'เอสซีจี' เปิด 3 เกมรุกสู่ 'ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน'
02 Mar 2021

 

ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ประกาศทิศทางธุรกิจปี 2564 มุ่งสู่ 'ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน' ตามแนวทาง SDGs และ ESG ตั้งเป้าเพิ่มการขายผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (Green Polymer) 2 แสนตันภายในปี 2568  

 

ทั้งนี้ ธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เปิดเผยว่า

ในปีที่ผ่านมาธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มีการปรับตัวในหลายๆ ด้านเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายโดยโครงการสำคัญๆ อย่างเช่น โครงการขยายกำลังการผลิตของโรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์หรือ MOCD ที่มีความคืบหน้าตามแผนที่วางไว้ และพร้อมดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ภายในต้นไตรมาสที่ 2 นี้ โดยจะมีกำลังการผลิตโอเลฟินส์เพิ่มอีก 3.5 แสนตันต่อปี

 

สำหรับปี 2564 นี้ ธุรกิจปิโตรเคมี มีความท้าทายทางธุรกิจใหม่ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่

  • หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy for Plastics) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการพลาสติกใช้แล้วที่เจ้าของแบรนด์สินค้าและผู้บริโภคให้ความสำคัญ เกิดเป็นพฤติกรรม Sustainable Consumption รวมถึงมีกฎระเบียบและเป้าหมายของประเทศต่างๆ  
  • การเปลี่ยนแปลงของตลาดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (Shifting Demand) ทำให้เกิดปัจจัยบวกต่อตลาดบางประเภท เช่น บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง พลาสติกสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าในช่วงฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ตลาดที่อุปสงค์เคยลดลงไป เช่น กลุ่มสินค้าคงทน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า น่าจะกลับมาดีขึ้น ขณะที่สินค้ากลุ่ม Medical &Healthcare จะเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานสูงขึ้นในระยะยาว
  • การแข่งขันในภูมิภาคสูงขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งบางส่วนเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลง Trade Flow จาก Trade War   

 

การรับมือกับความท้าทาย         

ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ทางธุรกิจ รวมทั้งตอบโจทย์ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs : Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ และแนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) ธนวงษ์ เปิดเผยถึงเป้าหมายการเดินหน้าสู่การเป็น “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” (Chemical Business for Sustainability) ของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ว่าประกอบด้วย

1) เพิ่มการขายผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ Green Polymer 2 แสนตัน ภายในปี 2568

2) ขยายการขายสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (HVA) เป็น 50% ภายในปี 2573

3) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน และขับเคลื่อนด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

 

 

1.     Accelerate Circularity

ร่งการขยายเข้าสู่ธุรกิจ Circular Economy เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดภาวะโลกร้อน พร้อมตอบโจทย์ลูกค้า เจ้าของแบรนด์สินค้า และผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีโรดแมปขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน 4 ด้าน ครอบคลุมตลอดทั้งโซ่อุปทาน ได้แก่  

1) การพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกและโซลูชัน โดยออกแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย (Design for Recyclability) และคงคุณสมบัติด้านอื่นๆ ไว้อย่างครบถ้วนเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบเพื่อให้พลาสติกสามารถรีไซเคิลได้ 100% เช่น การพัฒนาโซลูชันสำหรับบรรจุภัณฑ์แบบ Mono-Material ออกแบบให้ชั้นแผ่นฟิล์มในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นวัสดุชนิดเดียวกันทั้งหมด จึงนำกลับมารีไซเคิลได้ง่าย โดยเบื้องต้น เอสซีจีได้คิดค้นโซลูชันสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันการซึมผ่านระดับปานกลาง หรือ Medium Barrier Packaging สามารถใช้ทดแทนวัสดุไนลอนชั้นกลางในบรรจุภัณฑ์จำพวก ถุงน้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ถุงข้าวสาร หรือบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ เช่น ถุงไส้กรอก ซึ่งโซลูชันนี้ช่วยให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้ 100% ส่งผลให้การจัดการหลังการใช้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ร่วมกับเจ้าของแบรนด์สินค้าหลายราย

2) การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ PCR (Post-Consumer Recycled Resin)โดยขณะนี้ เอสซีจี ได้วิจัยพัฒนาสูตรการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล PCR ชนิด HDPE ภายใต้แบรนด์ SCG Green PolymerTM สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าที่ใช้ภายในบ้าน ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาต้นแบบ PCR Booster สารปรับแต่งเพื่อยกระดับคุณภาพบรรจุภัณฑ์ให้สามารถมีส่วนผสมของเม็ดพลาสติกชนิด PCR เพิ่มขึ้นได้ โดยยังคงประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ไว้เช่นเดิม

3) การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับธุรกิจปิโตรเคมี (Chemical Recycling)โดยพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วกลับมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น หรือ Recycled Feedstock สำหรับโรงงานปิโตรเคมีเพื่อนำกลับมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกใหม่ รวมถึงสามารถผลิตเป็น Food Grade ได้ด้วย โดยได้ก่อสร้างโรงงานทดสอบการผลิต หรือ Demonstration Plant แห่งแรกในประเทศไทย ในพื้นที่บริเวณโรงงาน จังหวัดระยอง ด้วยกำลังการผลิต Recycled Feedstock ประมาณ 4,000 ตันต่อปี และพร้อมที่จะขยายกำลังผลิตในอนาคต เมื่อเทียบกับการนำขยะไปเผาหรือฝังกลบ กระบวนการรีไซเคิลในรูปแบบนี้ มี Carbon Footprint น้อยกว่ามาก

4)  การพัฒนานวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและเจรจาความร่วมมือกับพันธมิตร

 

2.     Accelerate Innovation

เร่งการขับเคลื่อนธุรกิจ HVA ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้พัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA มาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์  สุขภาพ ยานยนต์ และการก่อสร้าง ทั้งนี้ ได้วิจัยพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบ In-House และ Open Innovation ดังนี้  

o  ร่วมมือกับเครือข่ายด้านวิจัยพัฒนาสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ ทั่วโลกทั้งในประเทศไทย เอเชียและยุโรป ซึ่งในปีนี้ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ตั้งงบ R&D เป็นเงินกว่า 1,600 ล้านบาท

o  ก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและพัฒนาต้นแบบสินค้าหรือ “i2P Center” (Ideas to Products) แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียนตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเป็นโซลูชันด้าน Material Selection, Design และ Process  

o  มีศูนย์พัฒนาต้นแบบสินค้า จึงช่วยจุดประกายความคิดให้กับลูกค้าและเจ้าของแบรนด์สินค้า รวมทั้งมีกระบวนการเร่งให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนาสินค้าต้นแบบได้รวดเร็วขึ้นเป็น 3 เท่าจากที่ผ่านมา  

 

 

3.     Accelerate Digital Technology

เร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ ทั้งด้านความเร็วและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเอสซีจีได้เสริมความแข็งแกร่งภายในองค์กรด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน สร้าง Single Data Platform ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเห็นข้อมูลชุดเดียวกันแบบเรียลไทม์ เช่น การใช้ดิจิทัลในการขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามสถานการณ์ตลาดมากขึ้น การใช้ดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและป้องกันปัญหาในกระบวนการผลิต (Reliability) ใช้ Predictive Model เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติของเครื่องจักรล่วงหน้าก่อนเกิดความเสียหาย และการนำ AI Simulation เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ Digital Commerce Platform หรือ DCP เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากคำสั่งซื้อของลูกค้าเข้ากับข้อมูลการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะคำสั่งซื้อได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถลดเวลาได้ถึง 70%”

 

ทั้งนี้ กลยุทธ์เชิงรุกทั้ง 3 ด้านของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี  ได้แก่

1. เร่งการขยายเข้าสู่ธุรกิจ Circular Economy 

2. เร่งการขับเคลื่อนธุรกิจ HVA

3. เร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ 

นอกจากจะส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนแล้วยังตอบโจทย์ SDGs และ ESG ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน ชุมชน สังคม และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านนวัตกรรมและโซลูชันที่เอสซีจีมุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และพร้อมที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน

[อ่าน 1,264]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอสซีจี ขนกองทัพนวัตกรรมจาก 10 แบรนด์ชั้นนำ ร่วมงานสถาปนิก 67
“โยเกิร์ต - ณัฐฐชาช์ บุญประชม” อวดแฟชั่นจากแบรนด์ MISTY MYNX คอลเลกชั่นล่าสุด
เอไอเอ ประเทศไทย มอบรางวัลเกียรติยศแก่สุดยอดตัวแทน “ที่สุดแห่งปี” AIA Annual Agency Awards Presentation 2023
Coach เปิดตัว The Coach Tabby Shop ลาน PARC PARAGON
พานาโซนิค บิวตี้ ส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ “Panasonic nanocare EH-NA0J” เจาะตลาดไฮเอ็นด์
SCG แถลงผลประกอบการไตรมาสแรก มุ่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด รุกธุรกิจที่เติบโตสูง
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved