เมื่อคาร์บอนเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนไปสู่จุดหายนะของท้องทะเลไทย
17 Nov 2021

เครดิตภาพ  : ชิน - ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย

 

‘ทะเลไทย’ อาจกลายเป็น ‘ออนเซ็น’ ที่มีอุณหภูมิสูง 38 องศาเซลเซียส! หากเรายังไม่ลดการปลดปล่อยคาร์บอนฯ แถมยังจะเร่งให้เกิด Climate Change และ Marine Heatwave ในท้องทะเลที่รุนแรงกว่าที่คิด

 

ลึงลงไปใต้ท้องทะเล คลื่นน้ำ กำลังเคลื่อนไหว แทรกผ่านร่างช่างภาพหนุ่ม ซึ่งกำลังตั้งใจจดจ่ออยู่กับการลั่นปุ่มชัตเตอร์ของกล้องในจังหวะที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้ภาพถ่ายใต้ทะเลที่สะท้อนปัญหา ‘ปะการังฟอกขาว’ ซึ่งเป็นผลจาก สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ออกมาให้ได้ชัดเจน และครบถ้วนที่สุด

 

ชิน - ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพสารคดีด้านสิ่งแวดล้อม

 

ชิน - ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพสารคดีด้านสิ่งแวดล้อม ทำงานด้านนี้มานานกว่า 14 ปีทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้สังเกตการณ์ ‘ท้องทะเลไทย’ ที่สามารถบอกเล่าเรื่องปรากฏการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างตรงไปตรงมาและ เชื่อถือได้ที่สุดคนหนึ่ง

 

ชินเล่าว่าเขาผูกพันกับทะเลมาตั้งแต่เด็ก ยิ่งพอได้ลองดำน้ำชมโลกใต้น้ำและเห็นความตระการตาของโลกอีกใบ ก็ยิ่งทำให้หนุ่มคนนี้หลงรักทะเลไทยมากขึ้นไปอีก จนกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเขาจนถึงทุกวันนี้ แต่ทะเลที่เขาเคยชื่นชมความงามในวัยเด็กกลับแตกต่างจากทะเลในวันที่เขาโตเป็นผู้ใหญ่อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 เหตุการณ์ที่รบกวนจิตใจคนรักทะเลอย่างเขา คงหนีไม่พ้นปัญหาปะการังฟอกขาวในครั้งนั้น

 

“มันเป็นเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่อทะเลแถบเอเชียแปซิฟิกหนักมาก เนื่องจากปะการังเป็นสัตว์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกับสาหร่ายชนิดหนึ่ง พออุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ปะการังจะขับสาหร่ายออกจากโครงสร้างของมัน ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว และถ้าหากอุณหภูมิไม่กลับมาเป็นปกติ สาหร่ายก็ไม่สามารถกลับมาอยู่กับปะการังได้ ปะการังจะตายลง”  ชิน เล่าสะท้อนภาพที่เขาเห็นมากับตาให้เราฟัง

 

เครดิตภาพ :  ชิน - ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย

 

อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ต้นตอของปัญหา Climate Change เกิดจากการปลดปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในปริมาณมหาศาล ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์และด้วยคุณสมบัติของ CO2 ที่ดูดซับความร้อนได้เยอะมากจึงทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

 

“ในอนาคตอันใกล้ อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นมากกว่านี้อีกและส่งผลกระทบต่อโลกใต้น้ำด้วย โดยเฉพาะภาวะน้ำทะเล กลายเป็นกรด เมื่อน้ำทะเลเป็นกรดก็จะกัดกร่อนปะการัง และทำให้สัตว์เปลือกแข็งต่างๆ ไม่สามารถสร้างกระดอง ของพวกมันได้ อัตราการตายของสัตว์ทะเลจะเพิ่มขึ้น” เขาย้ำให้เห็นถึงความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับโลกใต้ทะเล

 

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ ทางทะเลชั้นแนวหน้าของไทย

 

เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาที่จะรอช้าได้อีกแล้วยืนยันอีกเสียงจาก ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชั้นแนวหน้าของไทยให้ข้อมูลว่านักวิทยาศาสตร์มีข้อบ่งชี้หลายอย่างที่ระบุว่าอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ทะเลทั้งโลกทรุดโทรมลง

 

ณ วันนี้โลกของเราปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ปริมาณมากถึง 40 กิกะตัน หรือ 40,000 ล้านตันต่อปี ส่งผลให้อุณหภูมิของ โลกสูงขึ้น 1.1 - 1.2 องศาเซียลเซียส เมื่อเทียบกับโลกเมื่อร้อยกว่าปีก่อน และกำลังจะสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซียลเซียส อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้มนุษย์ทั่วโลกจะเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมฉับพลัน ภัยแล้ง คลื่นความร้อนสูงฉับพลัน จนเกิดการสูญเสียชีวิตของคนมากมาย รวมไปถึงปัญหา Marine Heatwave หรือ คลื่นความร้อนในทะเล ทำให้ทะเลเกิดความแปรปรวนขั้นสูงและสร้างความเสียหายมหาศาล

 

หากมองภาพความเสียหายในทะเลไทยพบว่า ปีนี้ทะเลไทยฝั่งอ่าวไทย เกิดปะการังฟอกขาวในพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง) ตรงนั้นมีปะการังนับแสนๆ ก้อน ตายหมดภายในเวลา 2-3 อาทิตย์ อีกทั้งพบว่า อุณหภูมิน้ำทะเลในจุดนั้นสูงผิดปกติ คืออยู่ที่ 38 องศาเซียลเซียส

 

ต้องยอมรับกันอย่างจริงจังแล้วว่า Climate Change ส่งผลกระทบต่อทะเล และวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก แม้เป็นคนเมืองที่ไม่ได้อยู่ติดทะเล ก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน แต่วันนี้เรายังช่วยชะลอไม่ให้โลกมีอุณหภูมิสูงไปกว่านี้ได้ ด้วยการ “ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ” ทั้งในระดับปัจเจก ครัวเรือนไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม

 

 

ชิน สะท้อนความคิดเห็นว่า หากเราช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ จากกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ ก็จะช่วยชะลอไม่ให้อุณหภูมิของโลกเราสูงไปกว่านี้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ช่วยกันลด ละ เลี่ยง กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิด การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งสมัยนี้มักจะมีผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา เพื่อช่วย ลดความร้อน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้ หนึ่งในนั้นคือ อิงค์เจ็ทพรินเตอร์รุ่นใหม่ของเอปสันที่ไม่ใช้ความ ร้อนในกระบวนการพิมพ์ (Heat-Free Technology) และปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยกว่าเลเซอร์พรินเตอร์ถึง 85%

 

ด้าน ดร.ธรณ์ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หากย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว การที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ เป็นแนวอนุรักษ์ มันอาจจะลำบากและขัดต่อวิถีชีวิตอย่างมาก แต่สมัยนี้ไม่ใช่ เพราะมีการพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่เอื้อให้ คนรักษ์โลกได้ง่ายขึ้น

 

“ล่าสุดทราบมาว่า 'เอปสัน' ผู้ผลิตพรินเตอร์ยักษ์ใหญ่ของโลก ได้พัฒนาพรินเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีหัวพิมพ์ที่เรียกว่า Heat-Free Technology พิมพ์ได้โดยไม่ต้องใช้ความร้อนและยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้จำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าจะมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง นี่คือการแสดงถึงความใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ต้นทาง การผลิตในโรงงาน ที่จะรวมถึงทุกๆ ขั้นตอนการผลิตที่ต้องลดการปล่อยคาร์บอนฯ ด้วย”

 

 

“ผมสนับสนุนเสมอนะ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจใด ที่พยายามลงทุน ในเรื่องของความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อม บอกได้เลยว่า 'เอปสัน 'มีความใส่ใจในการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ได้พูดคุยกับเอปสัน แล้วผมมีความสุข” ดร.ธรณ์ ทิ้งท้าย

[อ่าน 5,673]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซัมซุง เปิดตัว Samsung Galaxy Watch8 Series ตัวช่วยบอกสัญญาณก่อนร่างรวน
โก โฮลเซลล์ หนุนความยั่งยืนเครือเซ็นทรัล จัดงาน “จริงใจ มาหา...นคร ครั้งที่ 12”
จุดไฟเร่งความเร็วให้เต็มพิกัดกับ “ULTRA 6” รองเท้าฟุตบอลรุ่นใหม่ล่าสุดจากคอลเล็กชัน Untamed Pack
เจาะลึกเทรนด์ AI โลก บนเวที GFEAI2025 เมื่อไทยขึ้นแท่นผู้นำจริยธรรม AI แห่งภูมิภาค
เดนทิสเต้ จัดแคมเปญ “เก่าแลกใหม่” ตลอดปี ชวนคนไทยรีไซเคิลยาสีฟัน-แปรงสีฟัน
“น้องเกล” ดาราสาว สั่งแคป แท็กทีมแก๊งฮีลใจเพื่อนเกล “พี่จอง-คัลแลน และน้องเนย ButterBear” เผยความคิ้วท์กับ Galaxy Z Fold7 และ Z Flip7
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved