโครงการบ้าน-คอนโดพร้อมอยู่ 70 โครงการทั่วประเทศ
อลิอันซ์ อยุธยา ผนึกกำลังพันธมิตร เปิดตัว 2 กองทุนรวมใหม่ ตอบโจทย์การลงทุนยั่งยืน เพิ่มทางเลือกลูกค้ายูนิต ลิงค์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุน A Good Digital Citizen “ก้าวไปสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน”
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved