กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม โดยกระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการในกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาขาในกลุ่มซอฟต์พาวเวอร์ไทย ผ่านกิจกรรม“กิจกรรมการพัฒนาภาพลักษณ์แบรนด์และผลิตภัณฑ์สู่ Fashion Hero Brand สาขาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย” เพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการผ่านหลักสูตรการสร้างอัตลักษณ์ และสร้างภาพลักษณ์ผ่านการบอกเล่าเรื่องราว (Storytelling) โดยวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 5 ผู้ประกอบการที่ออกแบบเครื่องประดับอัญมณี.ไทยในกลุ่ม Gemstone Jewelry ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหรูหรา และปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนในยุคใหม่พร้อมสะท้อนตัวตนของผู้สวมใส่
Senexi โดย นิราญ ตุลยกิจจา เจ้าของแบรนด์ Senexi บอกเล่าถึงแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ ว่า “การออกแบบเครื่องประดับแต่ละชิ้นของแบรนด์ คือ การสื่อสารถึงความคลาสสิคแต่เข้าถึงง่าย โดยจุดเด่นของแบรนด์ คือ ความประณีตในการผลิตผลงานในแต่ละชิ้น”
“ผลิตภัณฑ์เด่น ๆ ของแบรนด์ คือ ผลิตภัณฑ์รูปแบบ Pave design (พาเว่ ดีไซน์) หรือ เทคนิคการออกแบบและฝังอัญมณีเม็ดเล็กจำนวนมากเรียงติดกันแบบชิดใกล้ โดยมีการออกแบบให้ดูทันสมัย และหรูหรา บ่งบอกถึงความเป็นตัวเองของผู้สวมใส่”
Be'Shine โดย ชุติมา พิชิตรณชัยกุล อธิบายถึงแนวคิดการรังสรรค์เครื่องประดับว่า “เครื่องประดับของเราแต่ละชิ้นถูกสร้างขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่า ความงามแท้จริงเกิดจากเป็นตัวของตัวเอง เราจึงคัดสรรพลอยธรรมชาติแท้ที่มีประกายมีสีสันที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ละเม็ดจะไม่เหมือนกัน ซึ่งสื่อถึงตัวตนของผู้สวมใส่ที่แต่ละคนมีความแตกต่าง และมีความเปล่งประกายในตัวเอง”
“ความเรียบง่ายที่ซับซ้อน ดีไซน์มีความมินิมอล แต่มีรายละเอียดที่ลึกซึ้งคือจุดเด่นของเรา สำหรับผลิตภัณฑ์ตัวเด่นของ Be'Shine ที่เป็นสินค้าตัวชูโรงคือ GALA collection เครื่องประดับที่เฉลิมฉลองความงามของผู้สวมใส่ด้วยแรงบันดาลใจจากแชมเปญ พลอยระยิบระยับ และเส้นสายที่โอบล้อมความงดงามจากภายใน”
TAERA JEWELRY โดย วิชุดา แตระพรพาณิชย์ เจ้าของแบรนด์ TAERA JEWELRY เล่าถึงการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับเอาไว้ว่า “เรามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีความคลาสสิค มีไลฟ์สไตล์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลงใหลในอัญมณีให้มากขึ้น นอกจากนี้เรายังเป็นแบรนด์เครื่องประดับและอัญมณีแบรนด์แรกที่สร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับโลหะอัญมณีธรรมชาติจากฝีมือคนไทย”
“สินค้าเรือธงของ TAERA JEWELRY คือ Sugar Love collection คอลเลกชั่นพลอยรูปทรง Sugarloaf ออกแบบเป็นจี้ แหวน ต่างหู สไตล์คลาสสิคโดยแบรนด์ได้เพิ่มความทันสมัยเข้าไปด้วยอัญมณีสีพาสเทล เช่น สีฟ้า สีชมพู สีเขียว ทำให้ผู้สวมใส่ ดูสดใส อ่อนเยาว์ น่ารักหรูหรา”
“จังสุ่ยศิลป์” แบรนด์เครื่องประดับไทยที่เกิดจากคำสอนของคุณปู่ โดย ภูดิศ ภัทรวารินทร์ “แบรนด์มุ่งเน้นการสร้างสรรค์เครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะเทคนิคการทำงานที่โดดเด่นด้วยพื้นผิวที่ไม่ใช่งานขัดเงาหรืองานเรียบทั่วไป มาพร้อมคาแรกเตอร์การบิดพริ้วของรูปทรงที่อิงไปทางธรรมชาติ แนวคิดหลักในการผลิตเครื่องประดับแต่ละชิ้นยึดหลัก “Create Your Own Precious” หรือ “การสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้กับตัวเราเอง” โดยเชื่อว่าเครื่องประดับทุกชิ้นที่สร้างสรรค์มีคุณค่าโดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร เพราะมันถูกสร้างขึ้นด้วยปรัชญาที่ว่า “คุณค่าที่แท้จริงมาจากสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองด้วยความภูมิใจ”
“หนึ่งในผลิตภัณฑ์เรือธงของ จังสุ่ยศิลป์ คือ สร้อยคอที่มีลูกเล่นการถอดประกอบต่อกันได้ ซึ่งเป็นการออกแบบที่ซ่อนกลไกอย่างชาญฉลาดให้ดูสวยงาม ผู้สวมใส่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามความต้องการ สร้างความหลากหลายในการแต่งกายจากชิ้นเดียว”
BBBG JEWELRY BY CI โดย ชินภัทร อินทนากรวิวัฒน์ ระบุว่า “BBBG JEWELRY สร้างสรรค์เครื่องประดับทุกชิ้นขึ้นจากความจริงใจ โดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดหยกเต็มไปด้วยของปลอม และความไม่แน่นอน แต่ผลงานของเราทุกชิ้นทำมาจากหยกคุณภาพสูง เพราะแบรนด์เครื่องคัดสรรวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน ตั้งแต่ขั้นตอนการประกอบไปจนถึงการส่งผลิตภัณฑ์ตรงถึงมือลูกค้า เพราะเราคือแบรนด์ที่ใส่ใจในความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง”
“นอกจากวัสดุคุณภาพชิ้นเลิศที่เราคัดสรรมาแล้ว เราได้ผสมผสานอัญมณีหยกกับการออกแบบที่แฝงไปด้วยปรัชญา แนวคิด ความเชื่อโบราณ ที่ทำให้ผู้สวมใส่ได้รับรู้เรื่องราวและพลังงานด้านบวก เพื่อการอยู่อย่างมีความหวังในวันข้างหน้า และเพื่อการค้นหาความหมายของชีวิต ดังนั้นเครื่องประดับของเราจึงเป็นมากกว่าการสวมใส่เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่คือการส่งมอบเรื่องราวและแนวคิดเชิงบวก ความรู้สึกดีๆ และความหมายดีๆ ไปสู่เจ้าของ”
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 0 2430 6883 กด 2 หรือติดตามความเคลื่อนไหว และข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่ www.diprom.go.th หรือ www.facebook.com/dipromindustry