วิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า
“ในนามตัวแทนผู้บริหารและสมาชิกองค์กรบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) พวกเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับสภาคณบดีคณะสถาปัตย์แห่งประเทศไทย (CDAST) จัดโครงการประกวดการออกแบบภายใต้ธีม Uniquely Thai การประกวดแบบ Civic Center ในศตวรรษที่ 21 ของกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับคนกรุงเทพฯ ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์หลักของ MQDC ภายใต้แนวคิด ‘For All Well-Being’ ที่มีความตั้งใจในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนต่อทุกสิ่งบนโลกใบนี้
โครงการประกวดครั้งนี้เป็นการออกแบบพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อให้เป็นศูนย์รวมการใช้ชีวิตแห่งใหม่ เราจึงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมในการออกแบบและพัฒนาโครงการมากเท่าที่ควร ดังนั้นโครงการครั้งนี้จึงสามารถตอบสนองความต้องการของประชากรเมืองได้ในหลากหลายองค์ประกอบ”
ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี ประธานสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) กล่าวเสริมว่า
“CDAST มีความยินดีที่ได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Uniquely Thai” Envisioning the 21st Century Bangkok's Civic Center Architectural Design Competition 2021 และขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับผู้ชนะทั้ง 2 ประเภท ปัจจุบันเทรนด์ของการออกแบบเมืองทั่วโลกมุ่งให้ความสำคัญกับ Civic Center หรือพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในเมืองที่ทุกคน ทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ดังนั้นโจทย์สำคัญที่สุดของการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่ของทุกคนอย่างแท้จริง คือการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอไอเดีย ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมอง ให้การออกแบบพื้นที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนทุกกลุ่มทุกวัยที่จะเข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ ด้วยโจทย์ความท้าทายให้นักออกแบบได้ประชันไอเดียภายใต้แนวคิด “Uniquely Thai” ชูอัตลักษณ์และนำเสนอรากเหง้าของวัฒนธรรมไทย ผสานกับความเป็นสากล ส่งเสริมการออกแบบ Civic Center ให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งผลงานจากนิสิตนักศึกษาและนักออกแบบรุ่นใหม่กว่า 181 ผลงานที่ส่งเข้าประกวดนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ล้วนมีทักษะในด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่มีศักยภาพ สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสังคมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนได้อย่างเป็นรูปธรรม”
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Futuretales Lab by MQDC) ในฐานะคณะกรรมการตัดสินการประกวด กล่าวว่า
“การประกวดในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของวงการสถาปัตยกรรมและการออกแบบ เราได้เห็นมุมมองและไอเดียจากคนรุ่นใหม่ที่คนรุ่นก่อนคาดไม่ถึง โดยเฉพาะในเรื่องของดิจิทัลแพลตฟอร์ม การประยุกต์เอาเทคโนโลยีมาผสมผสานในการออกแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดรับฟังความคิดของคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นส่วนประกอบของการคิด การพัฒนาเมือง เพราะในท้ายที่สุดแล้วคนเหล่านี้จะหลายเป็นเจ้าของพื้นที่ในอนาคต ดังนั้นพวกเขาจะเป็นกลุ่มคนที่เข้าใจความต้องการ เข้าใจข้อจำกัดของพื้นที่ เข้าใจถึงโอกาสของพื้นที่นั้น ๆ ได้ดีที่สุด ฉะนั้นคนรุ่นใหม่จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองแห่งอนาคต”
ล่าสุด โครงการประกวด “Uniquely Thai” Envisioning the 21st Century Bangkok's Civic Center Architectural Design Competition 2021 ได้ประกาศ 2 ผลงานชนะเลิศ ทั้งประเภทนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ชูแนวคิดหลัก “ความเหลื่อมล้ำ” และ “Metaverse” เพื่อการพัฒนาพื้นที่เมืองแห่งอนาคต
มนัสนันท์ เดชะสุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เจ้าของผลงานชนะเลิศประเภทนิสิตนักศึกษา เล่าว่า แนวคิดหลักของผลงาน Civic Center มาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความแตกต่างทางฐานะของคนในประเทศที่มากเกินไป การขาดโอกาสทางด้านการศึกษาของเด็กยากไร้ ความยากจน และสุขภาวะที่ไม่ดีของคนในประเทศ รวมไปถึงปัญหาของกรุงเทพฯ ในเรื่องของระบบขนส่งมวลชนที่ไม่ดี การจัดผังเมืองที่ไม่เป็นระบบ ดังนั้นอาคารแห่งนี้มีจุดประสงค์ที่จะเอื้อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน โดยพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่
งานออกแบบได้สะท้อนจุดเด่นของงานออกแบบเพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิต เชื่อมต่อทางเดินเท้าเพื่อสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจไปที่ผู้ประกอบการรายย่อย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน ผ่าน 4 เส้นทางในโครงการ
“สิ่งแรกเราให้ความสำคัญกับบทบาทของ Civic Center ในประเทศไทยคือการที่ผู้คนในสังคมสามารถมารวมตัวและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ เราคิดว่าถ้าสามารถออกแบบผลงานให้มีประสิทธิภาพ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพาเมืองไปสู่โลกที่กว้างขึ้น เราพยายามมองพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ศูนย์รวมของเมืองที่จะพัฒนาคนต่อไปในอนาคต โดยแนวคิดในการสร้างเมืองของเราคือ ‘กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้าง’ เรานำแนวคิดนี้มาปรับใช้และต่อยอดที่ว่ามนุษย์เราเองก็สามารถที่จะอวตารไปสู่สวรรค์ในจินตนาการที่เรียกว่า Metaverse ได้”
“ตัวอาคารได้ไอเดียมาจากสวรรค์ที่ลอยอยู่เหนือเขาพระสุเมรุ และในส่วนภูมิประเทศได้ไอเดียมาจากเขามอ ซึ่งเป็นสวนภูมิทัศน์จำลองของไทย ที่มีการเล่นกับลักษณะทางกายภาพและน้ำที่เปรียบเสมือนมหานทีสีทันดรจึงได้ขมวดมาเป็นแนวคิดในการวางอาคารให้ลอยอยู่เหนือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่คนไทยเราได้ปรับตัวอยู่กับน้ำตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยการใช้เสาสูงและยังมีพื้นที่ใต้ถุนไว้ใช้งานต่างๆ นอกจากนี้ ตัวพื้นที่โครงการยังเป็นพื้นที่สำหรับรับน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับเมืองด้วย ในส่วนของโครงการยังมีฟังก์ชัน ที่พร้อมจะส่งเสริมศักยภาพของคนไทยในวิสัยทัศน์ Go Limitless ที่ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่ครอบคลุม ครบครันและอัพเดตอยู่เสมอ เป็น Big Data คลังความรู้ของคนกรุงเทพฯ และยังเป็นพื้นที่ให้ทดลองเปิดประสบการณ์โลก Metaverse ซึ่งสามารถต่อยอดได้หลากหลายไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจที่ก้าวไปสู่ Meta-Commerce ในด้านวัฒนธรรมที่สามารถสร้างความเป็นไทยส่งออกไปสู่สายตาชาวโลกด้วยมุมมองใหม่ ส่งเสริมให้ชาวโลกต่างอยากมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยและยังเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ความคิดสร้างสรรค์สามารถปลดปล่อยได้อย่างไร้ขีดจำกัด และดึงศักยภาพของคนไทยออกมาได้อย่างเต็มที่ เพราะเราอยากเห็นคนไทยก้าวไกลไปมากกว่าที่เคย และสุดท้าย ผมขอขอบคุณโครงการดีๆ ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้นำเสนอแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์เมืองของเราให้สามารถพัฒนาไปได้มากขึ้น”
รางวัล |
ทีม |
สมาชิกทีม |
สถาบัน |
Gold รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 |
ทีม A031 |
มนัสนันท์ เดชะสุวรรณ |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
Silver รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 |
ทีม A178 |
กฤตธี วงศ์มณีโรจน์ กุลจิรา กรรณกุลสุนทร เวธินี พูลเพิ่มพันธ์ |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Bronze รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 |
ทีม A079 |
ธนวัฒน์ ธาราสันติสุข ณัฐจิรา จิรประเสริฐวงศ์ ชาลิสา เสริมศักดิ์ |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
|
รางวัล |
ทีม |
สมาชิกทีม |
Gold รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 |
ทีม B078 |
ฑิมพิกา เวชปัญญา สิปปวิชญ์ รู้อยู่ |
Silver รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 |
ทีม B102 |
สุทธหทัย นิยมวาส ณัฐชนน โลหะวัฒนวาสี ชารสา ปิยะจิตรา ทะเล กังขาว เทอญไผท ถนอมถิ่น |
Bronze รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 |
ทีม B069 |
พชรพล โอสถเจริญผล ณัฐพล ลิมป์ศุภวาณิช ณัฐธัญ จารุชวลิต |