กสอ. - มทร.ธัญบุรี จับมือทำแพลตฟอร์ม iAID เชื่อมโยงผู้ให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตร
16 Jul 2020

กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ร่วมมือเปิดกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อพัฒนาภาคการเกษตร ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ

 

 

ใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยว่า กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญของการส่งเสริมภาคการเกษตร  เพื่อมุ่งส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรอุตสาหกรรม โดยการเชื่อมโยงตั้งแต่ 'เกษตรกรต้นน้ำ - ผู้ผลิตกลางน้ำ - ผู้ทำการตลาดเกษตรปลายน้ำ' จึงมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรระดับชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์ (iAID Application)สำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรและผู้รับบริการ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมทั้งโอกาสและเพิ่มช่องทางการใช้บริการเครื่องจักรกล/ผลิตภัณฑ์การเกษตร เป็นแหล่งเผยแพร่การเรียนรู้ ข้อมูลสมรรถนะ ข้อมูลการใช้งานเครื่องจักรกลและเทคโนโลยี การทดสอบสาธิต ในด้านเทคนิคการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตร

 

 

“ทุกมิติของกิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้ ตั้งแต่ต้นน้ำ (อุปกรณ์/เครื่องจักรกลทางการเกษตร) - กลางน้ำ (บริการด้านการเกษตร) - ปลายน้ำ (สร้างโอกาสแห่งความสำเร็จทางธุรกิจ) พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐ สถาบันอุดมศึกษา และองค์กรสนับสนุนการดำเนินงาน จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ภาพความสำเร็จทางการเกษตรของประเทศไทย ในสาขาเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตร และอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้องจะถูกประสานและเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยความครบสมบูรณ์” รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าว

 

 

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรมการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรฯ กล่าวว่า "จากกิจกรรมที่ มทร.ธัญบุรี ได้เริ่มต้นดำเนินการ มีผู้ประกอบการด้านเครื่องจักรกลทางการเกษตร และผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรสนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และมีบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ แล้ว 18 บริษัท

 

 

ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการนำข้อมูลการให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร เข้าไปในแพลตฟอร์มออนไลน์ (iAID Application) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางการทำการตลาดและประชาสัมพันธ์บริษัทไปพร้อมกัน และผู้รับบริการสามารถค้นหา/เข้าถึงผู้ให้บริการได้สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งสามารถเปรียบเทียบผู้ให้บริการได้ตรงกับความต้องการด้วย

นอกจากนี้ขณะที่ทีมงานได้ลงพื้นที่ สำรวจความต้องการของผู้ประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ สนใจเรื่องการพัฒนานวัตกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตร การเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์บริษัท และการเพิ่มช่องทางการทำการตลาดเป็น 3 อันดับแรก ซึ่งทั้ง 3 ด้านดังกล่าวถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างและพัฒนาเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อหาแนวทางในการบูรณาการให้เกิดความยั่งยืนในธุรกิจกับผู้ประกอบการด้านเครื่องจักรกลทางการเกษตรต่อไป"

 

 

ส่วนรูปแบบการดำเนินกิจกรรมต่อจากนี้ จะจัดประชาสัมพันธ์ Application ใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ให้มีการจับคู่ธุรกิจการค้า จัดทำแผนกลยุทธ์ พร้อมวางระบบฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและเผยแพร่ทางระบบออนไลน์ รวมถึงการออกแบบช่องทางการบริการในรูปแบบเว็บไซต์ เพื่อการค้นหาและการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และจัดทำข้อมูลเชิงวิชาการด้านเทคนิคและการให้คำปรึกษาจากที่ปรึกษา โดยมุ่งหวังให้เกิดการเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจสู่ห่วงโซ่อุปทาน ไม่น้อยกว่า 10 คู่ ซึ่งนอกจากจะเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายและโอกาสเชื่อมโยงทางธุรกิจแล้วยังถือเป็นให้บริการองค์ความรู้ข้อเสนอแนะและการดำเนินกิจกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีการเกษตรที่เป็นประโยชนและเกิดผลในทางปฏิบัติต่อผู้ประกอบการที่จัดว่าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์การให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรอย่างครบวงจร ทั้งนี้ ผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลทั้งหมดได้ที่ www.iaid.in.th หรือสอบถามโทร. 061 240 2266

 

 

พร้อมกันนี้ ในงานแถลงข่าวเปิดกิจกรรมการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรฯยังจัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ หัวข้อ “Innovation/Iot Trend กับเทคโนโลยีการเกษตรไทย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มทร.ธัญบุรี พร้อมด้วย  เปรมศักดิ์ ทานน้ำใจ จากผู้ก่อตั้งโครงการ GetzTrac อาจารย์นิติ วิทยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มทร.ธัญบุรี และ จุลจักร จันทร์ล้วน อดีตเป็นผู้บริหารกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ปัจจุบัน เป็น CEO ธุรกิจส่วนตัว ดูแลทั้งหมด 4 บริษัท รวมถึงการนำเสนอแพลตฟอร์มออนไลน์ (IAID Application) ที่เป็นประโยชน์ต่อการให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปองพล นิลพฤกษ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี พร้อมกับกิจกรรมให้คำแนะนำปรึกษาเชิงลึกในการพัฒนาด้านต่างๆ แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม.

 

 

[อ่าน 1,462]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงแรมดับเบิ้ลยู กรุงเทพ จับมือ บิล เบ็นสลีย์ พร้อมเพื่อนศิลปิน จัดกิจกรรมอนุรักษ์สัตว์ป่า “CALL OF THE CARDAMOMS”
แม็กนั่มกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ จัดปาร์ตี้แห่งปี! ฉลองเปิดตัวไอศกรีมรสชาติใหม่
แว่นท็อปเจริญ ย้ำจุดยืนผู้นำธุรกิจการให้บริการด้านสายตา ผ่านภาพยนตร์โฆษณา “มองเห็นถึงทุกด้านของชีวิต”
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี จับมือ เคทีซี เปิดตัวแคมเปญ “Korea Everything”
ศุภาลัย ผนึก ทีโอเอ ปั้นนวัตกรรมที่อยู่อาศัยสีเขียว ผุดโปรเจกต์ยักษ์ ‘ฝ้ายิปซัม & สีรักษ์โลก’
KFC Thailand ครบรอบ 40 ปี เปิดตัว “แบมแบม กันต์พิมุกต์” 
Friend of KFC คนแรกของประเทศไทย
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved