สมาคมผู้ค้าปลีกเสนอ 4 แนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจ
19 May 2020

 

บรรยากาศธุรกิจของประเทศไทยเริ่มคึกคักอีกครั้งเมื่อรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการในรอบที่สอง ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ในฐานะตัวแทนสมาคมฯ พร้อมด้วย คมสัน ขวัญใจธัญญา รักษาการประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และผู้บริหารระดับสูงจากห้างค้าปลีกและศูนย์การค้าชั้นนำของไทยเข้าร่วมประชุมหารือ อาทิ ญนน์ โภคทรัพย์, วัลยา จิราธิวัฒน์, ศุภลักษณ์ อัมพุช, คุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล, วิภาดา ดวงรัตน์, พิทยา เจียรวิสิฐกุล, สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ฯลฯ ได้ร่วมกันนำเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจในอีก 8-24 เดือน เพื่อให้ประเทศชาติฟื้นคืนสู่ภาวะปกติกับ  พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางมายังสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และก้าวสู่การเติบโตตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 20 ปี เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้าถือเป็นกลุ่มหนึ่งในภาคธุรกิจสำคัญที่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งมีแรงงานในภาคธุรกิจค้าปลีกและแรงงานที่เกี่ยวเนื่องเป็นจำนวนมากเศรษฐกิจของจริงเห็น Q2

 

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยระบุว่า  ดัชนีค้าปลีกที่เห็นกันในช่วง Q1/63 ว่าลดลงกว่า 3-7% นั้นยังไม่ใช่ของจริง เนื่องจากตัวเลขที่จะสะท้อนสภาพความจริงมากขึ้นนั้นจะสะท้อนให้เห็นได้ใน Q2/63 และคาดว่าจะดำดิ่งติดลบมากถึง  20 – 50% และในไตรมาส 2 นี้ก็จะได้เห็นว่า แต่ละประเภทธุรกิจนั้นเติบโตอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อาทิ ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกในย่านเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ รวมถึงร้านค้าปลีกแฟชั่น เครื่องหนัง เครื่องสำอาง ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่เมื่อมาตรการผ่อนคลายความเข้มข้นก็คาดว่าธุรกิจค้าปลีกน่าจะเริ่มทรงตัว แต่การเติบโตก็ยังคงไม่เหมือนเดิม โดยคาดว่ายังคงติดลบมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2562  

 

สมาคมฯ คาดว่า ธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้าจะสามารถพลิกฟื้นกลับมาจุดเดิมนั้นคงต้องใช้เวลาประมาณ 8-24 เดือน หลังจากที่สถานการณ์วิกฤติโควิด -19 ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ธุรกิจนั้นๆ เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวมากหรือน้อยอย่างไร

 

เสนอนโยบายสมาคมฯ ฟื้นฟู ศก.

1. การจ้างงาน วิกฤติครั้งนี้แม้จะสร้างผลกระทบต่อแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ  โดยเฉพาะภาคบริการ ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร สมาชิกสมาคมฯ และศูนย์การค้า รวมถึงเครือข่ายภาคีค้าปลีกต่างจังหวัดแต่ก็ยังมีมติให้คงการจ้างงานที่มีอยู่ 1.1 ล้านคน และจะไม่มีการเลิกจ้างแต่อย่างใด

2. การสร้างงาน สมาชิกสมาคมฯ ที่ดำเนินธุรกิจกว่า 100 ศูนย์การค้า รวมทั้งพื้นที่การค้าในไฮเปอร์มาร์เก็ตอีกกว่า 350 สาขาจะจัดสรรพื้นที่ให้กลุ่มอาชีพอิสระและแรงงานพาร์ทไทม์มาจำหน่ายสินค้าฟรี  ซึ่งสมาคมฯ เชื่อว่า จะสามารถสร้างงานเพิ่มขึ้นอีก 1.2 แสนอัตรา

3. เพิ่มรายได้ สมาชิกของสมาคมฯ จะเพิ่มการซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็น 3 หมื่นล้านบาทต่อปีจากเดิมที่ซื้อปีละ 1.8 หมื่นล้านบาท/ปี

4. ลดภาระค่าครองชีพ สมาชิกสมาคมฯ และเครือข่ายค้าปลีกต่างจังหวัดกว่า 57 แห่งเห็นพ้องเพื่อร่วมตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนกว่า 5 หมื่นรายการตลอดปี

 

ผลกระทบโควิด – 19 กับธุรกิจค้าปลีก

ผลกระทบโควิด – 19 ต่อเศรษฐกิจโลกแตกต่างกว่าวิกฤตเศรษฐกิจอื่นๆ วิกฤติโควิด – 19 เป็นการหยุดชะงักอย่างฉับพลัน (Sudden Stop) ของเศรษฐกิจทั่วโลก จากปัญหาโรคระบาดที่ทำให้เศรษฐกิจช็อค ทั้งด้านอุปทานผ่านการเจ็บป่วยของผู้คนและมาตรการควบคุมโรค เช่น การปิดเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิต ขนส่งและจำหน่ายสินค้า ส่วนด้านอุปสงค์ก็สะท้อนผ่านรายได้ที่ลดลง ความหวาดกลัวต่อการติดโรค และความเชื่อมั่นที่ลดลงกับอนาคตที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะผลกระทบที่มีต่อธุรกิจค้าปลีกที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากการล็อคดาวน์ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานที่บันเทิงพักผ่อนคลายร้อน ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฯลฯ ส่งผลให้ทั้งธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริการหยุดชะงักส่งผลทำให้ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ขณะเดียวกัน ก็ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและเกษตรกรกว่า 4 แสนราย ซึ่งเป็นห่วงโซ่ก็ขาดรายได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงหนี้สินทางธุรกิจ นอกจากนี้ ก็ยังมีภาวะการว่างงานและการจ้างงานไม่เต็มอัตราอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่า น่าจะมีกว่า 3-5 ล้านคน ดังนั้น สมาคมฯ จึงประเมินว่า ธุรกิจน่าจะฟื้นคืนกลับมาสู่จุดเดิมต้องใช้เวลา 18-24 เดือน"

 

ข้อเสนอ 4 มาตรการฟื้นฟู ศก.

1. การอนุมัติซอฟต์โลนผ่านแพลตฟอร์มค้าปลีก เพิ่มสภาพคล่องแก่วิสาหกิจ เอสเอ็มอี และเกษตรกร ซึ่งเรื่องนี้อาจเป็นเรื่องใหม่ของหลายคน แต่เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ตรงเป้าและเกิดประสิทธิภาพที่สุด เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกเปรียบเสมือนแพลตฟอร์มใหญ่ที่เชื่อมต่อผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย เกษตรกร สู่ผู้บริโภค การพิจารณาสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการกว่า 4 แสนราย

2. ช่วยเหลือค่าครองชีพแก่แรงงานภาคค้าปลีกและบริการ

  • ผ่านระบบประกันสังคม โดยเสนอให้ขยายมาตรการเยียวยาในระบบประกันสังคมให้ยังได้รับความช่วยเหลือตามสิทธิประกันสังคมต่อไปอีกจนถึงสิ้นปี  2563
  • ผ่อนผันให้มีการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อแรงงานมีความยืดหยุ่นในการเพิ่มรายได้

 3. กระตุ้นแคมเปญการจับจ่ายและการบริโภค

  • เสนอให้นำโครงการ “ช้อป ช่วย ชาติ” กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถช้อปได้ทุกสินค้า โดยมีวงเงิน 5 หมื่นบาท ตั้งแต่เมิถุนายน - ธันวาคม
  • ผลักดันโครงการ “ไทยเที่ยวไทย ไทยช้อปไทย” เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

4.  มาตรการช่วยลดต้นทุน และเสริมสภาพคล่องธุรกิจค้าปลีก

  • พิจารณาเลื่อนการจ่ายภาษีนิติบุคคลในงวดครึ่งหลังของปี 2562
  • พิจารณาลดภาษีนิติบุคคลจาก  20% เป็น  10% เป็นเวลา 3 ปี
  • พิจารณายกเว้นภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ประจำปี 2563 - 2564
  • พิจารณาให้นำงบการลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการยกระดับสาธารณสุข เพื่อให้อาคารสถานที่ปลอดจากเชื้อไวรัสโควิด - 19 มาเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 3 เท่า
  •  พิจารณาปรับลดเงินสมทบประกันสังคมในส่วนนายจ้างจาก 4% เป็น 1% ตั้งแต่เมษายนจนถึงธันวาคม 2563
  • พิจารณาลดอัตราค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาลงอย่างน้อย 15% จากอัตราปกติเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี
  • พิจารณาให้นำงบการลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุนเพื่อสร้าง Digital Infrastructure เพื่อสร้างระบบนิเวศสู่ Work from Home และ  e-Commerce ตามนโยบาย Thailand 4.0 มาเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 3 เท่า

 

[อ่าน 1,155]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซูเปอร์สปอร์ต X อาดิดาส จัดงานวิ่งกลางกรุง 'Supersports 10 Mile Run Series 2024 Bangkok Presented by adidas'
ทรู คอร์ปอเรชั่นชวนเที่ยวใต้แล “เกาะลับ สัญญาณล้ำ” เมืองสุราษฎร์ฯ สวยจังฮู้
มาสด้าเผยเทคโนโลยีแห่งอนาคตรถยนต์ไฟฟ้าพลังโรตารี่ Mazda MX-30 e-SKYACTIV R-EV
นีเวีย ซัน จับมือ วัตสัน “เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย”
เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ปลื้ม “โครงการมิวนีค เจริญกรุง” ยอดขายปังทะลุ 1,000 ล้านบาท ภายใน 1 วัน
HARLEY-DAVIDSON® เปิดตัวรถมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ล่าสุดปี 2024 ชูไฮไลท์รุ่น CVO™ Road Glide™ ST
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved