เหตุใดความเท่าเทียมทางเพศ จึงเป็นเรื่องสำคัญในแวดวงเทคโนโลยีมากกว่าที่เคย
07 Mar 2023

เนื่องในโอกาสวันที่ 8 มีนาคม 2566 นี้ เป็นวันสตรีสากล นางสาว คาวอล พรีท ประธานบริษัทเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ได้นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศในแวดวงเทคโนโลยีว่า เนื่องจากทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง โลกที่เราเคยรู้จักเหมือนโคจรเข้าไปในกาแล็กซีที่ต่างจากที่เราเคยอยู่อาศัยโดยสิ้นเชิงสองทศวรรษ ที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่งที่สุดในรอบหลายศตวรรษ

 

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสร้างผลกระทบที่ไม่มีทางย้อนกลับให้กับยุคเราทั้งโครงสร้างทางสังคม โลกการทำงาน และทิศทางในอนาคต ในขณะเดียวเทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญต่อความหลากหลาย ความเสมอภาค และความครอบคลุมทุกกลุ่มคนของชุมชน ประเด็นที่มีความหมายต่อฉันมากคือการสนับสนุนการให้โอกาสกับเยาวชนหญิง รุ่นใหม่ในแวดวงเทคโนโลยี โดยเฉพาะเด็กสาวที่มีภูมิหลังหลากหลาย ฉันเชื่อมาตลอดว่าการที่เราเป็นคนที่เก่งและกลายมาเป็นกระบอกเสียงของผู้หญิงในสาขา STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) ตั้งแต่อายุยังน้อย จะช่วยสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสาขาต่าง ๆ และสังคมโดยรวมให้ดีขึ้นได้

 

เส้นทางในสาขา STEM ของฉัน

สำหรับเด็กสาวที่เติบโตมาในประเทศอินเดีย วิทยาศาสตร์กลายมาเป็นหนทางให้ฉันค้นหาความชื่นชอบและขัดเกลาทักษะที่จะช่วยปูทางให้ในอนาคต ฉันเลือกเรียนวิศวะ และไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้หญิงเป็นส่วนน้อยมากๆ ตั้งแต่สมัยเรียนในมหาวิทยาลัย หากจะมองให้เป็นข้อเสีย ก็เป็นได้ แต่การที่ฉันเป็นคนส่วนน้อยในหมู่ผู้ชาย ทำให้ฉันเรียนรู้ที่จะใช้เสียงของตัวเองเพื่อสร้างพลังและเป็นเครื่องการันตีว่าโอกาสต่างๆ ที่เพื่อนร่วมชั้นผู้ชายได้รับนั้น มันจะมาถึงฉันด้วย

ประสบการณ์ครั้งนั้นสอนให้ฉันเห็นความสำคัญของการได้รับการถ่ายทอดวิชา การได้รู้จักคนที่สร้างแรงบันดาลใจที่หลากหลายทำให้เรามีมุมมองที่ต่างออกไป ถ้าบุคคลในแวดวง STEM เหล่านั้นมีแค่ผู้ชายที่มีตัวตนและมีที่ยืน ก็จะสร้างภาพจำและอคติบางอย่างให้กับเยาวชนที่กำลังพัฒนาชุดความคิดให้เป็นไปในทางที่บิดเบือนออกไป ความไม่เท่าเทียมทางเพศก็จะไม่มีวันหมดไป

 

ผู้หญิงต้องสนับสนุนและถ่ายทอดวิชาให้กันและกัน

การอบรมเพื่อถ่ายทอดวิชาความรู้เป็นส่วนสำคัญของโครงการที่ เฟดเอ็กซ์ ริเริ่มเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ เราได้จัดตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการหญิงในอินเดีย ที่เสี่ยงต่อการต้องปิดกิจการและอาจกระทบต่อการเลี้ยงครอบครัวของพวกเขา เฟดเอ็กซ์ ได้จับมือกับ United Way Mumbai ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของชุมชน ช่วยให้ผู้หญิงกว่า 700 คน จากกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ได้เข้าถึงเครื่องมือและสิ่งจำเป็นต่างๆ ในการฟื้นตัวธุรกิจของพวกเขา ธุรกิจ SME ที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะผู้ที่มาจากชุมชนรายได้น้อย เป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบช่วงการระบาดใหญ่มากที่สุด และยังต้องการการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

 

เมื่อไม่นานมานี้ เรายังได้จัดตั้งโครงการเพื่อถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านทักษะอาชีพให้กับเยาวชนหญิงในประเทศฟิลิปปินส์ ที่ต้องการทำงานในสาขา STEM อีกด้วย

 

การรู้ทันการเปลี่ยนแปลง

บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันต่างจากสมัยที่ฉันยังเด็กมาก ตอนนี้เทคโนโลยีเต็มไปด้วยโอกาสที่ไม่สิ้นสุด เด็กผู้หญิงที่อยากจะเรียนในสาขา STEM ไม่จำเป็นต้องประกอบอาชีพที่จำกัดแค่ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ หรือครู อีกต่อไป พวกเขาสามารถทำงานในด้าน AI วิทยาการหุ่นยนต์ เทคโนโลยี 5G ยานยนต์แห่งอนาคต การวิจัยสภาพภูมิอากาศ และอื่น ๆ อีกมากมาย เราเห็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ช่วยให้ความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้นในด้านสาธารณสุข การรักษาโรค และการเพิ่มอายุขัย มีพื้นที่ให้คนได้คิดและนำเอาไอเดียใหม่ ๆ มาปรับใช้อยู่เสมอ ทำให้เกิดโอกาสด้านการทำงานกับชุดข้อมูลเหล่านี้ที่จะช่วยเปลี่ยนโฉมวิถีชีวิตของผู้คนและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้

สตาร์ทอัพซึ่งก่อตั้งโดยคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในยุคดิจิทัลเป็นตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้เข้ารอบสองในสี่คนจากการประกวด FedEx Small Business Grant Contest ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นการแข่งขันเพื่อมอบรางวัลแก่สตาร์ทอัพที่มีไอเดียด้านวัตกรรมที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นเยาวชนหญิงรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีการแพทย์และแพลตฟอร์มเพื่อการสนับสนุนการบริการด้านสุขภาพ ทั้งคู่มองเห็นโอกาสในการคิดค้นบริการซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อนในแวดวงสาธารณสุข โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

 

การเปิดรับความเท่าเทียมของผู้หญิงในทุกวงการ

แวดวงเทคมีการคาดการณ์ไว้ยิ่งใหญ่สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในปี 2566 คาดว่าเม็ดเงินที่จะใช้จ่ายด้านดิจิทัลจะเพิ่มมากขึ้นถึง 3.5 เท่าของขนาดเศรษฐกิจในภูมิภาค จีนยังคงครองตำแหน่งผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลกและยังเป็นผู้บุกเบิกด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคอีกด้วย ในขณะที่อินเดียเริ่มตีตื้นขึ้นมาครองส่วนแบ่งการตลาดและมีศักยภาพที่จะกลายเป็นซิลิคอนแวลลีย์แห่งต่อไป แต่หากมองตามความเป็นจริงแล้ว ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงมีอุปสรรคที่ต้องแก้ เพื่อให้เกิดการยกระดับทักษะด้านดิจิทัล การสรรหาหัวกะทิ และการจัดทำเส้นทางการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับนวัตกรรมในระดับต่างๆ ซึ่งการดึงศักยภาพเหล่านี้ออกมา ต้องคำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศในที่ทำงาน โรงเรียน ห้องแล็ป และภาคธุรกิจทั้งหมด

 

สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสามารถเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยให้ผู้หญิงได้รับความเท่าเทียมทางเพศได้ เครื่องมือหรือแพลตฟอร์มไม่มีการแบ่งแยก เราเองก็ไม่ควรเช่นกัน ในโลกที่มีความหลากหลาย ความเสมอภาค และความครอบคลุมทุกกลุ่มคน ทุกคนควรได้รับโอกาสเหมือนๆ กัน

[อ่าน 701]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เผยลักษณะสำคัญของ Savvy Explorers ในเอเชียแปซิฟิก
อโกด้าเผยไทยติดอันดับ 2 จุดหมายยอดฮิตของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นช่วงโกลเดนวีค
เปิดโพล!! คนไทยคิดอย่างไรกับสงกรานต์ 21 วัน
หลุยส์คาเฟ่ ปลุกกระแสแบรนด์เนมตื่น เอนเกจพุ่ง 950 % หลังเปิดตัวเพียงครึ่งเดือน
สัญญาณดีๆ ของปี 2023 มีส่งต่อปี 2024 ไหม
TikTok ร่วมพัฒนาอนาคตแห่งความบันเทิงและการค้าในปี 2567
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved