Dine-in ไม่ได้ - ไม่แคร์ เป็น 'เชฟตัวพ่อตัวแม่' ได้ด่วนๆ
28 Jul 2021

 

โควิด-19 รอบปีก่อนชาวโซเชียลเป็นต้องได้เห็น 'เชฟตัวพ่อตัวแม่' เต็มฟีด โดยเฉพาะหนุ่มออฟฟิศที่บรรเลงฝีมือเป็นเชฟได้ชวนหิวโหย ส่งกลิ่นทะลุทะลวงมาก

Dine-in Ban งวดนี้จึงมีทางออกที่ดีให้ประชากร 'เชฟมือโปร' เกิดใหม่ได้อีกเพียบ !! 

โดยเฉพาะกับเครื่องปรุงรสยุคนี้ที่ 'ฟู้ด แฟคเตอร์' บริษัทในเครือ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ส่งเข้าตลาดทั้งกับแบรนด์ 'ซอสพริกพริก Made by Todd' ธุรกิจซอสส่วนตัวของ ปิติ ภิรมย์ภักดี ที่ส่งเข้าทำตลาดผ่าน ฟู้ด แฟคเตอร์ ที่ตนเองเป็นซีอีโอ กับ 'คิดเช่นไทย' (Kitchen Thai) ซอสแบรนด์น้องใหม่สังกัด ฟู้ดแฟคเตอร์

 

 

'ซอสต๊อด'

ปิติ ภิรมย์ภักดี ซีอีโอ ฟู้ดแฟคเตอร์ เป็นทายาทตระกูลดังที่เริ่มทำอาหารมาตั้งแต่สิบกว่าขวบ ทำให้เป็นที่มาของการควักกระเป๋าลงทุนทำธุรกิจส่วนตัวออกซอสพริกรสจัดจ้านที่ชื่อ 'ซอสพริกพริก Made by Todd' หรือ 'ซอสต๊อด' ในนาม 'บริษัท ฟาเธอร์ ออฟ ออล ซอส จำกัด' (Father of All Sauce) หรือแปลแบบกำปั้นทุบดินก็น่าจะเป็น 'ตัวพ่อทุกซอส' แจ่มๆ กันไปตั้งแต่ชื่อบริษัท แถมซอสตัวพ่อยังใช้ใบหน้า ปิติ ภิรมย์ภักดี เจ้าของบริษัทที่รู้จักกันดีว่า 'ต๊อด' เป็นโลโก้ของแบรนด์  เอาหน้าตัวเองการันตีว่าเป็นสินค้าคุณภาพ ประหยัดค่าการสื่อสารทางการตลาด เพราะใครๆ ก็รู้จักผู้ชายคนนี้

 

แล้วก็มีสตอรี่ของแบรนด์เล่าพ่วงมาอีกว่า

  • 'ต๊อด' ชอบทำอาหารมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว
  • 'ต๊อด' ได้แรงบันดาลใจมาทำซอสของตนเอง จากการที่เห็นซอสศรีราชาตอนไปเรียนต่างประเทศ
  • 'ต๊อด' อยากลองปั้นแบรนด์ซอสของตัวเอง ขนาดควักเงินลงทุนเอง
  • 'ต๊อด' ขายซอสสองเดือนแรก ฟันยอดขายมาสิบกว่าล้าน
  • 'ต๊อด' ชอบใจกับชื่อซอสของตัวเองที่มีเยอะแยะ เช่น ซอสต๊อด, ซอสพริกพริก, ซอสโซเชียล สำหรับชื่อหลังมีที่มา

 

เพราะสร้างแบรนด์ ทำตลาดจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพราะต้องการประหยัดงบ

แต่ 'ซอสต๊อด' ก็ยังทำตลาดผ่าน ฟู้ด แฟคเตอร์ และขายผ่านเฟซบุ๊กเพจ และไลน์ Made by Todd และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ด้วย TRADEFACTOR OFFICIAL SHOP บน Lazada และ Shopee ด้วยชื่อเดียวกันอีกด้วย

 

        

 

'คิดเช่นไทย'

สำหรับมือใหม่เทิร์นโปรภายในเสี้ยววินาทียังมีตัวเลือกจาก ฟู้ด แฟคเตอร์ได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากล่าสุด ฟู้ด แฟคเตอร์ เพิ่งปั้นแบรนด์น้องใหม่ 'คิดเช่นไทย' (Kitchen Thai)

ชื่อแบรนด์ค่ายนี้ก็มีสตอรี่ให้ได้ตีความกันอีก

  • ชื่อภาษาไทย เมื่ออ่านจากก็ต้องบอกว่า ชื่อแบรนด์นี้ 'แปลไทยเป็นไทย' ได้ว่า 'คิดแบบไทย' หรือ 'คิดเหมือนไทย'
  • ชื่อภาษาอังกฤษ ก็ได้อีกความหมายว่า 'ครัวไทย' บอกกันตรงๆ ว่าเหมาะกับอาหารประเภทครัวไทย

 

ซอสและเครื่องปรุงรส 'คิดเช่นไทย' นำร่องด้วยสินค้ายอดฮิตทุกครัวไทยต้องมี นั่นคือ ซีอิ๊วขาว, ซอสปรุงรส และซอสหอยนางรม ซึ่งใครเห็นเป็นตลาดเบสิกๆ อย่างนี้ ใหญ่ไม่ใช่เล่นๆ ด้วยว่า มีมูลค่าตลาดไต่ถึง 4.1 หมื่นล้านบาทกันเลยทีเดียว

จริงๆ ตลาดเครื่องปรุงรสว่าไปก็ไม่หมู เพราะมีเจ้าตลาดเดิมที่ครองตลาดมาเป็นสิบๆ ปีอยู่คู่ครัวไทยมานาน แต่เครื่องปรุงรสจาก 'ฟู้ด แฟคเตอร์' และ'ซอสต๊อด' นั้นต้องถือว่าเป็นซอสที่ขายความแตกต่าง และเป็นซอสที่มีคาแรกเตอร์ของแบรนด์ดู Chic & Cool จนทำให้สามารถแทรกตัวเข้าไปเบียดแชร์มาได้

 

ความแตกต่าง

สำหรับซีอิ๊วขาว, ซอสปรุงรส และซอสหอยนางรม แบรนด์ 'คิดเช่นไทย' สร้างความแตกต่างในตลาด ที่มาพร้อมรูปลักษณ์ของขวดที่ดูพรีเมียมขนาด 250 มิลลิลิตร ราคา 45 บาท และสร้างความแตกต่างด้วยการผสมวิตามิน A, วิตามิน D,วิตามิน B12 มาในส่วนซอสเลย ยังไม่ใส่ผงชูรส เก็บรักษาได้นาน ซึ่งประเด็นหลังตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจรักษ์สุขภาพ คาแรคเตอร์ของแบรนด์ วางจัดจำหน่ายในช่วงแรกผ่านหน่วยงานภายใต้บริษัทฯ ในนาม เทรด แฟคเตอร์ ทางช่องทาง Shopee, Lazada, JD Central และ Facebook, Line โดยในอนาคตจะมีการขยายสู่ Modern Trade อื่นๆ เพิ่มเติม

 

 

ส่วน 'ซอสต๊อด' นั้นต้องบอกว่า นี่คือซอสที่มากับไลฟ์สไตล์แบบเจาะจงเฉพาะเมนู เรียกว่า 'สำเร็จพร้อมปรุง' !!

'ซอสต๊อด' มีหลาย SKU เพิ่มเติมจากรุ่นแรกที่เป็นซอสอเนกประสงค์จัดจ้านเท่านั้น แต่ยังมีซอสมะเขือเทศรสเผ็ด ซอสผัดไทย ซอสเย็นตาโฟ ซอสกะเพราเชฟบุ๊ค ซอสสไปซี่ซีฟู้ด น้ำจิ้มไก่ ซอสพริกศรีราชา ฯลฯ

แค่เตรียมวัตถุดิบ เหยาะ 'ซอสต๊อด' นี่เทิร์นโปร ติดปีกเทวดานางฟ้ากันได้ในครัวทันที แม้จะเป็นมือใหม่สุดๆ ก็ตาม

 

เทรนด์ 'เชฟเทิร์นโปร'

ยุคนี้ 'มือใหม่' ก็กลายเป็น 'มือโปร' ได้ง่ายๆ ซึ่งเทรนด์การเป็นเชฟหน้าใหม่ในบ้านนี่เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะกับเทรนด์ในยุค New Normal ที่คุณผู้ชายก็อยากแสดงฝีมือ 'โชว์เหนือ' คุณภรรยาและอยากอวดบทบาทคุณพ่อยอดเชฟกับคุณลูก ยิ่งในยุคการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่ 'นีลเส็น ไอคิว' ได้สำรวจช่วงต้นปีนี้ และพบว่าผู้บริโภคราว 58% ขาดความเชื่อมั่นกับการรับประทานอาหารนอกบ้าน

 

นี่จึงทำให้เราได้เห็นเทรนด์การทำอาหารกินเองที่บ้านแบบ Food Safety กันมากขึ้น เพราะตอบโจทย์ทั้งการลดความเสี่ยงออกไปนอกบ้านและเพื่อดูแลสุขภาพตัวเองในยุค New Normal จนกลายเป็นไลฟ์สไตล์ที่เกิดขึ้นในยุคนี้

 

แล้วก็ยิ่งตอกย้ำไปอีกสำหรับเทรนด์การทำอาหารเพื่อรับประทานเองในบ้าน ด้วยข้อมูลจาก SME Update ของธนาคารกรุงเทพ ที่อ้างอิงผลการศึกษาจาก Whole Food เชนซูเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมียมที่จำหน่ายสินค้าออร์แกนิกในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ระบุว่า

 

"พฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคยุค 2564 จะเน้นการปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น โดยจะจับจ่ายเลือกซื้อสินค้าเพื่อการดูแลสุขภาพมากขึ้น และรับประทานอาหารมื้อเช้ามากขึ้น และประเภทสินค้าที่มีแนวโน้มเติบโตดียังเป็นกลุ่มอาหารที่เรียกว่า 'ซูเปอร์ฟู้ด' ซึ่งเป็นสินค้าอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการสูงมีความสำคัญต่อร่างกาย เต็มไปด้วยคุณค่าวิตามินต่างๆ อาทิ กลุ่มฟังก์ชันนอลฟู้ด โปรไบโอติกส์ ยังสามารถขายตัวเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การผลิตอาหารกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาแปรรูปให้สามารถรับประทานได้ง่ายขึ้น เก็บได้ระยะยาวและคงคุณค่าสารอาหารเอาไว้ได้ นอกจากนี้ ผู้บริโภคยุคใหม่จะให้ความสำคัญกับความหลากหลายของมากขึ้น อีกทั้งจะเน้นบริโภคอาหารเช้าที่ปรุงเอง แต่จะใส่ใจในรายละเอียดด้วยการเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ลงไป ทำให้เกิดเมนูใหม่ๆ"  

 

 

ส่วนการเพิ่มลูกเล่น เพื่อให้เกิดรสชาติ 'เฉพาะจาน' หรือ 'เฉพาะบุคคล' ถือว่าผู้บริโภคคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก เพราะมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่น่าสนใจตรงที่คนไทยชอบรับประทานอาหารและปรุงรสด้วยซอสและ

ข้อมูลจากศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่าปัจจุบันคนไทยบริโภคซอสและเครื่องปรุงรสเฉลี่ย 5.8 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ส่งให้ปี 2563 ตลาดมีมูลค่า 41,893 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 4.3% หรือพูดให้เห็นภาพก็มีมูลค่าสูงกว่าตลาดชาเขียวบรรจุขวดสัก 2 เท่า และมีมูลค่าสูงกว่าตลาดกาแฟกระป๋องสัก 3 เท่า

 

 


บทความจากนิตยสาร MarketPlus Magazine Issue  136

[อ่าน 4,303]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ไทย แนะแบรนด์เสริมกลยุทธ์
The Importance of Building ​Nation Brand
9 แนวทางการสื่อสารความยั่งยืนให้กับองค์กร Effective Sustainability Communications
เปิดมุมมอง “ปิยะพงศ์ จิตต์จำนงค์” ถึงกลยุทธ์ KFC ของ CRG และแผนรุกตลาด QSR ปี 2567
Do & Don’t และแผนการสืบทอดธุรกิจครอบครัว
EMMA Clinic มอบอัตลักษณ์ความงามเฉพาะคุณ
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved