จากช่วงน้ำหลากที่ผ่านมา หลายคนอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมมากน้อยต่างกันโดยเฉพาะบ้านหรือที่อยู่อาศัย ที่เกิดความเสียหายจนต้องปรับปรุงกันยกใหญ่ทุกครั้ง วันนี้เราจะมารวบรวมวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบเพื่อซ่อมแซมรีโนเวทบ้านหลังน้ำท่วม
ความปลอดภัยต้องมาก่อน
สิ่งแรกที่ต้องทำหลังกลับเข้าบ้านหลังจากน้ำท่วม คือ สำรวจความเสียหายโดยเฉพาะระบบไฟฟ้า ประปา และความปลอดภัย รวมถึงการจัดเก็บขยะทำความสะอาด เช็กท่อรางระบายน้ำหรือบ่อพักน้ำที่อาจจะเป็นที่หลบภัยของสัตว์ร้าย จากนั้นค่อยทำรายการตรวจเช็กให้ละเอียด ทั้งตัวบ้านโครงสร้าง ไปจนถึงพื้นที่รอบบ้านทั้งภายในและภายนอก เพื่อเตรียมวางแผนการซ่อมแซมบ้าน โดยเลือกจากสิ่งที่อยู่ภายในตัวบ้านเสียก่อน
รีโนเวทผนังบ้าน ปล่อยนานไม่ได้
การดูแลผนังบ้านให้พิจารณาวัสดุของผนังเป็นสำคัญ ซึ่งมีความแตกต่างดังนี้
ผนังบ้านไม้ หากแช่น้ำนานๆ จะทำให้ไม้ผุกร่อน หากต้องการใช้ไม้ของเดิมให้เอาผ้าเช็ดทำความสะอาดขจัดคราบสกปรกออกเพื่อให้ผิวไม้ระเหยความชื้นออกโดยต้องปล่อยให้แห้งสนิทแล้วจึงชโลมน้ำยารักษาเนื้อไม้ จากนั้นจึงทาแลคเกอร์ หรือทาสีเพื่อความสวยงามในการอยู่อาศัย
ผนังบ้านปูน ต้องปล่อยให้แห้งสนิทเช่นกันอาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน หากผนังมีการติดวอลล์เปเปอร์ แนะนำให้ลอกออกทั้งหมดเพื่อป้องกันเชื้อราเมื่อผนังแห้งสนิทดีแล้วค่อยติดวอลล์เปเปอร์ใหม่ หรือทาสีทับก็ได้
ผนังบ้านยิปซัมบอร์ด แนะนำให้เลาะออกจากตัวโครงคร่าวผนังและติดตั้งใหม่ แนะนำให้ใช้ ระบบผนังโซลิดวอลล์ วี 2 ตราช้าง ทึบแน่น ทนทานแข็งแรง สวยเรียบเนียน ติดตั้งไว ไม่ยุ่งยาก ลดค่าใช้จ่ายการเสริมโครงสร้างใช้เวลาเพียงแค่ 3 วัน ช่วยให้เจ้าของบ้านประหยัดเวลามากขึ้นในการปรับปรุงบ้านอย่างไรก็ตาม ก่อนลงมือทำอะไรกับผนังบ้าน อย่าลืมตรวจสอบงานระบบต่างๆ ที่ฝังไว้ในผนังด้วยว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานดีอยู่หรือไม่
ฝ้าเพดาน พังได้ก็เปลี่ยนใหม่ได้
หากระดับน้ำท่วมสูงมิดชั้นล่าง ฝ้าเพดานจะได้รับความเสียหาย อาจเกิดปัญหาเรื่องเชื้อราที่จะเกิดจากความชื้น โดยการเลือกฝ้าเพดานต้องเลือกให้เหมาะสมกับห้องที่ใช้งาน สามารถแบ่งได้หลักๆ ดังนี้
ถ้าเป็นพื้นที่ปูด้วยกระเบื้อง หรือหินอ่อน หินแกรนิต อาจจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก แต่หากเป็น พื้นปาร์เกต์ อาจมีอาการไม้บวมน้ำ กาวหลุดร่อน และอาจจะมีกลิ่นเหม็นตามมา ดังนั้นควรเลาะแผ่นไม้ออกมาผึ่งให้แห้งสนิท และปล่อยให้พื้นคอนกรีตที่ติดแผ่นไม้แห้งด้วยเช่นกัน แล้วค่อยสามารถติดกลับเข้าไปใหม่ได้แล้ว หรือหากต้องการเปลี่ยนพื้นใหม่ ควรให้ผู้รับเหมาหรือช่าง เช็กโครงสร้างบ้านด้วยว่าสามารถรองรับน้ำหนักของวัสดุที่จะเปลี่ยนได้หรือไม่
รายการที่จะต้องซ่อมแซมหลังน้ำท่วมนั้นยังมีอีกมากหากไม่เร่งแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้ก็จะยิ่งเป็นอันตรายกับผู้อยู่อาศัย ขอเอาใจช่วยผู้ที่กำลังแก้ปัญหานี้ ให้สามารถปรับปรุงบ้านให้กลับมาสวยงามได้เหมือนเดิมโดยเร็ว
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือออนไลน์บัญญัติ 21 ประการ บ้านหลังน้ำท่วม
โดย อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://bit.ly/ELE-Manual-for-Renovation