ผลการศึกษา "Digital Lives Decoded” ฉบับที่ 2 เทเลนอร์เอเชีย ชี้การทำงานผ่านมือถือ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานได้จริง แต่นายจ้างยังต้องดูแลพนักงานให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
02 Nov 2022
  • พนักงานหญิงและผู้บริหารระดับสูงเห็นว่า การทำงานผ่านมือถือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้น
  • นโยบายและแนวปฏิบัติในที่ทำงานยังล้าหลัง ไม่เหมาะกับความเป็นจริงในการทำงานยุคใหม่ ทำให้พนักงานและองค์กรไม่สามารถผลักดันศักยภาพการทำงานได้อย่างเต็มที่
  • ผู้ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์ยังคาใจ ในประโยชน์ของเทคโนโลยีมือถือสำหรับการทำงาน
  •  

พฤศจิกายน 2565 – ผลการศึกษา "Digital Lives Decoded” ในหัวข้อโทรศัพท์มือถือกับการทำงาน เนื่องในวาระครบรอบ 25 ปีของเทเลนอร์เอเชีย สำรวจพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย มีการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อปรับตัวให้เข้ากับชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป จากวัฒนธรรมการทำงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นหลังการระบาดของโควิด -19 ระบุว่า ผู้คนในเอเชียหันมาใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อยกระดับชีวิตการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพและทักษะการทำงานที่เพิ่มขึ้น และการเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยเน้นย้ำถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับประเด็นความไว้วางใจและการควบคุมของหัวหน้างาน เนื่องด้วยรูปแบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการทำงานในสำนักงานและการทำงานแบบออนไลน์ ซึ่งก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างพนักงานและผู้บังคับบัญชา การศึกษาดังกล่าวสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ 8,000 รายใน 8 ประเทศ ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม)

 

ผลสำรวจในประเทศไทย

  • ในประเทศไทย ผู้หญิง (61%) จำนวนมากกว่าผู้ชาย (39%) รู้สึกว่าโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์พกพา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอาชีพและทักษะการทำงาน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 54% สำหรับผู้หญิงและ 52% สำหรับผู้ชาย
  • ผู้บริหารระดับ C-suite ในประเทศไทย (44%) มีแนวโน้มน้อยที่สุดที่จะรายงานประโยชน์จากเทคโนโลยีมือถือในการช่วยพัฒนาทักษะและอาชีพ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของผู้บริหารระดับ C-suite ในภูมิภาค (61%)
  • ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยมีความกังวลน้อยที่สุด (25%) เกี่ยวกับการก้าวให้ทันกับทักษะเทคโนโลยีมือถือ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโดยรวมที่ 42%
  • ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยมองว่าบริษัทของตนใช้ศักยภาพของโทรศัพท์มือถือและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่มากที่สุด (87%) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 76%
  • คนไทยมีความกังวลน้อยที่สุดว่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานเทคโนโลยีมือถืออย่างเต็มศักยภาพ (40%) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ (60%) ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดทักษะและความรู้ การไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรม และนโยบายสถานที่ทำงานที่ไม่เอื้ออำนวย
  • ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย (55%) เป็นกลุ่มที่มองโลกในแง่บวกมากที่สุดเกี่ยวกับการสร้างแหล่งรายได้ใหม่จากโทรศัพท์มือถือ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 52%

 

นายเยอเก้น โรสทริป หัวเรือใหญ่ แห่งเทเลนอร์เอเชีย กล่าวว่าการวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่าการเชื่อมต่อผ่านมือถือนั้นเป็นตัวกลางที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความก้าวหน้า ความยืดหยุ่น และโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่เรายังคงเห็นช่องว่างในการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวระหว่างประชากรในเมืองและชนบท บริษัทขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี ระหว่างอุตสาหกรรมต่างๆ หรือแม้แต่ผู้บริหารและพนักงานใต้บังคับบัญชา นอกจากนี้ ผู้คนยังมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับทักษะและความสามารถของตน ในการก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ประเด็นเรื่องความไว้วางใจในการทำงาน ยังส่งผลให้ผู้คนไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ จากการใช้งานโทรศัพท์มือถือในโลกการทำงาน ในยามที่ผู้คนใช้เวลาในการทำงานบนโลกออนไลน์มากขึ้น ผลสำรวจของเราก็ช่วยชี้ให้เห็นถึงเครื่องมือและองค์ความรู้ที่เหมาะสมในการลดช่องว่างเหล่านี้และยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานในโลกดิจิทัล

 

1. พนักงานหญิงและผู้บริหารระดับสูงเห็นว่า การทำงานผ่านมือถือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้น

ผู้หญิงจำนวนมากรายงานว่าการใช้โทรศัพท์มือถือทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดย 54% ของผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิง เมื่อเทียบกับผู้ชายที่ 46% ยังกล่าวด้วยว่าโทรศัพท์มือถือช่วยเชื่อมต่อพวกเขาเข้ากับโอกาสในโลกการทำงานและอาชีพที่ดีขึ้น ในบังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และปากีสถาน ผู้หญิงเป็นผู้นำในการใช้มือถือเพื่อค้นหาวิธีการสร้างรายได้รูปแบบใหม่ๆ

ผู้บริหารระดับ C-suite ยังกล่าวว่าได้รับประโยชน์จากการใช้มือถือในที่ทำงาน เมื่อเทียบกับพนักงานในระดับอื่นๆ เกือบสองในสาม (61 %) ของผู้บริหารชุด C-suite กล่าวว่า โทรศัพท์มือถือช่วยพัฒนาอาชีพและทักษะอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับ 47% ของพนักงานระดับปฏิบัติการ พวกเขายังมีแนวโน้มที่จะเห็นผลิตภาพการทำงานที่สูงขึ้น โดย 60% ของผู้บริหารระดับ C-suite เมื่อเทียบกับ 52% ของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ กล่าวว่าผลิตภาพการทำงานนั้นดีขึ้นกว่า 20% อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูง C-suite (53 %) ส่งสัญญาณถึงความกังวลมากกว่าพนักงานระดับอื่นๆ (โดยเฉลี่ย 39 %) เกี่ยวกับทักษะของพวกเขาที่ก้าวไม่ทันกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เร่งรีบเช่นนี้

 

2. นโยบายและการปฏิบัติในที่ทำงานล้าหลัง

เกือบ 7 ใน 10 (69 %) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าการเชื่อมต่อมือถือมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จขององค์กร อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนใกล้เคียงกัน (62 %) รู้สึกว่ายังมีช่องว่างที่จะนำประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีมือถือมาใช้พัฒนาได้ดีขึ้น

ผู้คนมองว่าการขาดทักษะและความรู้ (49 %) การไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรม (31 %) และนโยบายสถานที่ทำงานที่ไม่เอื้ออำนวย (28 %) เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการใช้โทรศัพท์มือถือในที่ทำงาน

ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามได้ระบุถึงจุดที่นายจ้างสามารถนำเทคโนโลยีมือถือเข้ามาช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับพนักงานได้ กล่าวคือ กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ (62 %) และระบบงานบริหารทรัพยากรบุคคล (54 %)

 

3. ประเด็นความไว้วางใจกำลังเป็นปัญหามากขึ้น

ในขณะที่พนักงานในปัจจุบันเห็นคุณค่าของเทคโนโลยีมือถือที่มีต่อชีวิตการทำงาน (มีเพียง 5% เท่านั้นที่เชื่อว่าการใช้โทรศัพท์มือถือในการทำงานจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตนั้นลดลง) การกำหนดมาตรการป้องกันเพื่อสร้างความไว้วางใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่มุ่งสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล สิ่งนี้จะทวีความสำคัญในอนาคต เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากระบุว่า พวกเขาคาดว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการทำงานจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (60 %) และการขาดความไว้วางใจในเทคโนโลยี (40 %) เป็นประเด็นหลักที่ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าทำให้พวกเขาไม่สามารถใช้เทคโนโลยีมือถือเพื่อประโยชน์ที่มากขึ้นในที่ทำงาน

 

4. สิงคโปร์คาใจมากที่สุด กับประโยชน์ของโทรศัพท์มือถือในที่ทำงาน

ผู้ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์มีความค้างคาใจมากที่สุดเกี่ยวกับประโยชน์ของโทรศัพท์มือถือต่อชีวิตการทำงาน โดยมีเพียง 35 % (เทียบกับค่าเฉลี่ยในภูมิภาคที่ 55 %) ที่ระบุว่าโทรศัพท์มือถือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตนมากกว่า 20 % ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์ 69 % (เทียบกับค่าเฉลี่ยในภูมิภาคที่ 90 %) รู้สึกว่าโทรศัพท์มือถือมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะของพวกเขาในที่ทำงาน

ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ทั่วทั้งภูมิภาคยังคงเชื่อว่าการใช้โทรศัพท์มือถือในการทำงานนั้นช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต แต่ในสิงคโปร์มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 2 ใน 10 เท่านั้นที่รู้สึกว่าโทรศัพท์มือถือช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ รั้งท้ายในบรรดาประเทศที่ได้รับการสำรวจ อีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามชาวสิงคโปร์จำนวน 11% ยังกล่าวด้วยว่าโทรศัพท์มือถือนั้นส่งผลให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาลดลงอย่างมาก

 

รับชมวิดีโอ ผลการศึกษา "Digital Lives Decoded” ในหัวข้อ โทรศัพท์มือถือกับการทำงาน

  • การทำงานจากที่ไหนก็ได้ เป็นอาชีพที่คุณต้องการหรือไม่ ? https://youtu.be/fKqGdLW1_3s
  • ในโลกการทำงานยุคใหม่ ความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญ https://youtu.be/aWTlf45QaNA
  • สร้างรายได้จากโทรศัพท์มือถือ https://youtu.be/qF1eQsAn-Cs
[อ่าน 904]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
UNIQLO x Marimekko คอลเลคชันลิมิเต็ดเอดิชันประจำฤดูร้อน
ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานไตรมาส 1/2567 มีกำไรภายหลังการปรับปรุง 802 ล้านบาท พร้อม EBITDA เพิ่มขึ้น 5 ไตรมาสติดต่อกัน
อาริกาโตะ ชวน “คาลพิสแลคโตะ” มารังสรรค์เครื่องดื่มใหม่แสนอร่อย กับ “Arigato Drinking Yogurt”
KBank Private Banking เผยกลยุทธ์ปี 67 ชู ‘สินทรัพย์นอกตลาด’ ปลดล็อกทางเลือกลงทุน
เรดบูล เอเนอร์จี้โซดา จัด Esports ทัวร์นาเมนต์ RoV พร้อมหนุนจัดเทศกาลกีฬากรุงเทพ และ Bangkok Esports 2024

TOA โชว์วิชั่นผู้นำนวัตกรรมรักษ์โลก ชูแนวคิดความยั่งยืน “Future Tree” ในงานสถาปนิก’67
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved