“สยาม ไวเนอรี่” สานต่อความสำเร็จ “โครงการติดตั้งโพรงรังเทียมของนกเงือกจากถังไวน์”
21 Feb 2020

 

กลุ่มบริษัท สยาม ไวเนอรี่ ตอกย้ำความสำเร็จ “โครงการทดลองพัฒนาโพรงรังเทียมของนกเงือกจากถังไวน์เก่า” นวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หลังติดตั้งในป่าธรรมชาติหลายพื้นที่ มีนกเงือกเข้าทำรังต่อเนื่อง พร้อมสานต่อเจตนารมณ์รักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างสมดุลแก่ผืนป่าทั่วประเทศ  

 

ตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2558 ที่กลุ่มบริษัท สยาม ไวเนอรี่ ได้ร่วมกับโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การดูแลของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พิไล  พูลสวัสดิ์ สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติด้วยการนำวัสดุเหลือใช้ในภาคอุตสาหกรรมอย่างถังไวน์เก่าที่ไม่ใช้แล้วนำมาดัดแปลงปรับเปลี่ยนเป็นโพรงรังเทียมของนกเงือก ซึ่งออกแบบโดยอาจารย์ชาคร ผาสุวรรณคณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ก่อเกิดเป็นความสำเร็จในการเพิ่มโอกาศในการขยายพันธุ์ทดแทนโพรงจากป่าธรรมชาติซึ่งต้องเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันนับว่าหาได้ยากจากป่าธรรมชาติ จากการขาดโพรงในการขยายพันธุ์จึงเป็นหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้นกเงือกลดจำนวนจนอยู่ในเกณฑ์ที่จะสูญพันธุ์ ที่รองลงมาจากการล่าของมนุษย์

 

 

ทั้งนี้ความสำเร็จของโครงการนับเป็นครั้งแรกของโลกที่นำถังไวน์เก่าซึ่งเป็นของใช้แล้วในภาคอุตสาหกรรมมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อนกเงือกและติดตั้งในป่าธรรมชาติถือเป็นนวัตกรรมแห่งการอนุรักษ์ ที่เอื้อประโยชน์แก่ระบบนิเวศน์ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยในปีที่ผ่านมาโครงการได้ทำการติดตั้งโพรงรังเทียมในหลายพื้นที่ อาทิในป่าบริเวณไร่องุ่นมอนซูน แวลลีย์ ของบริษัท สยาม ไวเนอรี่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์, สถานีวิจัยสัตว์ป่า ป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา อ.แว้ง จ.นราธิวาส, สวนป่าพระนามาภิไธย ภาคใต้ ส่วนที่ 2 (ตชด.ที่ 445 จ.ยะลา)ในอุทยานแห่งชาติบางลาง อ.ธารโต จ.ยะลา, อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส,โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 

 

 

จากผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวนำมาซึ่งความสมบูรณ์ของผืนป่าและระบบนิเวศ เพราะข้อมูลจากมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกระบุว่า นกเงือกคือนกปลูกป่าตัวจริง จากการกินผลไม้ป่าเป็นอาหารหลักมากกว่า 100 ชนิด และแต่ละตัวจะกินผลไม้มากถึง 100 เมล็ดต่อวัน การกินแล้วคายเมล็ดทิ้งในป่าของนกเงือกจึงเป็นการปลูกป่าโดยธรรมชาติ แม้เมล็ดพันธุ์ที่คายออกมาจะมีโอกาสงอกเป็นกล้าไม้และเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ได้เพียงร้อยละ 5 แต่ด้วยปริมาณการกินและคายที่มากก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้มากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งพฤติกรรมการบินในระยะทางที่ไกลของนกเงือกยังทำให้มีโอกาสในการนำพาเมล็ดพันธุ์ต้นไม้จากผืนป่าหนึ่งไปกระจายพันธุ์ยังถิ่นอื่นด้วย ฉะนั้นการคงอยู่และเพิ่มขึ้นของจำนวนนกเงือกจึงนับว่าเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าได้เป็นอย่างดี

[อ่าน 1,332]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอสซีจี ขนกองทัพนวัตกรรมจาก 10 แบรนด์ชั้นนำ ร่วมงานสถาปนิก 67
“โยเกิร์ต - ณัฐฐชาช์ บุญประชม” อวดแฟชั่นจากแบรนด์ MISTY MYNX คอลเลกชั่นล่าสุด
เอไอเอ ประเทศไทย มอบรางวัลเกียรติยศแก่สุดยอดตัวแทน “ที่สุดแห่งปี” AIA Annual Agency Awards Presentation 2023
Coach เปิดตัว The Coach Tabby Shop ลาน PARC PARAGON
พานาโซนิค บิวตี้ ส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ “Panasonic nanocare EH-NA0J” เจาะตลาดไฮเอ็นด์
SCG แถลงผลประกอบการไตรมาสแรก มุ่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด รุกธุรกิจที่เติบโตสูง
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved