Marketing Trends 2021
24 Jan 2021

2021 ถือเป็นปีแห่งความท้าทาย และเป็นแบบฝึกหัดชิ้นใหญ่ของนักการตลาด ขนาดที่ว่า โฟกัสของผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรวมทั้งระดับ Chief หรือที่เรียกรวมๆ ว่า C-Level Executives ต่างก็เจอแรงกดดันจากอนาคตที่มีความไม่แน่นอน อันเกิดจากวิกฤติโควิด -19 ที่มีคนบอกว่า วิกฤติครั้งนี้เป็น Covid-19 Disruption ที่ทำหน้าที่เป็น Game Changer ที่สำคัญ และทำให้ผู้บริหารเหล่านี้โฟกัสที่ประสิทธิภาพและผลิตภาพ (Efficiency & Productivity) จนแทบจะลืมคิดถึงการเติบโตทางธุรกิจเสียด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ รายงานเรื่อง 2021 Global Marketing Trends โดย Deloitte Insights ถึงผลการศึกษาที่เกี่ยวกับเทรนด์การตลาดของปี 2021 ที่สำรวจคนสองกลุ่มกับผู้บริโภคกลุ่มผู้ใหญ่ทั่วโลก รวมทั้งเอเชีย จำนวน 2,447 คนและกลุ่มผู้บริหารระดับ C-Level จำนวน 405 คน จากบริษัทระดับโลกในอมริกา เพื่อหวังจะที่ฉายภาพช่วยให้ CMO ทั่วโลกค้นพบวิธีที่จะพิชิตสงครามธุรกิจในใหม่นี้ ด้วยการใช้เทรนด์และกลยุทธ์ทางการตลาดล่าสุดจากการศึกษาของรายงานฉบับนี้

 

นี่คือ 6 เทรนด์การตลาดที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

1. ลูกค้ายุคนี้ให้ความสำคัญกับพันธกิจและอิมแพ็คทางสังคม

นี่เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ว่า ชะตากรรมของโลกใบนี้แขวนอยู่กับบรรดาธุรกิจต่างๆ ที่จะต้องช่วยกันสะสางปัญหาทางสังคมที่หมักหมมหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ ผลการสำรวจของ Edelman Trust Barometer กับกลุ่มตัวอย่าง 3.4 หมื่นคนใน 28 ประเทศก็บอกในทำนองนี้เช่นกันว่า ผู้คนต่างก็มองว่า บรรดาธุรกิจนี่ละเป็นกลุ่มที่มีความสามารถมากที่สุดที่จะช่วยแก้ปัญหาของโลกใบนี้ได้ แถมเชื่อว่าทำได้มากกว่ารัฐบาลหรือหน่วยงาน NGO ด้วยซ้ำ

บรรดาธุรกิจที่สามารถส่งพันธกิจทางสังคมในเชิงบวกได้ก็จะได้รับการสนับสนุนอย่างมากๆ จากผู้คน ยืนยันสมมติฐานตรงนี้ได้จากการศึกษาของ Deloitte ที่ระบุว่า

  • 79% ของกลุ่มตัวอย่างสามารถจดจำแบรนด์ที่ได้ทำอะไรๆ ในเชิงบวกที่เกี่ยวกับโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือลูกค้า พนักงานและชุมชนของตนเอง และในห้วงเวลาที่ยากลำบากนี้ บรรดาลูกค้าก็จดจำแบรนด์ที่เพิ่มมาตรการปกป้องพนักงานทั้งด้านสุขภาพ และด้านความเป็นอยู่ที่ดีตลอดจนแบรนด์ที่ทำการบริจาค เพื่อช่วยเหลือสังคม และชุมชนรวมทั้งแบรนด์ที่ลดเงินเดือนผู้บริหารระดับสูง

 การจดจำแบรนด์ในเชิงบวกทำให้ได้ผลลัพธ์ดังนี้

  • 29% ยอมรับแบรนด์ในเชิงบวก
  • 19% ช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนใจมาซื้อง่ายขึ้น

ในทางตรงกันข้าม 26% ของลูกค้าบอกไม่ให้การสนับสนุนแบรนด์ที่ไม่มีการเพิ่มมาตรการเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัย รวมทั้งแบรนด์ที่ทำอะไรแย่ๆในช่วงโควิด -19

กรณีตัวอย่างที่รายงานฉบับนี้พูดถึงยูนิลีเวอร์ บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของโลกที่มีแบรนด์ที่เน้นสร้างความยั่งยืน 28 แบรนด์โดยมีผลิตภัณฑ์ที่มุ่งรักษาสิ่งแวดล้อมและเพิ่มอิมแพ็คในทางบวกต่อสังคม อย่างแบรนด์ Dove ที่ช่วยคนรุ่นหนุ่มสาว 35 ล้านคนทั่วโลก เพื่อให้การศึกษาให้เด็กเหล่านี้เห็นคุณค่าในตัวเองตั้งแต่ปี 2005 ทั้งนี้ แบรนด์ที่ เน้นสร้างความยั่งยืนของยูนิลีเวอร์นี้เติบโตเร็วกว่าธุรกิจอื่นๆ ของบริษัทถึง 69% และทำให้บริษัทเติบโตขึ้นถึง 75%

 

2.ลูกค้านับวันจะไปชุมนุมกันที่ออนไลน์โซลูชั่นมากขึ้นเรื่อยๆ

ในยุคNew Normal ทั้งแบรนด์และนักการตลาดจะต้องปรับตัวให้เข้าใจถึงสภาพปัญหาของลูกค้าด้วยที่ช่วงนี้ต่างก็อุตลุดกับการใส่หน้ากาก การรักษาระยะห่างทางสังคม ฯลฯ ด้วยการอำนวยความสะดวกกับลูกค้าทั้งในแง่ของการสนทนาหรือการให้บริการกันทางออนไลน์ และไม่ต้องแปลกใจเลยที่ผลการวิจัยของ Deloitte ที่พบว่าลูกค้ายอมรับดิจิทัลโปรดักท์มากถึง 63% และมีความชื่นชอบมากถึง 66% และ 58% ยินดีที่จะแชร์กับเพื่อนฝูงถึงแบรนด์ที่ตอบสนองกับยุค New Normal ได้อย่างรวดเร็วและเจ๋งกว่า ขณะที่บรรดาผู้บริหารมุ่งทำให้แบรนด์ปรากฏโฉมบนโซเชียลมีเดียมากขึ้น 67% และมีเพียง 35%เท่านั้นที่ฟีดแบคลูกค้าอย่างรวดเร็ว ด้วยการทำต้นแบบของข้อเสนอใหม่ๆ 

 

 

ดังนั้น นักการตลาดจึงควรที่จะโฟกัสกับการสร้างคอนเทนต์ที่มีความเกี่ยวข้อง ด้วยการนำเสนออะไรที่เป็นเทรนด์ใหม่ๆ และส่งต่อเมสเสจไปด้วย แล้วถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะสร้างกระบวนการ CRM ในองค์รวมไปด้วย โดยให้มีพื้นฐานอยู่ที่การปฏิสัมพันธ์แบบดิจิทัลกับลูกค้าด้วย เพื่อการทำความเข้าใจและให้บริการได้ดีกว่าเดิม

กรณีตัวอย่างที่ Deloitte พูดถึงบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคระดับโลกแห่งหนึ่งที่สร้างแพลตฟอร์มข้อมูลลูกค้าของตัวเอง และหลังจากที่มีการรวมฐานข้อมูลลูกค้ามากมายแล้วรีดออกมาให้เหลือจำนวนหนึ่ง ทีมงานจะต้องทำให้ข้อมูลเหล่านี้กลายเป็นโซลูชั่นทางการตลาดที่มีความเฉพาะเจาะจงกับตัวบุคคลมากขึ้น เรียกได้ว่าเจาะลูกค้าเรียงตัวแบบเดี่ยวๆ หรือ Tailor-Made ถึง 50 ล้านรายเลยทีเดียว

 

3. บริษัทที่ดี 'ตัวจริง' นั่นแหละจึงจะ 'ได้ใจ' ผู้บริโภค

ยุคนี้เป็นยุคที่ผู้บริโภคให้คะแนนกับคุณธรรม ความดีของบริษัทและแบรนด์ แถมต้องตัวจริงเสียงจริงด้วย จะมาทำแค่สร้างภาพก็ดูออก ดูเป็นและไม่ได้ดูการประกาศคุณค่าทางสังคม (Social Value) ที่ประกาศออกมาสวยๆ เท่านั้น แต่มองกันง่ายๆ ไปถึงการปฏิบัติตนที่ดีต่อพนักงาน

Deloitte กล่าวว่า 82% ของลูกค้าอยากที่จะไปเยี่ยมชมบริษัทต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บริษัทนั้นๆ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานจริงๆ และ 31% บอกเลยว่า พวกตนจัดเรื่องนี้เป็นความสำคัญอันดับแรกที่จะซื้อสินค้าของบริษัทนั้นๆ ซ้ำหรือไม่

แต่ที่ต้องคิดให้ได้ก็ คือ สิ่งที่รายงานฉบับนี้บอกว่า ความสุขของพนักงานกับความสุขของลูกค้านั้นเชื่อมโยงถึงกัน แล้วลูกค้าก็มีแนวโน้มสูงถึง1.6เท่าที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีมนุษยธรรมและให้ความใส่ใจอย่างแท้จริงกับคนอื่นๆ ขณะเดียวกัน พนักงานที่ทำงานกับแบรนด์ต่างๆ เหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะได้รับแรงกระตุ้นกับการทำงานมากถึง 2.6 เท่า

 

บริษัทหรือแบรนด์ที่สามารถนำเสนอความตั้งใจดีอย่างแท้จริงจะช่วยทำให้บริษัทได้รับความไว้วางใจมากขึ้นจากลูกค้า ยกตัวอย่างสายการบินเดลต้าที่เพิ่มมาตรการทำความสะอาดมากขึ้นในช่วงโควิด-19 ด้วยการตั้งแผนกใหม่ทั้งหมดและทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้โดยสารและพนักงานที่เรียกว่า CareStandards เพื่อรับมือกับโควิด-19 ซึ่งความตั้งใจจริงนี้เองทำให้จำนวนพนักงานที่ติดเชื้อต่ำกว่าอัตราการติดเชื้อโดยเฉลี่ยของประเทศ

ทั้งนี้ รายงานระบุว่า ตราบเท่าที่บริษัทรับมือกับปัญหาต่างๆ อย่างโปร่งใส ลูกค้าก็มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่เป็นคนดีศรีสังคมอย่างต่อเนื่องมากถึง 2.8 เท่า

 

4. ลูกค้าปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมกับ 'การสนทนากับแบรนด์' (Brand Conversation)

กับประเด็นนี้ นักการตลาดควรที่จะเชื้อเชิญให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการถกกับแบรนด์ ซึ่งบริษัทสามารถทำได้ โดยการเพิ่มความสนิมสนมกับแบรนด์อย่างที่เรียกว่า Brand Engagement ให้แนบแน่นมากขึ้น ทั้งนี้ Deloitte พบว่า 56%ของผู้บริโภคมี Brand Engagement อย่างน้อย 1 กิจกรรมในปีที่ผ่านมา และกิจกรรมเหล่านี้ก็สามารถทำได้หลายอย่าง เช่น เขียนรีวิวออนไลน์เกี่ยวกับแบรนด์ แล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย และนี่คือวิธีการสร้าง Engagement ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม จากรายงานชิ้นนี้ระบุว่า การกระตุ้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมที่ดีที่สุด คือ ความตั้งใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น กลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 25 มีความปรารถนาอย่างมากๆ ที่จะมีส่วนร่วม ขณะที่ Gen Z บอกว่า การมีส่วนร่วมน่าจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ​

ตัวอย่างจากกรณีนี้คือ DeWalt ผู้ผลิตเครื่องมือระดับโลกได้ก่อตั้งชุมชนที่ประกอบด้วยผู้ค้า 8,000 รายและคนที่ชอบงาน DIYและให้เครื่องมือกับสมาชิกเหล่านี้ เพื่อทดสอบและดูฟีดแบคจากจุดประสงค์ของลูกค้า ซึ่งจากงานนี้ ชุมชนนี้ทำให้แบรนด์ประหยัดค่าทำ R&Dและต้นทุนการพัฒนาได้ถึง 6 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

5. พันธมิตรจากต่างอุตสาหกรรมก็อยู่ที่นี่ (ด้วยกัน) ละ

โควิด-19 ที่เข้ามาเป็น Game Changer ทำให้หลายๆ บริษัทมีโอกาสได้สร้างสรรค์และทดลองอะไรใหม่ๆ ต้องมีการใช้จินตนาการเพื่อวางกลยุทธ์กันใหม่หมด สูตรการตลาดแบบเนือยๆ ที่แค่ทำอะไรอย่างเดิมแต่แค่ให้ดีกว่าใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ในยุค New Normal นักการตลาดจะต้องสร้างสรรค์ความร่วมมือแบบใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใหม่ๆ ที่กำลังเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น Lloyds Bank ที่ร่วมมือกับ Mental Health UK เพื่อช่วยสุขภาพจิตของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางการเงินในช่วงวิกฤติโควิด-19 ทำให้ Lloyds Bank สามารถให้โซลูชั่นทางด้านการเงินและให้คำแนะนำทางด้านสุขภาพจิตกับลูกค้าไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ในประเด็นนี้ ผู้บริหารก็แฮปปี้กับาร[f1] ที่มีพันธมิตรใหม่มาช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าได้ ในจำนวนนี้ 78% วางแผนที่จะคงสัดส่วนของโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เอาไว้แม้หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะลดลงไปแล้วก็ตาม ซึ่งตรงนี้ก็น่าจะ Win-Win ทั้งสองฝ่าย เพราะลูกค้าเองก็จะจดจำว่า บริษัทนั้นๆ มุ่งที่จะตอบโจทย์ความต้องการอย่างรวดเร็ว โดย 82% บอกว่าพวกเขาให้ความสนใจที่จะทำธุรกิจหรือซื้อสินค้าของแบรนด์เหล่านี้มากกว่าเดิม

 

6. AI และ Gig Economy ช่วยให้คนทำงานประสบความสำเร็จได้

อย่างที่บอกว่า โควิด-19 เป็นตัวแปรสำคัญที่ Disrupt หลายมิติ ทำให้เกิดเทรนด์ใหม่ๆ ด้านการตลาดและทำให้เราได้เห็นคนที่มีความสามารถพิเศษ (Talent Acquisition) เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย จากงานสำรวจของ Deloitte ระบุถึงแผนกงานที่มีความสำคัญมากที่สุดนับจากนี้ไปอีก 12 เดือนในสายตาของกลุ่มผู้บริหารระดับสูงมองว่า เป็นส่วนงานของเทคโนโลยีและดิจิทัล 68% และเห็นว่า ส่วนงานการตลาดและการขายสำคัญที่สุด 61% นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า CMO ในปัจจุบันมีอิทธิพลกับผู้บริหารระดับ C-Level ด้วย แล้วเมื่อเจาะลงไปถึงเรื่องเทคโนโลยีก็พบว่า 77% ของ CMO  หันมาใช้ AI เพื่อทำงานอัตโนมัติระหว่างช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดย 29% เลือกที่จะใช้บริการกับหน่วยงานภายนอกมากขึ้นและฟรีแลนซ์ หรือคนงานนอกระบบที่เรียกว่า Gig Economy Worker

ขณะที่ AI อยู่ในช่วงขาขึ้นที่มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง แต่การใช้เทคโนโลยีนี้ในปัจจุบันก็ต้องไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน อย่างบริษัทอาหารและเครื่องดื่มแห่งหนึ่งที่ใช้ AI เพื่อจับคู่ภาพกับข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยปล่อยให้ AI ทำงานซ้ำและเป็นงานง่ายๆ เพื่อให้นักการตลาดโฟกัสกับการทำงานที่มีความสำคัญมากกว่านั้นอย่างเช่น การทำงานวิเคราะห์ หรือการวางกลยุทธ์ ทั้งนี้  Deloitte ระบุว่า บริษัทควรที่จะใช้คนที่ทำงานใน Gig Economy เพื่อที่จะเพิ่มพูนทักษะให้หลากหลายมากขึ้นทั้งในแง่ของครีเอทีฟและโปรดักชั่น รวมทั้งงานก๊อปปี้ไรท์เตอร์ต่างๆ ซึ่งคนพวกนี้เชี่ยวอยู่แล้ว แถมคนใน Gig Economy ยังจะทำให้บริษัทบริหารจัดการบนความไม่แน่นอนได้ดีกว่าโดยไม่ต้องกังวลกับข้อตกลงหรือเงื่อนไขทางการเงินที่บริษัทจะต้องจ่ายในระยะยาวให้ปวดหัวอีกด้วย

แล้วการเสาะหาคนใน Gig Economy ปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสให้เลือกช้อปปิ้งอีกมากมายที่จะช่วยให้บริษัทสรรหาทักษะที่ตนเองต้องการได้ ที่สำคัญแพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่ใช่แต่เพียงจะช่วยให้นักการตลาดมองหาเครือข่ายซัพคอนแทรคที่ตนเองต้องการได้เท่านั้น ทว่า ยังจะช่วยให้แพลตฟอร์มมองหาไอเดียใหม่ๆ ได้ผ่านการทำ Crowdsourcing อีกด้วย

ContentGrow คือ ตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้ที่เป็นแอปพลิเคชั่นทางด้านการทำงานและมาร์เก็ตเพลสสำหรับทีมคอนเทนต์ที่มีพันธมิตรเป็นนักเขียน นักข่าวที่เป็นฟรีแลนซ์ แพลตฟอร์มนี้ช่วยผ่อน (งาน) หนักให้เป็นเบาได้หากว่าได้มอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถของคนเหล่านี้ทำและยังได้ไอเดียใหม่ๆ จากการนำเสนอไอเดียของครีเอทีฟ ที่สำคัญ วิธีการเหล่านี้ยังจะช่วยให้นักการตลาดตัดสินใจที่จะลดหรือเพิ่มสเกลของงานได้อีกด้วย

รูปแบบการทำงานกับคนใน Gig Economy ไม่เพียงจะเป็นประโยชน์กับนักการตลาดเท่านั้น แต่รายงานยังระบุว่า บรรดาพนักงานที่เข้าไปอยู่ใน Gig Economy เป็นครั้งแรกก็จะรู้สึกพึงพอใจอย่างที่สุดที่ได้เข้าไปทำงานในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ

 

[อ่าน 2,076]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หลุยส์คาเฟ่ ปลุกกระแสแบรนด์เนมตื่น เอนเกจพุ่ง 950 % หลังเปิดตัวเพียงครึ่งเดือน
สัญญาณดีๆ ของปี 2023 มีส่งต่อปี 2024 ไหม
TikTok ร่วมพัฒนาอนาคตแห่งความบันเทิงและการค้าในปี 2567
ถอดรหัสเทรนด์ การชำระเงิน ในเอเชียแปซิฟิกปี 2567
ข้อมูลอโกด้าชี้ นักท่องเที่ยวไทยตื่นเที่ยวจีนหลังการยกเลิกวีซ่าไทย-จีนถาวร
การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร และ ข้อดีของโคเวิร์กกิ้งสเปซ
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved