การคว่ำบาตรทางการเงิน
22 Jun 2022

 

ความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย - ยูเครน ได้เปิดความเสี่ยงต่อภาคการเงินโลก ทั้งนี้ มีพัฒนาการของเหตุการณ์สำคัญของการคว่ำบาตรทางการเงิน ดังนี้

  • ยกระดับการคว่ำบาตรของอเมริกา ยุโรป สหราชอาณาจักร ต่อบุคคล บริษัทและธนาคารที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองของรัสเซีย และอาจเป็นไปได้ที่จะยกระดับถึงการคว่ำบาตรทั้งประเทศ
  • ถอนรายชื่อรัสเซียออกจาก Most Favoured Nation (MFN: ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งเป็นสถานะซึ่งชาติหนึ่งให้แก่อีกชาติหนึ่งในการค้าระหว่างประเทศ) ซึ่งทำให้มีการเพิ่มภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าจากรัสเซีย
  • ธนาคารกลางจากรัสเซียถูกแช่แข็ง (Freeze) สินทรัพย์ที่ฝากไว้กับสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา เพื่อตัดสภาพคล่อง
  • พันธบัตร (Bond) ของทางการรัสเซีย ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือมาสู่ Junk โดย S&P (CCC-), Fitch (C), Moody's (Ca) ขณะที่ S&P และ Fitch เตรียมถอนอันดับเครดิตของรัสเซีย และทุกหน่วยงานออกภายในเดือนเมษายนนี้

 

 

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุเพิ่มเติมว่า

“ในกรณีที่เหตุการณ์เลวร้ายลงก็มีความเป็นไปได้ว่า 1) การคว่ำบาตรอาจจะถูกยกระดับสู่ Country Sanction หรือการคว่ำบาตรระดับประเทศ (Comprehensive Sanctioned Countries) โดยจะเริ่มจากสหรัฐอเมริกา ขณะที่สหภาพยุโรปอาจรอดูเหตุการณ์ก่อน เนื่องจากมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับรัสเซียสูง 2) มีความพยายามในการถอนธนาคารรัสเซียออกจาก SWIFT  (Society of Worldwide Interbank Financial Telecommunication) ซึ่งเป็นเครือข่ายการเงินระดับโลกที่ช่วยให้การโอนเงินข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้รัสเซียไม่สามารถทำธุรกรรมกับเงินทุกสกุลได้ ซึ่งการคว่ำบาตรทางการเงินของประเทศมหาอำนาจในโลกต่อรัสเซียก็จะทำให้การเคลื่อนไหวของตลาดการเงินผันผวนต่อเนื่อง เพราะสถานการณ์ยังไม่จบโดยง่าย

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางตรงจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนกระทบกับประเทศไทยไม่มากนัก เพราะธุรกรรมการค้าระหว่างรัสเซีย-ยูเครนกับไทยมีเพียง 0.6% ของธุรกรรมการค้าทั้งหมด แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ผลกระทบทางอ้อม นอกจากความผันผวนของตลาดการเงินโลกแล้ว ซึ่งจะส่งผลกระทบกับประเทศไทยแน่นอนแล้วก็คือ อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นจากราคาน้ำมัน และราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ในแง่ของอัตราดอกเบี้ยโลกที่นำโดยเฟดก็จะมีผลให้ต้นทุนทางการเงินปรับเพิ่มขึ้น โดยภายในปี 2565 จะมีตราสารหนี้ภาคเอกชนที่รอครบกำหนดอีกกว่า 7 แสนล้านบาท

 

 

นอกจากนี้ ในส่วนของต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนน้ำมัน หรือต้นทุนทางด้านวัตถุดิบ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ทำให้มาร์จิ้นในการดำเนินธุรกิจบางลง ทั้งนี้ ลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาก คงต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติมในแง่ของวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเพิ่มเติมในรายที่ยังประคองคำสั่งซื้อไว้ได้ รวมถึงประเด็นปรับโครงสร้างหนี้และคุณภาพหนี้ โดยรวมแล้ว สินเชื่อธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากต้นทุนน้ำมันและวัตถุดิบอาหารที่เพิ่มขึ้น จะมีสัดส่วนประมาณ 4-5% ของพอร์ตสินเชื่อรวม ขณะที่ ประเมินภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งปีนี้ที่ 4.5% ในกรณีฐาน”

 


 

Did You Know?

  • Stagflation กระทบใคร?

ผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทจะโดนเต็มๆ มากที่สุด และหาก Stagflation ยืดเยื้อ ความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจก็จะยิ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อประเทศในหลายด้าน เช่น ต้นทุนที่สูงขึ้นในการดำเนินนโยบายระดับมห ภาค

 

  • ลงทุนกับอะไรดี หากเกิด Stagflation?

สินทรัพย์การลงทุนที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ เช่น สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ และหุ้นวัฎจักร เช่น ธุรกิจพลังงานและธนาคาร ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นการลงทุนที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเฉพาะทาง และต้องติดตามข่าวสารจากตลาดการลงทุนอย่างใกล้ชิดควบคู่กันไปด้วย

 

  • ประเทศไทยแจ็กพอตเจอ Stagflation เท่านั้นหรือ?

งานนี้มีสิทธิ์เจอกันทั่วโลก และหลายๆ ประเทศต่างก็เตรียมรับมือกับสภาวะ Stagflation ที่จะมาเพราะราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการที่มากขึ้น ขณะที่กำลังการผลิตมีจำกัด นโยบายทางการเงินของภาครัฐ ในแต่ละประเทศที่จำเป็นต้องอัดฉีดสภาพคล่อง เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในช่วงก่อนหน้า รวมถึงวิกฤติการณ์โควิดก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยิ่งกว้างขึ้นทุกทีๆ

 


Fed Dot Plot คืออะไร

ประมาณการการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งสำรวจความเห็นจากคณะกรรมการบริหาร (board member) และผู้แทนจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แสดงผลออกมาโดยใช้แผนภาพแบบจุด เพื่อระบุเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยในแต่ละปีซึ่งคาดการณ์ได้ด้วยค่ามัธยฐาน (Median, ค่ากลาง)

สิ่งสำคัญที่ควรดู คือ ทิศทางการเคลื่อนที่ของ Dot plot ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากรรมการมีความเห็นไปต่อนโยบายการเงินแบบใด

 

[อ่าน 3,606]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สะสม” แค่กระแส หรือจงรักภักดี
ฉากทัศน์แห่งความรุ่งเรืองของธุรกิจ Art Toy ในประเทศไทย
The Charming Business of Art Toy
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เสริมแกร่งธุรกิจครอบครัวสู่การเติบโตยั่งยืน
Soft Power เอาจริงหรือ?
ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ไทย แนะแบรนด์เสริมกลยุทธ์
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved