'จรัมพร' แนะทางรอด SME ฝ่าวิกฤติโควิด - 19
18 Jun 2020

 

ถ้าเทียบกับวิกฤติครั้งต่างๆ ที่ผ่านมา ระหว่าง วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ จนถึงครั้งนี้ วิกฤติโควิด-19 ครั้งใดรุนแรงกว่ากัน แล้วผู้ประกอบการควรปรับมุมมองและกลยุทธ์อย่างไร เพื่อก้าวข้ามช่วงเวลายากลำบากเช่นนี้ที่ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพฯ และอดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และอดีต ดีดี การบินไทย ได้ให้มุมมองนี้กับเสวนาของ TechSauce เรื่อง "ถอดบทเรียนการเผชิญวิกฤติจากอดีตสู่ COVID-19" พร้อมกับแนะทางรอดให้เอสเอ็มอีได้มีรันเวย์ที่ยาวขึ้น รอวันฟ้าใสจะได้ทะยานบินได้อย่างสวยงาม

ความแตกต่างของแต่ละวิกฤติ

  • วิกฤติต้มยำกุ้ง เป็นวิกฤติทางการเงินที่ผู้ประกอบการมีทุนน้อย แต่กู้มาก โดยเฉพาะการกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งเมื่อมีการลดค่าเงินบาทก็ทำให้มูลค่าหนี้สินเพิ่มขึ้นเป็นสองเท้าทันที ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่จะสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ก็เป็นองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ แต่ก็ส่งผลดีกับการส่งออกที่สามารถหารายได้และกำไรได้เพิ่มขึ้น ทว่า วิกฤติครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบกับอเมริกาและยุโรปสำหรับวิกฤติครั้งนี้ทำให้สถาบันการเงินเรียนรู้ถึงผลกระทบของโครงสร้างการเงินที่อ่อนแอต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้ปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนอยู่ที่1.3 จากเดิมที่เคยอยู่ที่ระดับ1.15 ซึ่งแสดงว่าเป็นระดับที่แข็งแกร่งมากๆ

 

  • วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ เป็นวิกฤติที่กระทบกับประเทศไทยน้อย เพราะสถาบันการเงินที่จะลงทุนในสินเชื่อซัพไพรม์ (สินเชื่อที่ปล่อยให้กับลูกหนี้ที่ไม่มีคุณภาพหรือมีประวัติไม่ดี) ก็คือ ธนาคาร แต่สำหรับธนาคารในประเทศไทยส่วนมากใช้นโยบายแบบอนุรักษ์นิยม จะมีเพียงส่วนน้อยที่ไปลงทุนด้วย แต่ที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะภาคการส่งออกก็เนื่องมาจากการที่คู่ค้าประสบปัญหาภาวะวิกฤติดังกล่าว

 

  • วิกฤติโควิด -19 เป็นวิกฤติที่เกิดกับ Real Sector จริงๆ และเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งในครั้งนี้ เราก็คาดหวังกันว่า โลกตะวันตกจะสามารถถอดบทเรียนจากสิ่งที่ทางเอเชียกำลังเผชิญไปใช้กับประเทศของตน แต่ปรากฏว่า โลกตะวันตกอาจจะประมาทหรือชะล่าใจเกินไป จนทำให้ความเสียหายเกิดขึ้นในวงกว้างและมีมูลค่าความเสียหายมากกว่าทางเอเชีย แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยก็ถือเป็นวิกฤติครั้งใหญ่มากๆ โดยเฉพาะกับธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุดเท่ากับ 12.5% ของจีดีพีและเคยมีนักท่องเที่ยวต่อปี 3 ล้านคน แล้วต้องกลายเป็นศูนย์คนในช่วงที่โควิด-19 ระบาดมากๆ และส่งผลกระทบกับธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอสเอ็มอีและแรงงานในอุตสาหกรรมอีกประมาณ 13 ล้านคน

 

 

สภาพคล่อง ตัวแปรสำคัญ

จรัมพรให้มุมมองถึงวิกฤติโควิด -19 ว่า "สภาพคล่องทางการเงิน" คือตัวแปรสำคัญที่จะช่วยหล่อลื่นให้ระบบเศรษฐกิจทั้งมหภาคและจุลภาคเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น โดยในระดับมหภาคนั้น ภาครัฐก็ได้ใช้มาตรการเยียวยาต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยถือว่า เป็นมาตรการที่ดำเนินการได้เร็วและลงที่ Real Sector จริงๆ เพียงแต่อาจมีบ้างที่ไม่ทั่วถึง ซึ่งตรงนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ออกมาตรการต่างๆ เพื่อเยียวยาและทำให้ทั้งองค์กรธุรกิจ และเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีสภาพคล่องพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถจ้างพนักงานของตนเองต่อไปได้แต่อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะมีธุรกิจอีกราว 30% ที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจนไปไม่ได้และต้องปิดตัวในที่สุด

 

"สำหรับผู้ประกอบการหรือเอสเอ็มอี ถ้าหากสามารถเลือกได้ ก็ต้องใช้กลยุทธ์ Cash is King เพราะการเก็บเงินสดไว้สำคัญมาก อะไรที่ไม่สำคัญก็ชะลอการตัดสินใจไปก่อน ซึ่งประเด็นนี้ ธปท.ก็ได้ดำเนินมาตรการเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยและเงินกู้ซอฟต์โลน ภขถ หมื่นล้านบาท ให้กับเอสเอ็มอี เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องให้เอสเอ็มอีเดินหน้าได้ เพราะธปท.เห็นความสำคัญของ "เงินสด" เพราะถ้าหากต้องปิดกิจการสามเดือนก็ตองมเงินสดเพียงพอที่จะอยู่ได้สามเดือน เป็นต้น"

 

ธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้เร็ว/ช้า

  • ร้านอาหาร จะเป็นกลุ่มที่กลับมาได้เร็ว แต่หากยังไม่มียารักษารหรือวัคซีน การดำเนินธุรกิจของกลุ่มนี้ที่ยังต้องมีการเว้นระยะทางสังคมก็อาจทำให้ความสามารถทีจะรองรับลูกค้าในร้านลดลงไป
  • ท่องเที่ยว หากมียารักษารหรือวัคซีนเชื่อว่า กลุ่มนี้จะกลับมาเร็ว เพราะดูตัวอย่างสเปนที่ยอดจองเข้ามาจนเต็มแลล้ว เพียงแต่กลุ่มที่จองเป็นกลุ่มธุรกิจ ไม่ใช่กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อน
  • อสังหาริมทรัพย์ กลุ่มนี้น่าจะฟื้นตัวได้ช้าที่สุด

 

พลิกมุมคิดกับวิกฤติใหม่

จรัมพรให้มุมมองถึงการรับมือกับวิกฤติโควิด -19 ดังนี้

1)  การแบ่งทีมต้องเล็กจึงจะเวิร์ค  สำหรับธนาคารกรุงเทพ หรือองค์กรใหญ่ล้วนมีแผนสำรองกรณีมีเหตุฉุกเฉิน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแผนสำรองที่มีปัญหาจากสถานที่ทำงานมีปัญหามากกว่า เช่น น้ำท่วม เกิดภัยพิบัติ แต่โควิด-19 เป็นกรณีที่เกิดกับคนแลเมื่อเกิดแล้ว คนไม่สามารถทำงานได้ 14 วันเป็นอย่างน้อย ที่ผ่านมา กรณีฉุกเฉินเราจะแบ่งทีมงานเป็นสองทีม แต่หากทีมหนึ่งเกิดติดเชื้อโควิด-19 แม้จะมีการคลีนสถานที่เพื่อฆ่าเชื้อ แต่คนกลับมาทำงานไม่ได้ นั่นเท่ากับต้องเสียกำลังคนไปครึ่งหนึ่ง แล้วหากทีมที่เหลือติดเชื้ออีกก็จะกลายเป็นไม่มีกำลังพล ดังนั้น ในสถานการณ์โควิด-19 การตัทีมให้เล็กที่สุดจึงจะเป็นวิธีที่เวิร์คที่สุด เพราะสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าการแบ่งทีมงานเป็นสองทีม

2)  เทรนด์ไร้สัมผัสมาแน่ ผลพวงของโควิด -19 ที่ทำให้ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช็อปปิ้ง การทำธุรกรรมต่างๆ รวมทั้งการเปิดบัญชีธนาคารบนสมาร์ทโฟน รวมทั้งการจ่ายเงินผ่านระบบอีเพย์เม้นท์ต่างๆ แม้ว่าการจ่ายเงินด้วยระบบคิวอาร์โค้ดจะยังไม่แพร่หลายมากนักก็ตาม

3) ซอฟต์โลนช่วยเอสเอ็มอีได้ มาตรการที่รัฐช่วยอุดหนุนในส่วนของซอฟต์โลนนั้นเป็นการช่วยเอสเอ็มอีในแง่ของต้นทุน จากการที่รัฐบาบช่วยอุดหนุนดอกเบี้ยให้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากทุนนั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกำไร และหมายถึงการเป็นสภาพคล่องทีจะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้

4)  หา New Normal ช่วง Post Covid-19 ให้เจอ ในช่วงโควิด -19 ที่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอาจจะยังไม่เซ็ตตัว แต่ถ้าผู้ประกอบการหรือเอสเอ็มอีมองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเป็น New Normal ในช่วงหลังโควิด -19 ก็จะทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้

[อ่าน 1,337]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Charming Business of Art Toy
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เสริมแกร่งธุรกิจครอบครัวสู่การเติบโตยั่งยืน
Soft Power เอาจริงหรือ?
ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ไทย แนะแบรนด์เสริมกลยุทธ์
The Importance of Building ​Nation Brand
9 แนวทางการสื่อสารความยั่งยืนให้กับองค์กร Effective Sustainability Communications
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved