ทันทีที่ ทรัมป์ 2.0 เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ อเมริกา ความดีใจสะท้อนออกมาในเรื่องที่จับต้องได้ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ทุกตลาดพุ่งแบบข้ามคืน (แล้วก็ลงชั่วข้ามคืนเช่นกัน)
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2025 ทรัมป์ประกาศมาตรการภาษีศุลกากรเก็บปกติ 10% กับภาษีตอบโต้การปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมในข้อตกลงการค้าปัจจุบันกับทั้งหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและพันธมิตรทางภูมิรัฐศาสตร์
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ลุกลามจนคาดการณ์ไม่ได้ เริ่มขึ้นในอีกหนึ่งอาทิตย์ให้หลัง (วันที่ 9 เม.ย. 68) โดยไม่กี่ชั่วโมงที่มาตรการเก็บภาษีสูงสุดของทรัมป์กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่มมีผลบังคับใช้ จีนเผชิญกับภาษีนำเข้าใหม่สูงถึง 34% และของเดิมอีก 20% เป็นภาษีศุลกากรสูงถึง 54%
สหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศจีนอีก 50% เป็น 104% หลังจีนปฏิเสธยกเลิกเก็บภาษีสินค้าสหรัฐฯ ในอัตรา 34%
และวันที่ 10 เม.ย. 2025 ทรัมป์ประกาศเลื่อนไปอีก 90 วัน เพื่อการเจรจายกเว้นประเทศจีนโดนภาษีเพิ่มขึ้นจาก 104% เพิ่มเป็น 125% มีผลทันที
ทางจีนได้ตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษี 84% กับสินค้านำเข้าจากอเมริกาที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. 2025
“นโยบายการค้าของรัฐบาลทรัมป์นั้นคาดเดายาก มักเปลี่ยนแปลงภายในไม่กี่ชั่วโมง ทำให้ประเทศต่างๆ รับมือไม่ทัน”
ภูมิรัฐศาสตร์โลกจะเหลือเพียง 2 ขั้วเท่านั้น
แรงกระแทกทางภูมิรัฐศาสตร์โลกกำลังทำให้การค้าและเศรษฐกิจโลกแตกแยก ที่เรียกกันว่า Global Fracturing Economy เหมือนอยู่ระหว่าง ‘เขาควาย (Dilemma)’ และท้าทายการบูรณาการทางเศรษฐกิจ แม้แต่ความร่วมมือทางการค้าที่มั่นคงมาโดยตลอดก็กำลังตึงเครียดและคุกคามความร่วมมือในอนาคตข้างหน้า
การพิจารณาถึงทัศนภาพ (Scenarios) ของสหรัฐฯ ในการแข่งขันสู่มหาอำนาจโลก (อีกครั้ง) ตามรูปได้ดังนี้
ทรัมป์ 2.0 สหรัฐฯ ได้ปรับเปลี่ยนหลายๆ อย่างด้วยการใช้ Executive Order (คำสั่งฝ่ายบริหาร)
และ ‘มาตรการภาษีศุลกากรและภาษีตอบโต้’ (ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว) ด้วยสหรัฐฯ ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมในข้อตกลงการค้าปัจจุบันกับทั้งหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและพันธมิตรทางภูมิรัฐศาสตร์
Trade-Tech War กับจีนเต็มรูปแบบ เพื่อไม่ให้จีนเข้าถึงและพัฒนาเทคโนโลยีล้ำหน้าด้าน AI อุปกรณ์ทางการแพทย์และการทหาร
ซึ่งเป็นเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ และอาจเป็นเหตุผลที่มีผลกระทบและมีอิทธิพลมากที่สุด ต่อความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และการแข่งขันในด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเห็นได้จากนโยบายด้านอุตสาหกรรมในส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และคอมพิวเตอร์ขั้นสูง อุปกรณ์ทางการแพทย์และการทหาร (ตามที่กล่าวมา)
และในบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ China Daily กล่าวว่า “ไม่ใช่ว่าจีนไม่เข้าใจว่าภาษีศุลกากรที่สูงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนนั้นจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการส่งออกและเศรษฐกิจการลงทุนโดยรวมและผลกำไร ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะลดลง”
แต่เกมของสหรัฐฯ ที่กล่าวอ้าง ‘สิ่งจำเป็นด้านความมั่นคงของชาติ’ ด้วยรู้อยู่แล้วว่า มาตรการภาษีศุลกากรไม่ได้เกิดประโยชน์ใดๆ เพราะสหรัฐฯ ตั้งใจที่จะตัดจีนออกจากตลาดผู้บริโภคและปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
สำหรับจีน เน้นที่พัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและครบวงจร พร้อมกับ
America First โดยการจัดทำหรือกำหนด
แม้ว่าทรัมป์ปัดเรื่องความผันผวนของตลาดโดยกล่าวว่า ‘บางครั้งคุณต้องกินยา’ แต่ดูเหมือนจะลังเลเมื่อคำทำนายที่ว่าสหรัฐฯ จะถดถอยมากขึ้น
Strategic Choices ทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ การดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของทรัมป์นั้นอาจทำให้ภูมิรัฐศาสตร์โลกเปลี่ยนไป การต่อรองครั้งใหญ่ที่ยั่งยืนกับจีน ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นขึ้นกับรัสเซีย หรือความล้มเหลวของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตรแบบดั้งเดิม ทำให้ห่วงโซ่อุปทานเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนเส้นทางการไหลของเทคโนโลยี การลงทุน และการเงินทั่วโลก
และคาดกันว่าใน 4 ปี ของทรัมป์ 2.0 ภูมิรัฐศาสตร์โลก (Geopolitics) จะเหลือเพียง 2 ขั้ว คือ สหรัฐอเมริกากับ 75 ประเทศ และอีกขั้วคือ จีนกับ 7 ประเทศ สถานการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในอีกสี่ปีข้างหน้าคือ เศรษฐกิจโลกจะยังคงรวมตัวกันเป็นสองกลุ่มที่มีศูนย์กลางอยู่ที่สหรัฐฯ และจีน
ประเทศต่างๆ จึงเลือกได้แต่เพียงขั้วใดขั้วหนึ่ง พร้อมกับการรับมือกับผลที่จะตามมา
บทความจากนิตยสาร MarketPlus ฉบับที่ 176 April 2025