The Next Chapter Content MarketPlus Magazine Issue 150
26 Oct 2022

 

The Next Chapter ของโลกธุรกิจที่จะต้องเปิดบทกันใหม่ต่อไปนับแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะเป็นอย่างไร ในเมื่อบริบททางการตลาดยังคงเปลี่ยนแปลงไป และเพิ่มตัวแปรเป็นตัวละครใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง หรือตัวละครที่เป็นตัวประกอบเมื่อช่วงครึ่งแรกของปีก็มาเล่นบทตัวเอกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อย่างชัดเจน โดยที่แสดงตัวชัดเจนแล้วนั่นคือ ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 107.70 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 101.21 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่  6.41% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ชะลอตัวลงจากเดือนสิงหาคม 2565 (แต่ราคาสินค้ายังแพง !?!) ในภาพรวมธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่กังวลปัญหาเงินเฟ้อมากเท่ากับธนาคารกลางอื่นๆ (ที่ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดสวนทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว) และทำให้ ธปท. ยังสามารถทยอยขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ +0.25% นี่จึงส่งผลต่อเนื่องถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนตัว

อย่างไรก็ตาม โดยรวมเชื่อว่า สถานการณ์ดังกล่าวยังจะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่ โดยเฉพาะผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน และปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อปัญหาจากการโจมตีท่อส่งและการระงับส่งก๊าซของรัสเซียซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อวิกฤติพลังงานและความเสี่ยงการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป ขณะที่เศรษฐกิจจีนยังเผชิญปัญหาการขาดแคลนพลังงานและการล็อกดาวน์ ขณะที่สถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกยังอยู่ในระดับสูง

 

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทมีการประเมินว่า หากธนาคารกลางสหรัฐฯยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังย่ำแย่ก็จะทำให้บรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง กดดันให้เงินดอลลาร์ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ และหนุนให้เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หรือแกว่งตัว sideways แต่ทั้งนี้ สถาบันการเงินก็ยังแนะนำให้ผู้ประกอบการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ Options เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่ตลาดผันผวนหนัก

กับปัจจัยภายนอกที่ผันผวนดังกล่าว ในฟากของธุรกิจ The Next Chapter ก็ยังคงต้องวางยุทธศาสตร์เพื่อรับมือทั้งกับปัจจัยภายนอกควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ แน่นอนว่า การปรับตัวที่หลีกหนีไม่พ้น นั่นคือ การสร้างความยืดหยุ่น (Resilience) ให้กับตนเองเพื่อให้มีความสามารถในการลื่นไหลไปกับทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะความยืดหยุ่น เพื่อสร้างการเติบโตในภาพรวมอย่างยั่งยืน ความยืดหยุ่นทางการเงิน ความยืดหยุ่นในระบบปฏิบัติการ ความยืดหยุ่นกับการคัดเลือกหรือลงทุนทางด้านเทคโนโลยี ความยืดหยุ่นภายในองค์กร ความยืดหยุ่นกับการเลือกดำเนินโมเดลธุรกิจฯลฯ ตลอดจนการเอาตัวรอดจากภาวะเศรษฐกิจกิจถดถอย ขณะเดียวกันก็ต้องดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อสร้างการเติบโตและมุ่งให้ประสบความสำเร็จให้ได้ในเศรษฐกิจวงรอบต่อไปนับจากนี้

 

ทั้งนี้ กลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจต่างๆ ที่เป็น New Approach ในวันนี้ คือ การสร้างสรรค์ระบบที่มีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิมกับบริบทที่ถูกเปลี่ยนแปลง และดิสรัปต์อย่างในวันนี้ ไม่ใช่การป้องกันธุรกิจที่โฟกัสแค่ยุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตเท่านั้น หรือการปกป้องธุรกิจที่พิจารณาเพียงแค่ความเสี่ยง ณ จุดที่ตนเองประสบอยู่เท่านั้น เพราะนั่นคือมุมมองที่นอกจากจะขีดวงจำกัดตนเองแล้ว ยังสกัดกั้นการเติบโตของธุรกิจอีกด้วย

 

Active Strategy ในวันนี้จึงกลายเป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องมีพื้นฐานของความสามารถในการปรับตัว และยอมให้องค์กรของตนเองรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แทนที่จะเป็นน้อยกว่าเดิม และ ‘กันชน’ หรือ Buffer ที่ธุรกิจต้องมีไว้เพื่อความปลอดภัยทางธุรกิจนั้นก็จะเป็นพลังที่ยังคงเหลืออยู่ของธุรกิจ เพื่อปกป้องความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจ ‘กันชน’ ดังกล่าวคือ การลงทุนทางธุรกิจเพื่อดักทางไปรอก่อนล่วงหน้า (Invest Ahead), หูไวตาไว (Sense Early), ตอบสนองอย่างทันทีทันใด (Response Immediately) การเร่งขับเคลื่อนธุรกิจของตนเองออกจากวังวนของดิสรัปชั่น (Accelerate out of Disruption) ซึ่งการสร้างความยืดหยุ่นให้เข้มแข็งขึ้นนั้น McKinsey ได้แนะนำ  ‘ฮาวทู’ ใน 3 ขั้นตอนโดยสรุป ดังนี้

  • ขั้นเตรียมตัว – ออกแบบความยืดหยุ่น ด้วยการลงทุนกับตัวเลือกที่มีโอกาสเติบโตด้วยกันได้ อย่างการมีซัพพลายเออร์ในประเทศต่างๆ, การสร้าง ‘กันชน’, การสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งขึ้น
  • ขั้นรับรู้ – วางแผนล่วงหน้าไว้และหูไวตาไว ก่อนที่จะถูกดิสรัปชั่นไปเสียก่อน
  • ขั้นขับเคลื่อน – สร้างกลไกที่จะทำให้ธุรกิจยืนยาวได้อย่างต่อเนื่องและตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงตนเองและเอาตนเองออกจากวังวนดิสรัปชั่น

 

สำหรับ The Next Chapter ที่นิตยสาร MarketPlus ฉบับนี้นำเสนอจากผู้นำธุรกิจต่างๆ จึงถือเป็นการสะท้อนมุมมองของการสร้างปัจจัยบวกให้ตนเองด้วยความยืดหยุ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการเติบโตของธุรกิจตนเองท่ามกลาง ปัจจัยลบที่โหมมาดั่งพายุ และยังไม่รู้ว่าจะจบสิ้น ณ เวลาใด

 

The Next Chapter Contents

 

ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ

ผู้นำ ‘บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย)’ ให้มีผลงานที่โดดเด่นเป็นอันดับ 1 ในระดับอาเซียน  อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่มหลายๆ โครงการ จนกลายเป็น Best Practice ระดับโชว์เคส ในบราเดอร์กรุ๊ป ระดับภูมิภาคอาเซียน และ The Next Chapter ของบราเดอร์ ประเทศไทยก็ยังคง Cool เช่นเดิม

 

โอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ

นักยุทธศาสตร์ด้านการสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาดที่มีจิตอาสาร่วมคืนกำไรสู่ประเทศชาติ ด้วยการร่วมสร้าง Sustainable Tourism ผ่าน Destination Branding กับ ‘Tri-land’ เกาะเต่า เกาะพงัน เกาะสมุย อัญมณีแห่งอ่าวไทยหลังโควิดเข้าดิสรัปต์การท่องเที่ยว   

 

กรณ์ ณรงค์เดช

ซีอีโอหนุ่มหล่อแห่ง ‘ไรมอนด์แลนด์’ ที่เพิ่งตัว ‘ดิ เอสเทล’ (The Estelle) โครงการระดับ Ultra Luxury แห่งเดียวบนทำเลทองที่สุขุมวิท 26 พร้อมเปิด The Next Chapter ของธุรกิจว่า ยังคงดำเนินยุทธศาสตร์ด้วย Branded Residence ระดับโลก เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

 

จักรภพ ฉิมอำพันธ์

ผู้บริหาร ‘ทิปโก้ เอฟแอนด์บี’ ผู้ออกมาเปิดใจถึงสาเหตุที่ทิปโก้ออกมาเปิด The Next Chapter ด้วย ‘น้ำซ่า’ โดยพาเหรดซับแบรนด์สนุกๆ โดนๆเข้ามาเติมพอร์ตฯ อย่าง ‘ทิปโก้ อีซซี่’ (Tipco Izzi) Sparkling กลิ่นผลไม้ และ ‘ทิปโก้ โซซ่า’ (Tipco Sosa)  Sparkling น้ำผลไม้แท้

 

ธีรนันท์ กรศรีทิพา

มือการตลาดเยี่ยมยุทธ์จาก ‘เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้’ ที่ออกมาเปิดสูตรปั้นความสำเร็จให้ ‘ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์’ ท่ามกลางสมรภูมิรีเทลเดือด พร้อม ‘ฮาวทู’ ยืนหนึ่งและยืนยาว จนปัจจุบันทราฟิกในศูนย์การค้าน่าจะทะยานขึ้นถึง 8 หมื่นคน/วัน เกินเป้าที่ตั้งไว้เมื่อต้นปีนี้

 

กร เธียรนุกุล

ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม ‘มายวาวา’ (MyWaWa) แพลตฟอร์ม e-Marketplace สัญชาติไทยที่ทำธุรกิจ B2B แบบ End to End ที่ต้องการปั้นนักรบทางเศรษฐกิจเปิด The Next Chapter ให้กับผู้ประกอบการไทยได้ Go Regional และเป็น Trade Investment แห่งเอเชียอาคเนย์

[อ่าน 1,290]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ด้วยการตลาดแบบยั่งยืน (Sustainability Marketing)
“สะสม” แค่กระแส หรือจงรักภักดี
ฉากทัศน์แห่งความรุ่งเรืองของธุรกิจ Art Toy ในประเทศไทย
The Charming Business of Art Toy
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เสริมแกร่งธุรกิจครอบครัวสู่การเติบโตยั่งยืน
Soft Power เอาจริงหรือ?
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved