NFT : สินทรัพย์ยุคดิจิทัลที่เป็นมากกว่างานศิลป์
24 May 2022

 ผู้เขียน: ปางอุบล อำนวยสิทธิ์

 

ในยุคที่สินทรัพย์ดิจิทัลเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น รัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจในการควบคุมดูแลและบริหารจัดการสินทรัพย์ประเภทนี้ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การทำความเข้าใจและจับตามอง โดยนอกจาก cryptocurrencies ที่เริ่มคุ้นหูคนทั่วไปแล้ว NFT ก็เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลอีกประเภทหนึ่ง ที่เริ่มมีการกล่าวถึงกันเพิ่มมากขึ้น

โดยเริ่มแรกอาจจะเกิดจากกลุ่มคนที่สนใจเกี่ยวกับงานศิลปะ รวมไปถึงกลุ่มคนที่เก็งกำไรจากราคาของงานประเภทนี้ แต่แท้จริงแล้ว NFT เป็นได้มากกว่านั้น โดยเฉพาะเมื่อ Augmented/Virtual reality (AR/VR) หรือ metaverse เริ่มถูกกล่าวถึงและมีการลงทุนจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก NFT ก็จะยิ่งมีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพที่นอกเหนือจากการเป็นเพียงแค่ “digital copy ของภาพวาดโมนาลิซ่า”
 

 

NFT คืออะไร?

NFT หรือ Non-fungible Token คือ สิ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัวไม่สามารถทำซ้ำได้ (Non-fungible) โดยสามารถระบุความเป็นเจ้าของได้บนเทคโนโลยี blockchain 

แม้ว่าคนทั่วไปอาจจะคุ้นชินกับ NFT ในรูปแบบของภาพวาดหรืองานศิลปะมากกว่า แต่อันที่จริงแล้ว NFT นั้นเป็นได้ตั้งแต่ภาพวาด เพลง วิดีโอ รูปปั้น กระเป๋า ของสะสม บัตรสมาชิก ข้อความบนทวิตเตอร์ ไอเทมในเกม หรือแม้กระทั่งลักษณะตัวตน

ทั้งนี้ NFT มีความคล้ายคลึงกับ cryptocurrency ตรงที่เทคโนโลยีที่รองรับคือ blockchain ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สามารถทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลทั้งสองประเภทสามารถระบุความเป็นเจ้าของรวมถึงการเปลี่ยนผ่านมือได้อย่างชัดเจนและไม่มีใครสามารถเข้ามาแก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม NFT ต่างจาก cryptocurrency ตรงที่ cryptocurrency นั้นเป็น fungible token ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้และมีมูลค่าเท่ากันทุกโทเคน (ทุกๆ 1 Bitcoin มีค่าเท่ากันหมด) แต่ NFT ที่เป็น non-fungible จะมีมูลค่าที่แตกต่างกันไปตามแต่ละโทเคน (ภาพโมนาลิซ่ามีมูลค่าไม่เท่ากันกับรูปปั้นเดวิด)

 

NFT ทำให้การระบุความเป็นเจ้าของของข้อมูลดิจิทัลทั้งในรูปแบบภาพ เสียง วิดีโอ และข้อความที่ทำได้ยากในอดีตมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

ในอดีตนั้นการที่จะระบุว่าข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตนั้นๆ เป็นของใครทำได้ยากและมีการถกเถียงกันบ่อยครั้ง เช่น รูปที่ถูกวาดขึ้นโดยศิลปินและมีการแชร์บนโซเชียลมีเดีย หากมีคนนำรูปไปใช้เพื่อการค้าก็จะเป็นเรื่องยากที่ศิลปินเจ้าของผลงานจะแสดงความเป็นเจ้าของผลงานตัวเองได้ ซึ่ง NFT จะสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้จากการระบุความเป็นเจ้าของด้วยเทคโนโลยี blockchain นอกจากนี้ การมี “digital copy” ของสินทรัพย์ในโลกจริง (physical world) จะสามารถช่วยลดปัญหาของการลอกเลียนแบบและการหลอกขายสินค้าที่มีราคาแพงได้อีกด้วย

แม้ว่า NFT ชิ้นแรกจะถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2014 (“Quantum” โดย Kevin McCoy) แต่กระแสของ NFT นั้นเพิ่งเป็นที่สนใจมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา 

สะท้อนจากรายงาน NFT Annual Report 2021 ของ NonFungible.com แสดงให้เห็นว่า มูลค่าการซื้อ-ขายของ NFT ทั้งตลาดมือหนึ่งและมือสองในปี 2021 อยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ถึง 215 เท่า นอกจากนี้ จำนวน wallet ที่มีการซื้อ-ขาย NFT อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 29 เท่าจากปี 2020 ไปอยู่ที่ 2.6 ล้าน wallet ในปี 2021 แน่นอนว่าการเติบโตของ NFT นั้นได้รับแรงสนับสนุนมาจากทั้งกระแสของ cryptocurrency ที่ผู้คนต่างให้ความสนใจมากขึ้น และการมาถึงของ AR/VR และ metaverse ที่ NFT จะเข้าไปมีบทบาทสำคัญกับการเข้าสู่โลกเสมือนจริงในด้านของการเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล


อ่านเพิ่มเติม : https://www.scbeic.com/th/detail/product/8276

 

 
[อ่าน 1,539]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เผยลักษณะสำคัญของ Savvy Explorers ในเอเชียแปซิฟิก
อโกด้าเผยไทยติดอันดับ 2 จุดหมายยอดฮิตของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นช่วงโกลเดนวีค
เปิดโพล!! คนไทยคิดอย่างไรกับสงกรานต์ 21 วัน
หลุยส์คาเฟ่ ปลุกกระแสแบรนด์เนมตื่น เอนเกจพุ่ง 950 % หลังเปิดตัวเพียงครึ่งเดือน
สัญญาณดีๆ ของปี 2023 มีส่งต่อปี 2024 ไหม
TikTok ร่วมพัฒนาอนาคตแห่งความบันเทิงและการค้าในปี 2567
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved