วิศวะ จุฬาฯ เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเมกะเทรนด์ ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร
21 Sep 2017


          คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ต่อยอดนวัตกรรมเมกะเทรนด์ ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ ตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร นำร่องติดตั้งภายในห้องสมุดและห้องเรียน โดยทำงานบูรณาการร่วมกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์สู่ระบบ Cloud พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับแสดงผลและแจ้งเตือนค่าคุณภาพอากาศที่ตรวจวัดได้ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 


          รศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ล่าสุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ต่อยอดงานด้านนวัตกรรม 1 ใน 5 Megatrends (กระแสหลักของการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต) ได้แก่ ระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ ที่ได้ติดตั้งเครือข่ายเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดหมอกฝุ่นควัน (haze) ในพื้นที่ จ.น่าน และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถประเมินผลได้แบบทันทีทันใด (Real Time) ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้สามารถประเมินผลกระทบจากหมอกฝุ่นควันได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนกำหนดนโยบายการป้องกันปัญหาได้ดีมากกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาต่อยอด ประยุกต์เป็นระบบเซ็นเซอร์อย่างง่ายเพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศในอาคาร (system of indoor air quality sensor) 

 


          ทั้งนี้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้ทำการบันทึกข้อตกลงความมือกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (IoT City Innovation Center) เพื่อพัฒนาระบบนิเวศน์นวัตกรรมบนพื้นฐานเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ในการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้สำหรับส่งข้อมูลจากการตรวจวัดคุณภาพทางอากาศได้แบบเรียลไทม์ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป 


          “สำหรับการนำร่องการติดตั้งเครื่องเซ็นเซอร์ดังกล่าว จะนำไปติดตั้งในสถานที่ที่มีอาจารย์ บุคลากร และนิสิตใช้งานจำนวนมาก อาทิ ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อาคารเรียน โดยการติดตั้งดังกล่าวจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์คุณภาพทางอากาศ และปรับแก้ เพื่อให้นิสิต บุคลากร และคณาจารย์ ได้รับอากาศที่สะอาด นอกจากนี้ยังเป็นแบบอย่างให้สถานที่อื่นๆ ใช้เป็นต้นแบบ เพื่อการพัฒนาคุณภาพอากาศในอาคารที่ใช้ทำกิจกรรม หรือเรียนต่อไปในอนาคตด้วย” รศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าวเพิ่มเติม


          ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระบบเซ็นเซอร์ เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศในอาคาร รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ได้ดำเนินการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ ในบริเวณห้องสมุด ห้องประชุม และห้องเรียน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีบุคคลที่เข้ามาใช้งานคั่บคั่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อสภาวะสบายของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำการตรวจสอบ ประกอบด้วย อุณหภูมิ ความชื้น ฝุ่นละออง  และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการ ด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้นจะใช้ในการเฝ้าระวัง ตลอดจนการจัดการสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ทั้งด้านสุขภาพของผู้ที่ใช้งานในพื้นที่ รวมถึงการควบคุมการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม สำหรับการตรวจวัดและเฝ้าระวังสภาวะของคุณภาพอากาศภายในอาคาร สามารถใช้ประโยชน์จากชุดเซ็นเซอร์ตรวจวัดอากาศขนาดเล็ก บูรณาการร่วมกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์สู่ระบบ Cloud และการพัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับแสดงผลและแจ้งเตือนค่าคุณภาพอากาศที่ตรวจวัดได้ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ใช้พื้นที่ได้รับทราบ เพื่อวางแผนและปรับปรุงระบบในพื้นที่ต่อไป นอกจากนี้ยังช่วยให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพและการเรียนการสอนอีกด้วย

 


          ดร.ณัฏฐวิทย์  สุฤทธิกุล  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่  สายงานสื่อสารไร้สาย  บมจ. กสท โทรคมนาคม (CAT) กล่าวว่า CAT ได้รับใบอนุญาตการทดลองใช้ความถี่สำหรับ LoRaWANจาก สำนักงาน กสทช.  และได้ดำเนินการติดตั้งโครงข่าย LoRaWANเพื่อให้อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้ใช้งานในการทดลองพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ  โดยที่โครงข่าย LoRaWANนี้ เป็น Low Power Wide Area Network (LPWAN) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาให้ประหยัดพลังงานและส่งข้อมูลที่ความเร็วต่ำ จึงเหมาะสำหรับเซ็นเซอร์ต่างๆและอุปกรณ์ที่ทำงานโดยใช้แบตเตอรี่  โดยที่การใช้เทคโนโลยี LoRaสามารถทำให้อายุแบตเตอรี่ของอุปกรณ์อยู่ได้นานถึง 10 ปี นอกจากจุดเด่นด้านการประหยัดพลังงานแล้ว ข้อดีของโครงข่าย LoRaWANยังมีอีกมาก เช่น มี Coverage ได้ไกลถึง 10 – 15 กิโลเมตรจาก Gateway ทั้ง Gateway และ Chipset สำหรับการพัฒนาอุปกรณ์มีราคาที่ถูก เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น เช่น 3G และง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากมีสถาปัตยกรรมที่ไม่ซับซ้อน 

 


          นอกจากนี้ CAT ได้ทำการติดตั้งแพลทฟอร์มสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการด้าน IoT (IoT  Service and Application Development Platform) ที่รองรับการทำงานร่วมกับโครงข่าย LoRaWANและโครงข่ายอื่นๆ เช่น 3G, 4G  ซึ่งแพลทฟอร์มนี้จะช่วยให้อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจสามารถพัฒนา IoT Application ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดย CAT จะร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการพัฒนาบริการ IoTต่างๆ บนโครงข่ายและแพลทฟอร์ม ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ระบบแจ้งเตือนกรณีเด็กติดอยู่ในรถโรงเรียน ซึ่งจะมีการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อตรวจจับว่ามีเด็กติดอยู่ในรถหรือไม่ หลังจากที่เครื่องยนต์ดับ และหากตรวจพบ จะทำการแจ้งเตือนผ่านโครงข่าย LoRaWAN (หรือโครงข่ายอื่นๆ) ไปยังอาจารย์หรือผู้ที่กำหนดไว้ ทันที่เพื่อให้สามารถมาช่วยเด็กได้ทันเวลา  โดยความร่วมมือดังกล่าวจะร่วมสร้างสังคมไทยก้าวสู่สมาร์ทซิตี้และเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไทยในอนาคต

[อ่าน 1,195]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
RETAIL SPACE M Card เขย่าวงการค้าปลีกเปิด “Indoor Navigation” หรือแผนที่นำทางสำหรับนักช้อป ที่แรกในไทย
ศิลปินวัยรุ่นตัวท็อป ร่วมงานฟรีคอนเสิร์ตใหญ่เล่นน้ำกลางเมือง “FWD Music Live Fest 3 #TimeToPlaySongkran”
“กรุงไทย” กำไรสุทธิไตรมาส 1/67 จำนวน 11,079 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เดินหน้าช่วยลูกค้าแก้หนี้ยั่งยืน
SCGC เปิดตัวโมเดล “มหัศจรรย์ชุมชน” มุ่งสร้างอาชีพด้วยหลักพึ่งพาตนเอง โชว์ศักยภาพกลุ่มผู้สูงวัย – สตรี – คนรุ่นใหม่
ใหม่! พบกับ Shell GO+ บน LINE OA ได้แล้ววันนี้ ครบจบในที่เดียว
เอไอเอส ชู พลังจากสุดยอดพันธมิตร ช่องทางจัดจำหน่าย ที่ 1 ตัวจริง
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved