เจาะลึก 10 เรื่อง “สามมิตร” ที่คนไทยยังไม่รู้
17 Oct 2019

 

หากเอ่ยชื่อ “สามมิตร”  หลายคนอาจจะพอคุ้นหู แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าสามมิตรดำเนินธุรกิจอะไร แต่สำหรับคนรุ่นราววัยกลางคนขึ้นไป คงจะคุ้นเคยกับ “หลังคาเหล็กสามมิตร” และความเป็นเจ้าพ่อรถบรรทุกรถพ่วง ซึ่งตลอดระยะเวลา 60 ปี กับการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยนั้น สามมิตร มีอีกหลายแง่มุมที่คนไทยอาจไม่เคยรู้  

 

 

1. สามมิตร แปลตรงตัวว่า มิตรสามคน

“สามมิตร” มาจากคำว่า 三 (ซัน) สาม ซึ่งเป็นภาษาจีน และ友 (โหย่ว) มิตร ซึ่งหมายถึง มิตรที่ดี 3 คน โดยคุณสุพจน์  โพธิ์ศิริสุข  และเพื่อนชาวไทยเชื้อสายจีนอีกสองคน ที่ได้ร่วมตัวเพื่อทำธุรกิจร่วมกัน

“สามมิตร” 三友ยังพ้องกับคำในภาษาจีนซึ่ง หมายถึงต้นไม้มงคล 3 ต้น  ต้นสน ต้นบ๊วย และ ต้นไผ่ ตามความเชื่อแบบชาวจีนนั้นสื่อถึง ความอดทน ความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญเติบโตอย่างมีคุณธรรม และคุณสุพจน์ ได้ฝากไว้ให้เป็นคำสอน และกลายมาเป็นวัฒนธรรมของชาวสามมิตร สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

2. สินค้าชิ้นแรกของสามมิตรคือแหนบ

จุดเริ่มต้นของการผลิตแหนบรถบรรทุก เกิดจากวิสัยทัศน์ของ คุณสุพจน์ โพธิ์ศิริสุข ผู้ก่อตั้งบริษัทสามมิตร ในปี 2502 ซึ่งขณะนั้นทำงานเป็นผู้จัดการฝ่ายขายให้กับ บริษัท สยามกลการ จำกัด  ตัวแทนจำหน่ายของแบรนด์นิสสัน ทำให้ทราบว่าตลาดมีความต้องการอะไหล่อย่างแหนบและสปริง  จึงมองเห็นโอกาสคิดพัฒนาแหนบรถยนต์ขึ้นเองเพื่อรองรับตลาดที่กำลังโต ด้วยความรู้ด้านช่างที่ติดตัวมาจากเมืองจีน และประสบการณ์ลองผิดลองถูกทดสอบคุณภาพกว่า 3 ปี จึงได้แหนบรถยนต์สำเร็จรูปที่ใช้งานได้จริงออกมาจำหน่าย ทำให้สามมิตรกลายเป็นบริษัทแรกของไทยที่ผลิตแหนบรถยนต์ได้เอง ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ จากนั้นคุณสุพจน์จึงเรียกตัว คุณ เชาว์ โพธิ์ศิริสุข ลูกชายในวัย 19 ในเวลานั้นมาจากเมืองจีน เพื่อมาช่วยกันดูแลธุรกิจจนเป็นผู้บริหารเจนเนอเรชั่น ที่ 2 ในเวลาต่อมา

 

 

3. ยืนที่หนึ่งเรื่องตัวถังรถบรรทุก

จากผู้ผลิตแหนบสามมิตรเล็งเห็นโอกาสเติบโตในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอีกครั้ง โดยช่วงหลังสงครามเวียดนามประมาณ ปี 2508 อเมริกาเริ่มมีการลงทุนในประเทศไทย มีการเริ่มสร้างสาธารณูปโภค สนามบินสร้างถนน จึงเกิดความต้องการใช้รถดัมพ์ (dump) เป็นจำนวนมาก ในขณะที่รถดัมพ์ที่ทำจากเหล็กยังต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทำให้สามมิตรตัดสินใจเลือกผลิตตัวถังเหล็กสำหรับรถดัมพ์ ประจวบเหมาะกับนโยบายของรัฐบาลที่มีจอมพลสฤษณ์ ธนะรัช เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มีนโยบายส่งเสริมการลงทุน และให้อุตสาหกรรมรถยนต์ต้องใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ ทำให้สามมิตรเติบโตอย่างรวดเร็ว และขึ้นแท่นเป็นผู้ผลิตตัวถัง (Body Maker) รายใหญ่ของประเทศ และยังรับจ้างผลิตตัวถังให้กับพาร์ทเนอร์ต่างชาติรายใหญ่ทั้งค่ายยุโรป ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ปัจจุบันผลิตตัวถังจำหน่ายออกไปแล้วกว่า 300,000 คัน  และล่าสุดยังเป็นเจ้าของนวัตกรรมเหล็กพิเศษ “ไฮ เทนไซล์ (Hi Tensile)” เจ้าเดียวในตลาด ที่ทำให้รถมีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น แต่น้ำหนักเบาลงอย่างมาก เช่น เซมิเทรลเลอร์ไฮเทนไซล์เหล็กพิเศษที่มีน้ำหนักเบากว่ารถคู่แข่งในตลาดถึง 2 ตัน

 

 

4. สามมิตรบุกจีนไม่ใช่เพื่อขายแต่เพื่อ supply chain

นอกเหนือจาก 8 โรงงานผลิตในประเทศแล้ว สามมิตรเป็นบริษัทไทยไม่กี่รายที่มีโรงงาน และฐานการผลิตที่ประเทศจีน ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เลือกเจาะตลาดจีน เพื่อมุ่งหวังนำสินค้าไปขาย เนื่องจากจำนวนประชากรและกำลังซื้อที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่สามมิตรเลือกที่จะใช้เป็นฐานการผลิต เพราะสามมิตรเล็งเห็นว่าจีนเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตและนวัตกรรมของโลก จีนมีทรัพยากรที่หลากหลายทั้งเทคโนโลยี บุคลากร และโลหะวิทยาโดยเริ่มมีการลงทุนในประเทศจีนตั้งแต่ปี 2535  ในด้าน R&D และ Supply Chain เพื่อเป็นฐานผลิตและส่งออกไปยังประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งมีถึง 4 โรงงานในเมืองฉางชุน และ หนานจิง โดยใช้นวัตกรรมการผลิตแบบ Knock-down ชิ้นส่วน และส่งไปประกอบยังประเทศปลายทาง  ทำให้สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการผลิตได้ สามมิตรเป็นบริษัทคนไทยหนึ่งในเพียงไม่กี่รายที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศจีน

 

 

5. จากผู้ผลิตแหนบรถยนต์ สู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้กับผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ของโลก

จากความสำเร็จในการผลิตแหนบรถยนต์ ทั้งรถปิคอัพ รถบรรทุก รถเทรลเลอร์ และรถหัวลาก รวมไปถึงตัวถังรถบรรทุกให้ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศแล้ว สามมิตรยังขยายสายการผลิตไปสู่การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ระดับชั้นนำ (Tier One)ให้กับผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น Toyota,Hino, Isuzu และ อีกมากมาย โดยมีโรงงาน OEM ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรม     เกทเวย์  จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

 

6. หลังคาเหล็กเจ้าเดียวในไทยและในโลกที่สามารถนำชิ้นส่วนไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด

หลังคาเหล็กรถปิคอัพ คืออีกหนึ่งโปรดักส์แชมเปี้ยนของสามมิตร แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้คือ ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ เลือกผลิตจากไฟเบอร์กลาส แต่สามมิตรฉีกตลาดด้วยการใช้ “เหล็ก” มาผลิตเป็นหลังคาโดยมีขั้นตอนการออกแบบการผลิตและการทดสอบเหมือนรถยนต์ ซึ่งนอกจากจะมีโครงสร้างที่แข็งแกร่ง รองรับแรงกระแทกในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุได้ดีแล้วหลังคาเหล็กสามมิตร ยังสามารถ Recycle ได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลังคาเหล็กสามมิตร ยังได้รางวัล Ron Wester Award ด้านThe Best Engineer Product จากประเทศสหรัฐอเมริกา และยังได้เครื่องหมายสินค้าฉลากเขียวจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยปัจจุบันหลังคาเหล็กสามมิตรส่งออกไปทั่วโลก และ เป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ ซึ่งตั้งมาตรฐานสินค้าไว้สูง โดย ปัจจุบันตลาดต่างประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และการรีไซเคิล ทำให้หลังคาเหล็กของสามมิตรได้รับการตอบรับดีในตลาดต่างประเทศ

 

7. ผู้พัฒนานวัตกรรมเพื่อเครื่องยนต์ CNG รายแรกของไทย

ในยุคเริ่มต้นที่ค่าน้ำมันพุ่งกระฉูด สามมิตร คือผู้นำด้านยานยนต์ดัดแปลง (pick up conversion) ทั้งเครื่องยนต์และบอดี้ เพื่อรองรับการใช้งานจากพลังงานทางเลือก เช่น เครื่องยนต์ CNG  ที่ช่วยในเรื่องของการประหยัดน้ำมัน  โดยสามมิตรร่วมกับบริษัท ปตท จำกัด ( มหาชน) คิดค้นและพัฒนาระบบ CNG Vehicle เพื่อให้เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลสามารถทำงานได้ทั้ง 2 ระบบ คือ ทั้งน้ำมัน และ CNG 

 

นอกจากนี้ สามมิตร ยังเป็นผู้ประกอบการไทยเพียงรายเดียวที่ได้ร่วมพัฒนาระบบ CNG สำหรับยานยนต์ให้กับ บริษัท Toyota ผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น และสามารถผลิตขายระดับ Mass Scale ในตลาด ในประเทศ

 

8.ผู้พัฒนารถขนส่งCNG Gas ไทยรายแรกร่วมกับบริษัท ปตท

รถยนต์ใช้แก๊สจะไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ถ้าไม่มีสถานนีเติมแก๊สการสร้างสาธารณูปโภคที่ต้องสามารถรองรับปริมาณการใช้แก๊สที่มหาศาลที่หลายๆประเทศใช้กันคือการวางท่อแก๊สแต่เนื่องด้วย

ระยะเวลาที่จำกัด อีกทั้งการลงทุนที่สูงมากสามมิตรได้รับความไว้วางใจจากปตทในการพัฒนารถพ่วง ขนส่ง CNG Gas

 

9. ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจสามมิตรไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

กว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่ในวันนี้ “สามมิตร” ต้องผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมานับครั้งไม่ถ้วน ในปี 2516-2517 ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตพลังงานน้ำมันระดับโลก ฉุดราคาน้ำมันไทยพุ่งขึ้น 3 เท่าตัว ดีมานด์การใช้รถตกต่ำสุดขีด จนต้องหยุดการผลิตหันไปผลิตสินค้าอื่นๆ เพื่อให้พนักงานอยู่รอด ด้วยการให้ทีมช่าง ทีมวิศวกร มาทำเครืองจักรกลการเกตร รถเกี่ยวนวดข้าว จานไถ ใบมีด ทำให้ดีมานด์สินค้าในด้านการเกษตรเพิ่มขึ้นมา มาในปี 2540  สามมิตรต้องเจอมรสุมลูกใหญ่อีกครั้งกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ทำให้ต้องปิดโรงงานที่ร่วมทุนไว้ทั้งหมด เพื่อรักษาบริษัทแม่ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ไว้ให้ได้ การแบกรับภาระหนี้นับพันล้านที่ทวีขึ้น เพราะบริษัทมีการกู้เงินเพื่อการลงทุน ทำอย่างไรจะอยู่รอดและหาทางออกจากวิกฤตนี้ให้สำเร็จ ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ วิธีคิดของ ดร.เชาว์ โพธิ์ศิริสุข ผู้นำทัพรุ่นที่2 คือต้องเก็บส่วนที่สำคัญที่สุดไว้ นั่นคือ “บุคลากร”ใช้ know how ของช่างบวกกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ต่อยอดไปสู่การพัฒนาและคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ เช่น รับจ้างซ่อมรถขยะของกทม. ที่ไม่มีนโยบายซื้อรถใหม่ในช่วงวิกฤต ขอความร่วมมือพนักงาน ลดเวลาการทำงาน ลดเงินเดือน เพื่อให้บริษัทอยู่ได้ และพนักงานอยู่รอด จากนั้นสามมิตรก็พลิกวิกฤตเป็นโอกาสมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารของเจนเนอเรชั่นที่ 3 แล้ว

 

10. สามมิตรไม่ได้มีแค่รถบรรทุกรถพ่วงและหลังคาเหล็กรถปิคอัพ

แม้ปัจจุบันจะเป็นเบอร์ 1 ในสายการผลิต แต่สามมิตรก็มีผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบของ service & solutions platform อีกมากมาย อาทิ

1. ศูนย์บริการรถบรรทุกและรถพ่วง SMM PRO TRUCK ที่ให้บริการซ่อมบำรุงรถบรรทุกและรถพ่วงที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ

2.ในด้านอะไหล่รถบรรทุกและรถเทรเลอร์สามมิตรเริ่มจากการเป็นผู้ผลิตแหนบรายแรกของประเทศมาวันนี้สามมิตรมีสินค้าอะไหล่สำหรับรถบรรทุกและรถเทรเลอร์ที่ครบวงจรที่สุดในประเทศอาทิระบบไฮดรอลิคสำหรับรถดัมพ์ ระบบช่วงล่างสำหรับรถเทรลเลอร์และอะไหล่คุณภาพอื่นๆ

3. สามมิตรยังต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้จากการเป็น Tier One ให้กับบริษัทยานยนต์ชั้นนำไปสู่ธุรกิจLogistic ด้านอื่นๆอีกอาทิสินค้าด้าน Ground Service Equipment ที่ใช้ในสนามบินเป็นต้น

4. บริการ Sammitr Smart Drive รถเพื่อการท่องเที่ยว  และ 5. Sammitr Smart Mobility - SSM Digital Platform ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มที่จะเชื่อมโยงอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในอนาคต เป็นต้น

 

ร่วมสัมผัสนวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์โลจิสติกส์แห่งอนาคต ผ่านประสบการณ์ตลอด 60 ปี ของสามมิตร และจับตาอนาคตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศ

 

ในงาน The Next Evolution of World Class Logistics Solution พบกับนิทรรศการด้านเทคโนโลยียานยนต์โลจิสติกส์แห่งอนาคต และงานฟอรั่ม ด้านยานยนต์โลจิสติกส์ ร่วมอัพเดทนวัตกรรม เทคโนโลยี พร้อมกับการแลกเปลี่ยนความรู้ของกูรูชั้นนำของวงการดิจิทัลและนวัตกรรมระบบโลจิสติกส์ยานยนต์ไทย ในวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562 เวลา 11.00 – 20.00 น. ณ อิมแพคเอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ ฮอลล์ 9-10 เมืองทองธานี

สามารถเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่เวลา 11.00 – 20.00 น. และลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟอรั่ม ช่วงบ่ายในเวลา 13.30-16.45 น.ได้ที่ https://www.eventpop.me/e/6863 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

[อ่าน 2,502]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Charming Business of Art Toy
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เสริมแกร่งธุรกิจครอบครัวสู่การเติบโตยั่งยืน
Soft Power เอาจริงหรือ?
ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ไทย แนะแบรนด์เสริมกลยุทธ์
The Importance of Building ​Nation Brand
9 แนวทางการสื่อสารความยั่งยืนให้กับองค์กร Effective Sustainability Communications
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved