6 แนวทาง ของ SMEs ไทย กับการรับมือกับนวัตกรรมใหม่ และฝ่าคลื่นลมทางเศรษฐกิจ
22 Sep 2023

ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เผชิญกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากมายทั้งที่เป็นขนาดใหญ่  ขนาดกลาง รวมถึงธุรกิจขนาดย่อม โดยในส่วนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs (Small and Medium Enterprises) ซึ่งประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) กิจการค้าส่งและค้าปลีก (Whole sale and Retail) และกิจการบริการ (Service) ที่มีมากกว่า 90%

 


 

มีการจ้างงานกว่า 50% ของธุรกิจทั้งหมด SMEs จึงมีส่วนสำคัญต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาของธุรกิจภายในประเทศ ที่หลายฝ่ายจำเป็นที่จะต้องการให้ความสำคัญกับธุรกิจ SMEs เพราะเป็นพื้นฐานในส่วนของการสนับสนุนทั้งของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก (Real Sector) และภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ ด้วย

ดังนั้น เมื่อธุรกิจ SMEs อยู่รอดและเติบโตได้ วงจรธุรกิจในประเทศทั้งหมด ก็จะสามารถอยู่รอดได้เช่นกัน

 

 

enlightened ปัจจัยแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดปัญหาของธุรกิจ SMEs ไทย

ที่ผ่านมา จะพบว่าธุรกิจ SMEs ของไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการ อาทิ ปัญหาทางด้านแหล่งเงินทุน การสนับสนุนจากภาครัฐ  ขาดเทคโนโลยีการผลิต  ขาดผู้เชี่ยวชาญชำนาญการที่แท้จริง

การพัฒนาทางด้านทักษะและแรงงานที่มีฝีมือ รวมถึงศักยภาพทางด้านการตลาด เหล่านี้ล้วนเป็นขีดจำกัดด้านการบริหารและจัดการของธุรกิจ SMEs  แทบทั้งสิ้น

 


 

enlightened แนวทาง การรับมือกับนวัตกรรมใหม่ และฝ่าคลื่นลมทางเศรษฐกิจ

ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จนั้น ต่างมีหลายปัจจัย และสถานการณ์ประกอบกัน การเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ผลกระทบจากสถานการณ์ข้างต้น  เพราะส่งผลต่อยอดในการจำหน่าย สินค้าหรือบริการที่ลดลง ไม่ตรงเป้า  พฤติกรรมผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง ต่างเพิ่มความระมัดระวังต่อการจับจ่ายใช้สอย ลดปริมาณการใช้จ่ายอย่างเห็นได้ชัด

การแสวงหาแนวทางการรับมือ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุน และสร้างความเติบโต ให้ธุรกิจนั้นๆ ด้วยการทบทวน แสวงหา และปรับเปลี่ยนของนวัตกรรมใหม่ทั้งด้านเทคโนโลยี และการตลาด  ดังนี้

          

1. Business Plan  & Business Model

ทบทวนและปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์   การนำ Business Model แผนงานทางธุรกิจของแบรนด์ ที่ได้วางไว้ว่า ยังมีความเหมาะสมต่อปัจจัยการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง มีความสัมพันธ์กับต้นทุนที่เกิดขึ้นกับค่าใช้จ่ายหรือไม่อย่างไร จะสามารถปรับลดค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้างที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน หรือกระทบน้อยที่สุด

การประเมิน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ทั้งผลกระทบทางตรง ผลกระทบทางอ้อม และ ทั้งทางด้าน สังคม เทคโนโลยี  เศรษฐกิจ และ การเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และ เวทีโลก ความเป็นไปได้ที่ปัจจัยนั้นจะเกิดขึ้นส่งผลต่อธุรกิจ สำรวจจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจำกัดของธุรกิจ ว่ายังเหมือนเดิมหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นไหน อย่างไร เพื่อจะได้ปรับทิศทางให้เหมาะสม

การแสวงหา หรือปรับสัดส่วนส่งผลต่อการสร้าง Value ของธุรกิจอย่างแท้จริง  สร้างความแตกต่างที่เป็นจุดแข็งทางธุรกิจ   การสร้างนวัตกรรมที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุค Disruption  แต่สามารถสร้างความยั่งยืน

 

2. Marketing Transformation

การวิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภค โดยใช้ฐานข้อมูล การนำฐานข้อมูล สถิติ บทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคต่างๆ ทั้งที่ได้จัดทำขึ้นเอง หรือมาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ ทันสมัย ทันเหตุการณ์  อาทิ การปรับตัวของประชากรไทย กับการสู่สังคมผู้สูงอายุ  Aging  Population 40+ จะมีทั้งผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ และการอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมตามสภาพในแต่ละช่วงอายุ

แนวคิดวิเคราะห์ รูปแบบธุรกิจปัจจุบัน และขับเคลื่อนไปสู่ธุรกิจอนาคต จะต้องขับเคลื่อน และ Transformation เปลี่ยนแปลงไปสู่โมเดลธุรกิจในอนาคต เทรนด์ความต้องการของลูกค้า สามารถช่วยเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจได้มากขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์  นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถวางกลยุทธ์การกำหนดรูปแบบสำหรับสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้น ตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าได้ชัดเจนตรงเป้ามากยิ่งขึ้น  รองรับการแข่งขันในทางธุรกิจทำให้มีประสิทธิภาพได้อย่างทันท่วงที

 

 

3. Business Strategy

กลยุทธ์และ เป้าหมายทางธุรกิจ เป็นส่วนสำคัญมากของ ธุรกิจ การปรับกลยุทธ์ และเป้าหมายทางธุรกิจให้เกิดความเหมาะสม  กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการได้มีการวางไว้ อาจต้องนำมาทบทวนอย่างรอบคอบ เช่น การทบทวนเป้าหมายในการขยายกิจการจากการขยายสาขา  เป็นการขยายกิจการด้วยการเพิ่มตัวแทนจำหน่ายให้มากขึ้น  เปลี่ยนจากการเพิ่มคน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ จากการพัฒนา เช่นสินค้า กระบวนการผลิต พนักงาน การให้บริการ ให้ตอบโจทย์ ตรงกับแนวทางที่จะสร้างความเติบโตของกิจการ

การปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันนั้นจะช่วยทำให้ธุรกิจที่จะขับเคลื่อนไป นั้นมีความแตกต่างอะไรจากคู่แข่ง ดังนั้นจึงต้องพิจารณาร่วมกับ  การวิเคราะห์ การแข่งขัน Competitive Strategy  เป้าหมายของคู่แข่ง  คู่แข่งมีเป้าหมายทางธุรกิจอย่างไร เจาะตลาดกลุ่มไหน  ธุรกิจหลัก Core Business คืออะไร ตลาดอยู่ที่ไหน  การโต้ตอบและการเผชิญกับการแข่งขัน มีการเตรียมความพร้อมแล้ว หรือไม่ อย่างไร

 

4. Brand Engagement

การรักษาและต่อยอดความผูกพันต่อเป้าหมาย   สิ่งหนึ่งที่ในแต่ละแบรนด์มีอยู่แล้ว ก็คือความผูกพันระหว่างแบรนด์ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งที่เป็นลูกค้า พาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ รวมถึงพนักงาน ที่จำเป็นต่อการรักษาไว้เป็นอย่างดี

การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ตามลักษณะเฉพาะในแต่ละ Segment ของลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงวัย  หรือ Life Style  มีแนวทางการดำเนินการได้ดี เพียงพอ หรือไม่  ต้องทบทวนว่าที่ผ่านมา ได้มีการจัดการด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆ นี้ อย่างไรบ้าง ตั้งแต่การจัดการฐานข้อมูล ที่สมบูรณ์  Update  รูปแบบที่ใช้ในการจัดการความสัมพันธ์มีความเหมาะสม และได้มีการต่อยอดหรือขยายผลมากน้อย เพียงพอหรือไม่ จะมีช่องทาง โอกาสสร้างกิจกรรมที่ก่อประโยชน์แก่แบรนด์  หรือระหว่างกันได้อีกไหม อย่างไรบ้าง

 

 

5. Product Development

เร่งพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์การบริโภค การพัฒนารูปแบบสินค้าและบริการเพื่อตอบรับต่อสถานการณ์ เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ ต่อการปรับให้สอดคล้องกับปัญหารุมเร้าทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน เช่น วัตถุดิบมีราคาที่สูงขึ้น ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ค่าแรงงาน การแข่งขัน ความต้องการในการบริโภคของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง

ขณะเดียวกัน จากพัฒนาการของ ปัญญาประดิษฐ์ AI และ และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การเชื่อมโยงระหว่าง Machine to Machine โดยเฉพาะงานที่ทำแบบซ้ำๆ เป็นการลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มการประมวลผลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทำให้ทั้งสภาวะการผลิตและการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป  ทำให้ชีวิต สะดวกสบายขึ้น ผู้บริโภคยุคใหม่เปลี่ยนไป  และระบบอัตโนมัติจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องปรับธุรกิจให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่นกัน

 

6. Re-inventing New Marketing Channels

ขยายช่องทางการตลาดใหม่ เพิ่มเติม ในภาวะที่การซื้อมีแนวโน้มชะลอตัวลง การแสวงหาตลาดใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะการขยายกลุ่มลูกค้าที่อาจมีช่วงวัย สังคม อาชีพ พื้นที่ ที่แตกต่างไปจากเดิม  พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและธุรกิจที่สร้างยอดขายผ่านช่องทางและวิธีขายแบบใหม่ที่เหมาะกับปัจจุบัน

การพัฒนาระบบการดูแลลูกค้า การขาย การบริการ รวมถึงการจัดการคู่ค้าและตลาด ให้สอดคล้องต่อสภาพตลาด การแข่งขัน กลุ่มตลาด และ กลุ่มลูกค้า ที่ตรงกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ ของธุรกิจ  การพัฒนาแบรนด์ กิจกรรมส่งเสริมทางการตลาด  จะต้องมีการบริหารช่องทางตลาด การขายและบริการ ให้สามารถตอบสนองในทุกขั้นตอนของ Customer Journey ด้วยความระมัดระวังไม่ให้กระทบกับฐานลูกค้าที่มีอยู่เดิม

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และนานาปัญหาที่เป็นสาเหตุของวิกฤตินี้  ตลอดจนการขับเคลื่อนของนวัตกรรมใหม่ที่มีตลอดเวลา การแสวงหาทางรอดและปรับตัวเพื่อทำให้ธุรกิจ SMEs สามารถเดินหน้าต่อ ด้วยการใช้เป็นแนวทาง หรือทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับฝ่าฟัน ไปให้ได้

 



 

[อ่าน 477]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เผยลักษณะสำคัญของ Savvy Explorers ในเอเชียแปซิฟิก
อโกด้าเผยไทยติดอันดับ 2 จุดหมายยอดฮิตของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นช่วงโกลเดนวีค
เปิดโพล!! คนไทยคิดอย่างไรกับสงกรานต์ 21 วัน
หลุยส์คาเฟ่ ปลุกกระแสแบรนด์เนมตื่น เอนเกจพุ่ง 950 % หลังเปิดตัวเพียงครึ่งเดือน
สัญญาณดีๆ ของปี 2023 มีส่งต่อปี 2024 ไหม
TikTok ร่วมพัฒนาอนาคตแห่งความบันเทิงและการค้าในปี 2567
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved