ไพศาล อ่าวสถาพร สร้างการเติบโตให้ ‘บิสโตร เอเชีย’ ด้วยนวัตกรรม และ Business Model
28 Sep 2023

 

หน้าที่สำคัญของ บริษัท บิสโตร เอเชีย จำกัด ในเครือไทยเบฟ ทำธุรกิจอาหารตะวันตก และอาหารเอเชีย รวมถึงอาหารไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไทยเบฟ นำเข้ามาช่วยเติมเต็มธุรกิจอาหารให้กับเครือไทยเบฟ ครอบคลุมตั้งแต่ร้านอาหารไทย จีน อาเซียน อาหารตะวันตก ไปจนถึงตัวธุรกิจฟู้ดคอร์ท

 


 

ซึ่งมีแบรนด์ร้านอาหารในเครือประกอบไปด้วย แบรนด์ร้านอาหารไทยอย่าง บ้านสุริยาศัย (BAAN SURIYASAI) ไฮด์ แอนด์ ซีค แอทธินี (HYDE & SEEK Athenee) หม่าน ฟู่ หยวน (MAN FU YUAN) โซ อาเซียน (SO Asean Café & Restaurant) สโมสรราชพฤกษ์ (Rajpruek Club) บริการจัดเลี้ยง VANTAGE POINT แบรนด์ร้านอาหารสไตล์ตะวันตก และศูนย์อาหารฟู้ด สตรีท (Food Street) ที่ปัจจุบัน เปิดให้บริการไปแล้วที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ อาคาร CW Tower รัชดา และอาหารเดอะปาร์ค พระราม 4

 

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แบรนด์ในพอร์ตทั้งหมด ต่างมีการนำเทคโนโลยี เข้ามาเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะกับการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ 

 

 

'คุณแซม' ไพศาล อ่าวสถาพร กรรมการผู้จัดการของบริษัท บิสโตร เอเชีย จำกัด บริษัทในเครือไทยเบฟ บอกกับเราว่า 

ธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบัน กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาของการ Transformation ทั้งในเรื่องของ Technology และ Information ที่เข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมนี้

ไพศาล บอกว่า ตัว Technology กับ Information เข้ามาดิสรัปต์ในอุตสหกรรมร้านอาหารในปัจจุบันค่อนข้างมาก โดยช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีบทบาทออกมาค่อนข้างจะเด่นชัด  คนไทยคุ้นเคยกับการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน เมื่อโควิดผ่านพ้นไป และ Dining กลับมาคึกคัก ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการทำตลาดของแบรนด์ร้านอาหารอย่างมาก

 


“ยกตัวอย่างเช่น Ordering หรือการสั่งอาหาร สมัยก่อนเราให้สแกนเป็นเมนูและออร์เดอร์จากโทรศัพท์ หรือออร์เดอร์จากที่เป็นสกรีนทัช เขาจะไม่คุ้นเคย

แต่เดี๋ยวนี้เขาจะคุ้นเคยมาก แล้วเขาก็รู้สึกว่ามันชอบ เพราะง่ายกว่า ไม่ต้องมานั่งเรียกพนักงานเสิร์ฟมาแล้วออร์เดอร์

เขาสามารถทำเองได้ที่โต๊ะ หรือที่เคาน์เตอร์ที่โชว์การปรุงอาหารได้เลย ทำให้แอปพลิเคชันสำหรับการสั่งอาหารเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไปแล้ว

เพราะความคุ้นเคยนี้ กลายเป็นพฤติกรรมที่ทำประจำ จนเป็นสิ่งที่พวกเขามองว่าร้านอาหารต้องมีในส่วนนี้”


 

 

เขายังยกตัวอย่างให้เห็นถึงการปรับตัวในการทำตลาดของร้านอาหารในเครืออย่าง VANTAGE POINT ที่ลูกค้าไม่ต้องสั่งจากโต๊ะ แต่ใช้รูปแบบของการเดินไปสแกนที่เคาน์เตอร์อาหารแทน ทำให้รู้สึกสนุก และรู้สึกว่า เขาสามารถทำอะไรด้วยตัวเอง สั่งได้เลย โดยไม่ต้องรอเด็กเสิร์ฟมารับออร์เดอร์ หรือรอเอาเมนูมาให้ 

เสมือนกับการเป็นภาคต่อของความเคยชินจากการสั่งผ่านแอปเดลิเวอรี่ เป็นการ Ordering ที่เขาคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้ เป็นการออร์เดอร์แล้วนั่งกินที่ร้าน ไม่ใช่ออร์เดอร์แล้วรอคนมาส่ง

 


สมัยผมทำร้านบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นใหม่ๆ อาหารที่ผ่านสายพานมันเป็นเรื่องที่ว้าว แต่ในปัจจุบัน ร้านอาหารใหม่ๆ ที่นำเอาแอปมาใช้ในการสั่งอาหาร กลับกลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าชอบ จนเป็นเรื่องที่ต้องมีเด่นชัดมาก แล้วมันเป็นการลดการใช้คนลง หันมาใช้โรบอตแทน

มัน Touch กับเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี  จนกลายเป็นว่า เขาไม่คุ้นเคยกับการสั่งผ่านคน เขาดูเมนูบนมือถือเขาเอง รู้สึกว่าเขา Own Platform แล้ว Own อะไรได้

สมัยก่อนเราไม่คุ้นนะ มานั่งสั่งอะไรแล้วต้องสแกน เอาเมนูเป็นเล่มมา เดี๋ยวนี้ เมนูเป็นเล่มเราจะเริ่มเห็นน้อยลง”


 

ผู้บริหารของบิสโตร เอเชีย หรือคุณแซม กล่าวเสริมอีกว่า

อีกความเปลี่ยนแปลงที่ร้านอาหารต้องให้ความสำคัญตามมุมมองของเขา ก็คือ ความ Dynamic หรือความ Flexibility ในร้านอาหารต้องมีมากกว่าเดิม จากการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดร้านอาหารบ้านเรา ความ Dynamic ที่ว่านี้ ต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับลูกค้าได้มากขึ้น

ต่างจากก่อนหน้านั้น ที่ลูกค้าเลือกเฉพาะเจาะจงว่าจะใช้บริการกลุ่มไหน หรือร้านอาหารประเภทไหน แต่ในปัจจุบัน ลูกค้ามีความหลากหลายทั้งเรื่องของประเภทอาหาร และรูปแบบการใช้บริการ จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับความแตกต่างนั้นๆ ให้ได้

เช่นเดียวกับเรื่องของความ Flexibility หรือความยืดหยุ่นที่ต้องมีมากขึ้นจากเดิม

เพราะการแข่งขันในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่การส่งมอบประสบการณ์การใช้บริการแบบธรรม แต่ต้องเป็น Beyond Great Customer Experience ไม่ใช่แค่บริการที่ดีขึ้น แต่มันต้องไปมากกว่านั้น คือ มันต้อง Personalize มากขึ้น

จากเหตุผลข้างต้น ทำให้เกิด Business Model ใหม่ๆ เพื่อรองรับทั้งความ Dynamic และความยืดหยุ่นในการให้บริการ รวมถึงรองรับการสร้าง Beyond Great Customer Experience ให้มันมีมากขึ้น

 

การทำร้านอาหารในเครืออย่าง VANTAGE POINT หรือ หม่าน ฟู่ หยวน เป็นตัวอย่างที่ดีในการปรับกลยุทธ์ในเรื่องที่ว่านี้ 

เพราะร้านอาหารทั้ง 2 แบรนด์ อยู่ในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยเฉพาะ VANTAGE POINT ที่มีพื้นที่ถึง 1,000 ตารางเมตร หากวันไหนไม่มีงานที่เข้ามาจัดในศูนย์การประชุมฯ ทำให้แทบจะไม่มีลูกค้าเลย ต่อให้มีการจัดงาน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะมีลูกค้าเข้ามาเต็มร้าน มันยากมาก

ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์ของร้าน พร้อมออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่น ทำโมเดลที่มัน Flexible มากขึ้น ลูกค้าอยากกินแบบไหนก็ได้ จะกินแบบ Single Dish หรือจานเดียว ก็ได้ จะกินแบบ Lunch หรือมื้ออาหาร หรือจะกินทั้งแบบ Quick Lunch ในราคาที่ไม่แพงนักก็ได้ หรือจะเข้ามากินแบบ Full Meal ก็จะมีทั้งที่เป็น อะลาคาร์ท และบุฟเฟต์ให้เลือก

 

ความหลากหลายที่นำเสนอนี้ จะเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องของความคุ้มค่า คุ้มราคา หรือ Value for money

ที่ลูกค้าจ่ายแค่ 88 บาท สำหรับอาหารจานเดียวก็สามารถมานั่งทาน พร้อมกับนั่งชมวิวสวยของสวนเบญจกิติ ทั้งในส่วนของสวนและทะเลสาบ

หรือถ้าเป็นบุฟเฟต์ ก็มีให้เลือก 3 เทียร์ เป็นความหลากหลายของรูปแบบการใช้บริการที่ค่อนข้างจะได้ผลดี เพราะมีทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น

 

นอกจากความหลากหลายในเรื่องของรูปแบบการให้บริการแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ การนำเสนอความคุ้มค่า คุ้มราคา หรือ Value for money

ไพศาล มองว่า เป็นกลยุทธ์ราคาที่เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวดีนัก และคนไทยก็ระมัดระวังในการใช้จ่าย โดยมองหาความคุ้มค่า คุ้มราคา อยากทานอาหารพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงได้ง่าย

จึงมีการเพิ่มทางเลือกให้มากมาย ทั้งอาหารจานเดียว ที่ราคาเริ่มต้นแค่ 88 บาท หรือการทำตลาดแบบบุฟเฟต์ทีมีให้เลือกจ่ายถึง 3 เทียร์ เป็นต้น

 

 


“ทุกวันนี้ มันต้องแตกโมเดลออกไป ร้านอาหารหลายแบรนด์ เริ่มที่จะแตกออกไปมากกว่า 1 โมเดล เพื่อให้มันรู้สึกว่าไดนามิกและยืดหยุ่นในการทำตลาดที่ลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ขณะเดียวกันความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มแต่ละเจน มันก็แตกต่างกันออกไป จึงต้องมีความยืดหยุ่นของโมเดลในการทำตลาด อาจจะบอกได้ว่า

มันหมดยุคของ One Single Model ที่มีเพียงโมเดลในการทำตลาดเพียงแค่โมเดลเดียว อย่างการขายบุฟเฟต์ ก็มีแต่บุฟเฟต์เหมือนในอดีตแล้ว”


 

กลยุทธ์ที่ว่านี้ ถูกปรับและนำไปใช้กับร้านอาหารจีน หม่าน ฟู่ หยวน ที่ตั้งอยู่ในศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เช่นเดียวกัน 

โดยทำแบบเดียวกัน กับ VANTAGE POINT หลังจากที่ก่อนหน้านั้น มีการทดลองทำบุฟเฟต์ในวันเสาร์-อาทิตย์ วันธรรมดาไม่มี ปรากฏว่า วันเสาร์-อาทิตย์คนเต็มร้าน เลยต้องปรับมาแบบแวนเทจ พ้อยท์ ที่อยากกินแบบไหน กินตอนไหนมาได้เลย ปรากฏว่ามันเวิร์กกว่า ในช่วงแรกที่ทำเฉพาะเสาร์-อาทิตย์

 


ก่อนหน้านั้น ด้วยความที่ VANTAGE POINT มีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่คือ 1,000 ตารางเมตร และตั้งอยู่ในศูนย์ฯ หากวันไหนไม่มีการจัดงาน ก็แทบจะไม่มีลูกค้า

พอเราปรับโมเดลในการทำตลาดใหม่ พบว่า ด้วยความหลากหลายที่นำเสนอ ทำให้สามารถดึงคนเข้าร้านเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่บางวันไม่มีการจัดงานในศูนย์ฯ

เช่นเดียวกับร้านหม่าน ฟู่ หยวน ทำให้ร้านอาหารทั้ง 2 แบรนด์ กลายเป็น Destination ที่คนมุ่งมาใช้บริการ ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้มีตัวเลขการเติบโตของยอดขายออกมาค่อนข้างดี”


 

 

เมื่อมองเข้ามาที่ธุรกิจในเครือของบิสโตร เอเชีย แล้ว พบว่า การขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจ จะสอดรับกับ Passion 2025 ที่ประกอบไปด้วย

  • Build หรือการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ผ่านทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามายกระดับ และเพิ่มตลาดที่น่าสนใจ

  • Strengthen หรือการเพิ่มความแข็งแกร่งให้ธุรกิจหลัก เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในระดับอาเซียน

  • Unlock หรือการนำศักยภาพของบริษัทมาก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุด ทั้งมุมทรัพยากรภายใน และเครือข่ายพันธมิตร

 

“ปัจจุบัน เรายังอยู่ในสเตปของการ Build หรือการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ผ่านทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามายกระดับ และเพิ่มตลาดที่น่าสนใจ ทั้งการ Build ในเรื่องของแบรนด์ และการสร้างฐานลูกค้า แน่นอนว่า การมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ยังคงมีออกมาอย่างต่อเนื่อง

เร็วๆ นี้ จะมีการเข้าไปเปิดในโครงการ ONE BANGKOK ที่จะมีทั้งแบรนด์เดิมในรูปแบบใหม่ และแบรนด์ใหม่ๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะให้แมทช์กับกลุ่มเป้าหมายของโครงการในแต่ละโซน”

 

ทั้งหมดนั้น จะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนการเติบโตให้กับ บิสโตร เอเชีย ในระยะยาว...

[อ่าน 9,763]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดใจ ‘เลิศรินิญฒ์ ศรีสุคนธ์’ กับเบื้องหลังการปั้น ‘Cafe Chilli’ ให้เป็นแบรนด์เรือธง ของ สะไปซ์ ออฟ เอเซีย
ทีเด็ด POP MART เจาะตลาดไทยอย่างไร ให้มัดใจผู้บริโภคอยู่หมัด
‘เดอะคลีนิกค์’ เผยผลงานโดดเด่นปี 66 โกยรายได้กว่า 2.3 พันล้าน เดินหน้าบุกตลาดความงาม
“เพราะชีวิตคือบททดสอบ” เปิดเรื่องราวชีวิตหญิงแกร่ง CHRO แห่งทรู คอร์ปอเรชั่น
‘ไพศาล อ่าวสถาพร’ กับเบื้องหลังการปั้น ‘บิสโตร เอเชีย’ ให้มียอดขายเติบโตขึ้นถึง 70%
ศุภลักษณ์ อัมพุช กับ New Era ของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่เป็นมากกว่าแค่ช้อปปิ้ง แต่คือการสร้างย่านการค้า
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved