เมื่อร้านค้าปลีกแบบอเมริกัน ‘อยู่ยาก’ ในแดนซามูไร
03 Jan 2021

 

การตัดสินใจของ Walmart ในการขายหุ้น 85% ใน Seiyu เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่นซึ่งมีร้านค้า 300 แห่งกระจายทั่วประเทศและมีพนักงานประมาณ 35,000 คน แสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์สไตล์อเมริกันที่มุ่งเน้นไปที่ราคาที่ต่ำ ถือว่ามีประสิทธิภาพที่ล้มเหลว ในการตอบสนองผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น

 

เคยเป็น เจ้าของ 100%

ครั้งหนึ่ง Walmart เคยเป็นเจ้าของ Seiyu ในสัดส่วนการถือหุ้น 100% โดยย้อนกลับไปในปี 2002 ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดของโลกเข้าสู่แดนอาทิตย์อุทัยเป็นครั้งแรก ด้วยการซื้อหุ้น 6%ใน Seiyu และค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นก่อนที่จะมีการเทคโอเวอร์เต็มรูปแบบในปี 2008

แต่ล่าสุดสัดส่วนหุ้นที่เคยมีกำลังจะลดลงเหลือ 15% หลัง Walmart  ตัดสินใจขายหุ้นไปให้กับผู้ซื้อ 2 รายคือ KKR บริษัทการลงทุนของสหรัฐฯ ในสัดส่วน 65% และ Rakuten ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของญี่ปุ่น รวมเป็นมูลค่า 172,500 ล้านเยน หรือเกือบ 50,000 ล้านบาท

 

แม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของเหมือนเคย แต่ Judith McKenna ซีอีโอของ Walmart International ได้ระบุว่า ทั้งคู่จะรักษาความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป

ครั้งหนึ่ง Seiyu เคยเป็นหนึ่งในกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตที่โดดเด่นของญี่ปุ่น การขายในครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามว่า เสน่ห์ที่เคยมีหมดลงแล้วหรือ? เพราะรวมๆ แล้ว Walmart  ใช้เงินกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 60,000 ล้านบาทไปกับ Seiyu

 

การคำนวณที่ผิดพลาด

ว่ากันว่า สาเหตุที่ทำให้ Seiyu ไม่ได้เจิดจรัสมากนักเมื่ออยู่ในมือของ Walmart เป็นเพราะการคำนวณที่ผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดของ Walmart จนทำให้เกิดความล้มเหลวของกลยุทธ์ 'Every Day Low Price’ หรือ ขายสินค้าราคาประหยัดในทุกๆ วัน อันเป็นลายเซ็นประจำของ Walmart

เดิมมีการวางแผนที่จะดึงลูกค้าให้เข้ามาที่ร้าน Seiyu โดยการตัดราคาคู่แข่ง ทว่าเชนซูเปอร์มาร์เก็ตในท้องถิ่นกลับใช้วิธีเดียวกัน ตัวอย่างเช่น OK Corp ที่เสนอการรับประกันว่า สินค้าที่จำหน่ายอยู่ในร้านจะเป็นราคาเดียวกับ Seiyu หรือซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งอื่นๆ

             

จุดนี้เองทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาจึงไม่ดีขึ้นเท่าควร เมื่อเทียบกับบ้านเกิดในสหรัฐอเมริกา

ขณะเดียวกันการมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพได้ก่อให้เกิดผลกระทบเช่นเดียวกัน Walmart ลดจำนวนพนักงานในร้านของ Seiyu ดังนั้นเมื่อพนักงานมีน้อยจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

ทั้งไม่มีพนักงานมาเติมสินค้าใหม่หลังจากที่ขายหมดไปแล้ว และบางครั้งพนักงานก็ไม่มีเวลาที่จะมีดูแลรักษาการตกแต่งภายในร้าน จนแม้กระทั้งไฟหน้าร้านไม่เปิดก็มี

 

 

พยายามแก้ปัญหาแล้ว

แม้ในขณะที่บริษัทแม่ยังคงให้ความสำคัญกับราคาอย่างเคย แต่บริษัทที่อยู่ในแดนซามูไร รับรู้ปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี และพยายามหาหนทางแก้ไข

ทางหนึ่งคือการดึง 'ทาเคชิ คามิโกจิ’ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งซีอีโอในปี 2015 ซึ่งตัวทาเคชินั้น เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการในญี่ปุ่นของ Unileverโดยมีการคาดหวังว่าซีอีโอคนใหม่จะพัฒนาความสามารถในการทำกำไรอย่างยั่งยืน

แต่ที่สุดแล้วทาเคชิ ไม่สามารถเห็นกับสำนักงานใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการขยายตัวธุรกิจผ่านการเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่นการเข้าซื้อกิจการ ดังนั้นเขาจึงก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2018

เมื่อไม่มีแม่ทัพใหญ่คุม Walmart จึงได้บริหารเอง ขณะเดียวกันมีรายงานว่าในปี 2018 Walmart ได้ซุ่มเจรจาที่จะขาย Seiyu แต่ด้วยราคาที่วางไว้ 300,000 - 500,000 ล้านเยน ถือเป็นตัวเลขที่วสูงเกินไปดีลดังกล่าวจึงต้องล้มไป

 

Seiyu มีรายรับประมาณ 700,000 ล้านเยน แต่กลุ่มธุรกิจในญี่ปุ่นของ Walmart ทำกำไรสุทธิได้เพียง 47 ล้านเยน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจหลัก Seiyu มีส่วนช่วยในการทำกำไรเพียงเล็กน้อย และด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง Walmart สรุปว่า Seiyu ไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยราคาที่ต่ำเพียงอย่างเดียว จึงตัดสนใจขายหุ้นออกไป

 

สิ่งที่ต้องจับตามองคือ Seiyu ในมือผู้ถือหุ้นรายใหม่จะสามารถรับมือกับความท้าทายจาก ออนไลน์ ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะคู่แข่งต่างเร่งเครื่องเรื่องนี้กันอย่างเต็มที่ ทั้ง Amazon อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่กำลังเร่งรวมอีคอมเมิร์ซเข้ากับร้านค้าแบบดั้งเดิม

 

ขณะที่ Aeon ซึ่งเป็นกลุ่มค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นกำลังร่วมมือกับ Ocado ของสหราชอาณาจักรในการสร้างคลังสินค้าอัตโนมัติที่จะจัดส่งสินค้าไปยังครัวเรือนโดยตรงโดยมีกำหนดเปิดตัวในปี 2023 และ Seven-Eleven Japan ได้เปิดตัวบริการส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าภายในเวลา 30 นาทีด้วยกัน

[อ่าน 3,278]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทำความเข้าใจการขึ้นราคากระเป๋า Chanel ล่าสุดปี 2024 และตลาดขายต่อ
"ยูนิลีเวอร์" วางแผนแยกธุรกิจไอศกรีม ส่งผลให้พนักงาน 7,500 ราย ถูกเลิกจ้าง
"ฝรั่งเศส" เจ้าภาพโอลิมปิก 2024 เผยโฉมชุดนักกีฬาทีมชาติ
อาลัย Akira Toriyama ผู้สร้าง Dragon Ball เสียชีวิตแล้วในวัย 68 ปี
ลอรีอัล ยืนหนึ่งด้านสิ่งแวดล้อมนำคะแนน ‘AAA’ 8 ปีซ้อนจาก CDP
"Casio" เปิดตัวรุ่นลิมิเต็ด ครบรอบ 50 ปี "นาฬิกาดิจิทัลพร้อมปฏิทินอัตโนมัติเรือนแรกของโลก"

MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved