เปิดปี 64 ด้วยคำเตือนจาก KTC ให้ระวังการใช้จ่าย
04 Feb 2021

 

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ส่งผลให้ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจในช่วงต้นปีนี้มีอันต้องสะดุดอีกครั้ง จากเดิมที่ประเทศไทยเองก็เจอภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังหนักหนาอยู่มากเมื่อปี 63โควิด-19 ที่มารอบใหม่ครั้งนี้ทำให้หลายๆ ธุรกิจที่ทำท่าจะลืมตาอ้าปากได้กลับต้องเผชิญกับความท้าทายอีกรอบ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจที่เกี่ยวกับการเดินทาง ร้านอาหารฯลฯ ไม่ต้องสงสัยว่าโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม อีกทั้งหลายๆ ชีวิต หลายๆ ครอบครัวในกลุ่มธุรกิจนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่แค่จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ประกาศพื้นที่เป็นโซนๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นผลจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมที่ทำให้ผู้คนต้องเสมือนถูกกักตัวที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการเรียนหนังสือจากบ้าน

ในฐานะที่ เคทีซี เป็นผู้นำตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงาน Credit Card บมจ.บัตรกรุงไทย หรือ เคทีซี ได้ฉายภาพการจับจ่ายและกำลังซื้อของผู้คนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีที่แล้วและในรอบล่าสุดนี้ แม้จะเป็นระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน นับจากต้นปีก็ตามรวมทั้งทิศทางการทำตลาดของเคทีซีและคำแนะนำที่มีให้ผู้คนในฐานะผู้ถือบัตรและผู้ใช้บริการสินเชื่อ รวมทั้งคำแนะนำกับร้านค้าพันธมิตรที่เคทีซีมีนโยบายทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อมองความต้องการหรือจุดอ่อนร่วมกัน

 

ภาพรวมการใช้จ่ายช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอย่างไร

การใช้จ่ายของบัตรมีสองแบบคือ การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ กับการกดเงินสด สำหรับการเติบโตของการกดเงินสดเติบโตแบบติดลบมาตลอด ซึ่งตรงนี้ไม่มีอะไรที่น่ากังวล แถมกลับเป็นสัญญาณที่ดีด้วยซ้ำ เพราะแสดงว่า ลูกค้าไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินสดไปใช้ทำอะไรที่นอกเหนือ เพราะในยุคนี้ก็เป็นสังคมไร้เงินสดอยู่แล้ว สามารถใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้

สำหรับการใช้จ่าย - การซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตทั้งหมด ณ สิ้นปี เราเติบโตติดลบประมาณ 8%เท่านั้น ซึ่งถือว่าเราทำได้ดีกว่าตลาดที่ติดลบประมาณ 13%โดยปลายเดือนธันวาคมก็ยังพอไปได้ในส่วนของการจับจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการกดเงินสด เพราะยังมีโปรโมชั่นที่ดีมาก แต่มาสะดุดในเดือนมกราคม 2564 เนื่องจากมีการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนออกจากบ้านน้อยลง ในช่วงนั้นก็มีความกังวลของผู้คน ทำให้มีการเลิกการเดินทางและอื่นๆในช่วงนี้เราก็เห็นกันได้ชัดเจนว่า ทั้งยอดการใช้จ่ายและการกดเงินสดลดลงรวมประมาณ15%ตอนนี้สถานการณ์คลี่คลายบ้างแล้วก็น่าจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีสองประเด็นที่เกิดขึ้นคือ เรื่องของความกลัวและกำลังการใช้จ่าย

 

สินค้าหรือหมวดใดที่มีการเติบโตดีในช่วงปีที่ผ่านมา เพราะอะไร

สำหรับเคทีซีที่เราบอกว่า เราทำงานได้ดีในปีที่ผ่านมานั่นเพราะเราทำงานใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์ อาทิ พาร์ทเนอร์ต้องการให้เราช่วยสนับสนุนเรื่องอะไร เราก็ช่วยโปรโมทให้ ฯลฯ และกล่าวได้ว่า เราใช้กลยทธ์ที่ถูกหมวดและถูกเวลา ทั้งนี้ หมวดที่เติบโตดี คือ หมวดประกัน ในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ คนก็ไม่กล้าไปใช้บริการที่โรงพยาบาล แต่เมื่อผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้ว การใช้จ่ายในหมวดสุขภาพ, โรงพยาบาบลก็กลับมา

แต่ประเด็นนี้ทำให้เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีการใช้บริการของโรงพยาบาลในระดับบนก็เปลี่ยนมาใช้โรงพยาบาลระดับกลางๆหรือโรงพยาบาลของรัฐกันมากขึ้นโดยเฉพาะยอดการใช้จ่ายผ่านโรงพยาบาลของรัฐถือเป็นเรื่องดีที่ทำให้ผู้ถือบัตรได้ทราบไปด้วยว่า การใช้บริการกับโรงพยาบาลของรัฐก็สามารถใช้บัตรเครดิตได้ เพราะในช่วงนี้คนก็มองหาความคุ้มค่า และหลายๆ ธุรกิจคนก็คำนึงถึงความช้า - เร็วด้วย

ดังนั้น การปรับตัวในช่วงนั้นจึงใช้เวลา เพราะต่างก็ไม่เคยเจอโควิด-19 มาก่อน ยกตัวอย่างเช่น บริการฉีดวัคซีน แบบไดรฟ์ทรู การโทรเพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจเลือด หรือฉีดวัคซีนที่บ้านก็ทำได้ หรือการทำ TeleMed หรือการปรึกษาแพทย์ทางออนไลน์แล้วสั่งยาให้ไปส่งที่บ้าน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม บริการเหล่านี้ทางโรงพยาบาลก็ประเมินเหมือนกันว่า วิธีใดที่เวิร์คและไม่เวิร์ค แล้วเลือกทำให้เหมาะสมกับฐานลูกค้าของตนเองและเลือกได้ในการระบาดครั้งต่อมา โดยไม่ต้องทำทุกวิธี

 

หมวดห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารเป็นอย่างไรบ้าง

ทำนองเดียวกัน หมวดห้างสรรพสินค้าในช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรกก็มีการปรับตัวกัน อาทิ การไลฟ์สดเพื่อขายสินค้าทางเฟซบุ๊ค เพิ่มบริการเดลิเวอรี่ หรือถ้าเป็นของชิ้นใหญ่ ราคาแพงก็นำสินค้าไปให้ดูถึงที่บ้าน การแชตและช็อปแล้วส่งถึงบ้าน ส่งทางไปรษณีย์หรือจุดส่งใกล้บ้านลูกค้า ฯลฯ

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ในปีที่ผ่านมาต้องใช้เวลาพัฒนา แต่สำหรับปีนี้ สิ่งเหล่านี้มีอยู่แล้ว หรือได้พัฒนามาแล้วเมื่อเราเจอสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ผู้ประกอบการก็สามารถนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาใช้ได้ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าสำหรับปีนี้ผู้ประกอบการก็มีความพร้อมมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่จะดีไปเสียหมด อย่างร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าก็ยอมรับว่า รอบนี้ลำบากกว่า เพราะแม้เปิดให้บริการได้ แต่คนก็ยังเข้ามาใช้บริการน้อย ตรงนี้ก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายของการดำเนินงาน เนื่องจากต้องจ่ายค่าแรงพนักงาน การสต็อกสินค้าที่เป็นวัตถุดิบ ฯลฯ ถือเป็นความยากคนละแบบ และแต่ละหมวดก็จะมีความยากง่ายแตกต่างกัน 

สำหรับหมวดการใช้จ่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นหมวดที่ใช้จ่ายกันอยู่ เห็นพฤติกรรมชัดเจนในแง่ของการซื้อบนออนไลน์ มีการเติบโต 70-80% เนื่องจากในยุคนี้อะไรๆ ก็ขายผ่านอี-มาร์เก็ตเพลส อาทิลาซาด้า, ช็อปปี้, เจดี เซ็นทรัล ฯลฯ ดังนั้น ยอดขายหน้าร้านอาจไม่ดี หรือดูเงียบๆ แต่ผู้ประกอบการอาจมาขายบนออนไลน์กัน 

 

ปีนี้เปิดมาครึ่งเดือนมกราคมแล้ว เราเห็นสัญญาณอะไรที่ชัดเจนบ้างหรือเปล่า กับสถานการณ์ปัจจุบัน

ช่วงครึ่งเดือนมกราคมนี้ เราเห็นการเติบโตดีของหมวดประกัน แต่ขณะเดียวกัน เราก็เห็นผลกระทบที่มีต่อห้างสรรพสินค้าที่มียอดขายหายไปเยอะมาก การท่องเที่ยวที่เราคิดว่าจะค่อยๆ กลับมา เพราะคนไทยเริ่มเที่ยวภายในประเทศก็ชะลอทันที มีการยกเลิกกันมากมาย เนื่องจากคนกลัวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวจากพื้นที่กลุ่มเสี่ยง เช่น เชียงใหม่ ฯลฯ แล้วจะต้องถูกกักตัว 14 วันก็ทำให้หลายคนไม่สะดวกที่จะต้องลางานด้วยจำนวนวันที่มากมายขนาดนี้ ดังนั้น จึงทำให้คนไทยชะลอแผนการท่องเที่ยวกันมาก

ที่สำคัญ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ เราไม่รู้ว่าใครติดเชื้อบ้างรอบๆ ตัวเรา ซึ่งแตกต่างจากครั้งแรกทำให้เราระวังตัวมากขึ้น คิดว่า ถ้าทุกอย่างดีขึ้นและวัคซีนเริ่มมาราวๆ กุมภาพันธ์ คาดว่าคนไทยจะเข้าถึงวัคซีนได้ประมาณ50% ของประชากรไทยในสิ้นปีนี้  ตรงนี้เข้าใจว่าจะทำให้คนสบายใจมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อเป็นสิ่งที่เรากังวลอย่างมาก เพราะถ้าธุรกิจหรือศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น การจ้างงานก็จะไม่กลับมา คนก็จะไม่กล้าใช้จ่ายเดิมในปีที่ผ่านมา เราคิดว่า คนที่ยังสามารถใช้จ่ายได้ นั่นคือคนที่มีเงินออม และเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่สิ่งที่ต้องมองด้วยก็คือ คนเหล่านี้ก็ซื้อหรือจับจ่ายไปมากแล้ว และคนเหล่านี้ยังจะซื้อหรือจับจ่ายต่อไปอีกหรือเปล่า

           

สัดส่วนของการใช้จ่ายในช่วงมกราคมนี้เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงหรือยัง

ยังไม่เห็นความแตกต่าง การใช้จ่ายที่เป็น Top 5 ก็ยังคงเป็นอยู่ ได้แก่ หมวดประกัน, การเติมน้ำมัน, ซูเปอร์มาร์เก็ต, อีมาร์เก็ตเพลส และค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล สำหรับรายการจับจ่าย 5 อันดับนี้ก็จะมีการขยับบ้าง โดยก่อนหน้านี้ ท่องเที่ยวก็จะเป็นอันดับ 2,  การเติมน้ำมัน อันดับ 3 อย่างไรก็ตาม ถ้าสังเกตจะพบว่า รายการการใช้จ่ายที่เป็น Top 5 นี้คือสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างประกัน, การเติมน้ำมัน,  ซูเปอร์มาร์เก็ต ส่วนอีมาร์เก็ตเพลสนั้นเป็นเรื่องของไลฟ์สไตล์ และค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล

เนื่องจากฐานลูกค้าของเราเป็นกลุ่มมนุษย์เงินเดือน ดังนั้น เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ก็กระทบแน่นอน ทำให้คนพวกนี้ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้จ่ายกับหมวดที่มีเหตุมีผล ฉะนั้น จึงทำให้การจับจ่ายในหมวดช็อปปิ้ง แฟชั่นตกลงไปเยอะเลยทีเดียว

 

 

เคทีซีจะใช้แคมเปญกระตุ้นการจับจ่ายหรือไม่ อย่างไร  

ที่ผ่านมา วัตถุประสงค์การทำการตลาดของเคทีซี เราไม่อยากให้คนใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย หากแต่เราจะมุ่งเน้นเรื่องความคุ้มค่าถ้าจะใช้คำว่า 'กระตุ้น' อาจต้องมาดูว่า การจับจ่ายนั้นมีความจำเป็นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เราจะเน้นที่ 'ความคุ้มค่า' เช่น การใช้คะแนนแลก หรือการผ่อนชำระ 0% ซึ่งทางแบรนด์กับเคทีซีก็จะทำแคมเปญร่วมกัน

เนื่องจากเมื่อเราพูดถึงความแข่งขันทางการตลาด เราพูดถึง 'ความคุ้มค่า' อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ด้วย นั่นคือ เราต้องเลือกร้านค้าให้ถูกต้องและมีความหลากหลาย จริงๆ เวลาพูดแบบนี้ก็ดูง่ายๆ ใครๆ ต่างก็สื่อสารแบบนี้เหมือนกัน บางรายอาจจับมือกับบริษัทประกันหรือเลือกร้านอาหารแค่บางกลุ่มก็พอ สำหรับเคทีซี เรามีพันธมิตรเป็น 45 บริษัทประกันและโบรคเกอร์  350 โรงพยาบาลทั่วประเทศ  จากฐานลูกค้าของเคทีซัที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นกรุงเทพฯ 55% ต่างจังหวัด 45%  

อีกทั้งเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลาย ทั้งตลาดแมส ตลาดไฮเอนด์ ดังนั้น เราจะเลือกทำแคมเปญหรือจะทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าจึงต้องครอบคลุม อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการแข่งขันทางการตลาด สิ่งที่เราต้องทำคู่ขนานกันด้วยก็คือ เรื่องการบริการและเทคโนโลยี เพื่อทำให้การใช้บริการของลูกค้าสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้บริการด้วยตนเอง (Self Service) ผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่นก็ต้องเสถียร ง่าย เพราะปัจจุบันคนไทยมีความเข้าใจเรื่องไอทีมากขึ้นและมีไลฟ์สไตล์อยากทำอะไรด้วยตนเองมากขึ้น

 

มีคำแนะนำสำหรับผู้ถือบัตรและพันธมิตรอย่างไรในสถานการณ์ช่วงนี้อย่างไรบ้าง         

สำหรับลูกค้าผู้ถือบัตรและสินเชื่อ เราก็อยากแนะนำให้ระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้จ่ายโดยเฉพาะในช่วงที่ไม่มีอะไรแน่นอนอย่างในปัจจุบันให้ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งจำเป็น แต่ถ้าหากมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของสินเชื่อหรือบัตรเครดิตก็อย่าเงียบหายไป แต่ควรเข้ามาติดต่อหรือปรึกษากับธนาคารเจ้าของบัตรหรือสินเชื่อนั้นๆ เพื่อร่วมกันหาทางออกด้วยกัน พร้อมกันนี้ ก็อยากให้รักษาเครดิตของตนเองให้ดี เพราะจากนี้ไปถ้าสถานการณ์ดีขึ้น หากเราต้องการลงทุนหรือมีวงเงินเพิ่ม เราจะทำได้ก็ต่อเมื่อเรามีเครดิตที่ดี 

 

ในส่วนของร้านค้าพันธมิตร เวลาที่เคทีซีเข้าไปทำงานด้วย เราก็มักจะเข้าไปคุย เพื่อทำความเข้าใจถึงความต้องการของพันธมิตรที่มีอยู่แตกต่างกันในแต่ละราย และหา Pain Point  ของลูกค้า หรือหาว่าอะไรคือของดี ของอร่อยของร้านค้า หรือขายไม่ได้เพราะอะไร เช่น อาจจะยังไม่ได้ขายบนออนไลน์ หรือขายออนไลน์แล้วแต่ระบบการชำระเงินยังไม่สะดวก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ก็อาจทำให้ลูกค้าไม่อยากซื้อของที่ร้าน

 

แต่ความจริงในวันนี้ก็คือ ลูกค้ามีทางเลือกเยอะมาก ดังนั้น ในฐานะที่เป็นร้านค้า อย่างร้านอาหารนอกจากความอร่อยแล้วความสะดวกของการส่งเดลิเวอรี่ และการชำระเงินก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหากใช้บริการของธุรกิจเดลิเวอรี่ที่มีระบบการชำระเงินที่สะดวกอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร แต่หากมีคอลเซ็นเตอร์ของตนเองแล้วการชำระเงินไม่สะดวก เราจะทำอย่างไร สำหรับปัญหาการชำระเงินตรงนี้เคทีซีก็มีช่องทางที่จะแนะนำได้ เช่น ลิงก์เพย์ (Link Pay) ซึ่งเป็นลิงก์ที่ส่งมาเพื่อให้ลูกค้าชำระเงิน หรือเคทีซี ยูช็อป (KTC U Shop) ที่เป็นเสมือนอีมาร์เก็ตเพลสของเราที่เราต้องการช่วยร้านค้าให้ขายของได้


สนใจรับชมรายละเอียดเพิ่มได้ที่ >>>  https://ushop.ktc.co.th/ushop/landing.html

 

[อ่าน 4,100]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดใจ ‘เลิศรินิญฒ์ ศรีสุคนธ์’ กับเบื้องหลังการปั้น ‘Cafe Chilli’ ให้เป็นแบรนด์เรือธง ของ สะไปซ์ ออฟ เอเซีย
ทีเด็ด POP MART เจาะตลาดไทยอย่างไร ให้มัดใจผู้บริโภคอยู่หมัด
‘เดอะคลีนิกค์’ เผยผลงานโดดเด่นปี 66 โกยรายได้กว่า 2.3 พันล้าน เดินหน้าบุกตลาดความงาม
“เพราะชีวิตคือบททดสอบ” เปิดเรื่องราวชีวิตหญิงแกร่ง CHRO แห่งทรู คอร์ปอเรชั่น
‘ไพศาล อ่าวสถาพร’ กับเบื้องหลังการปั้น ‘บิสโตร เอเชีย’ ให้มียอดขายเติบโตขึ้นถึง 70%
ศุภลักษณ์ อัมพุช กับ New Era ของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่เป็นมากกว่าแค่ช้อปปิ้ง แต่คือการสร้างย่านการค้า
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved