ผลกระทบของมาตรการความปลอดภัยต่าง ๆ ของรัฐ กับครอบครัวคนทำงานองค์กร
17 Jun 2020

 

โครงการการสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขของคนทำงานองค์กร โดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำการสำรวจสถานการณ์เร่งด่วน “ผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ต่อครอบครัวคนทำงานองค์กร"ในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ระหว่างวันที่ 27 เมษายน–22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

 

จากผลการสำรวจฯ พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถาม 3,310 คน จาก 63 องค์กร พบว่า ผลกระทบปานกลางจากสถานการณ์โรคโควิด-19 กับคนทำงาน

  • 42.3%  ปานกลาง
  •  34.4%  มาก
  • 11.9% มากที่สุด

 นอกจากนี้ ก็มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของคนทำงาน ดังนี้

  • 99.3% มั่นใจว่า คนในครอบครัวไม่มีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19
  • 31.6% ระบุว่า   ครอบครัวมีเงินเก็บที่สามารถใช้ชีวิตในสถานการณ์โควิด-19 

           

เมื่อพูดถึงผลกระทบที่มีต่อคนทำงานมากที่สุด พบว่า

  • 35%     เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายโดยรวมที่เพิ่มขึ้น    
  • 19.1%  ความวิตกกังวลหรือหวาดระแวงว่าจะติดเชื้อโรคนี้
  • 15.5% ต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
  • 13.3%  ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีและเวลาของการทำงาน  
  •  7.1%    ครอบครัว
  • 6.5%    การเดินทางที่เป็นประจำ
  • 3.5%    อื่นๆ


ทั้งนี้ กลุ่มที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ 22.5% และไม่เข้าเกณฑ์ 43.4% เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจในภาพรวมของมาตรการของรัฐ พบว่า

  • 40.2%  พึงพอใจพอสมควร
  • 9.7%    พึงพอใจมาก
  • 3.0%   พึงพอใจมากที่สุด  

 

 

ส่วนผลกระทบของมาตรการความปลอดภัยต่าง ๆ ของรัฐต่อคนทำงานและครอบครัว พบว่า

1) มาตรการประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ในเวลา 22.00-04.00 น.

  • 43.7%  ไม่มีผลกระทบ
  • 34.9%  มีผลกระทบพอสมควร
  • 33.4%  มีผลกระทบเล็กน้อย
  • 10.4%  มีผลกระทบมาก
  • 5.5%    มีผลกระทบมากที่สุด

 

 

2) มาตรการเฉพาะ “การสั่งเลื่อน” การเปิดโรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย

  • 34.9% มีผลกระทบต่อตนเองพอสมควร
  • 30.0% มีผลกระทบเล็กน้อย
  • 10.4% มีผลกระทบมาก
  • 5.5% มีผลกระทบมากที่สุด  

 

 

 3) ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐของกลุ่มคนทำงานในองค์กร

  • 64.9%  ความจำเป็นที่เกี่ยวกับการทำงาน
  • 63.6% ความจำเป็นที่เกี่ยวกับการเงิน
  • 60.0%  ข้อมูลข่าวสารที่ต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19
  • 59.9%  ความจำเป็นที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมอาชีพ   
  • 51.1%  ความจำเป็นที่เกี่ยวกับสิ่งของอุปโภคและบริโภค   

 4) การรับมือสถานการณ์โควิด-19 ของสมาชิกในครอบครัว

  • 54.2% มีความเข้มแข็ง
  • 53.0% มีความพร้อมในการช่วยแก้ปัญหาร่วมกันได้
  • 52.3% มีการวางแผนอย่างรอบคอบ สามารถเชื่อมโยงความรอบรู้ต่างๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

5) ความช่วยเหลือในสถานการณ์โควิด-19    

  • 47.5% ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากองค์กรหรือหน่วยงานของตนเอง
  • 35.2% ครอบครัวสามารถขอความช่วยเหลือจากครอบครัวอื่นในชุมชน   
  • 36.6% ครอบครัวสามารถให้ความช่วยเหลือครอบครัวอื่นที่ประสบกับวิกฤติโควิด-19 เช่นกัน

     

ดังนั้น การรับมือเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 เป็นพฤติกรรมที่สมาชิกต้องร่วมมือร่วมใจดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อครอบครัวและสมาชิกสามารถปฏิบัติได้ด้วยตัวเอง ร่วมไปกับมาตรการความช่วยเหลือจากรัฐหรือสังคม ยิ่งถ้ามีวินัยในตนเองสูง ก็จะยิ่งมีความปลอดภัยสูง ขณะเดียวกันสมาชิกในครอบครัวมีโอกาสใกล้ชิดกันมากขึ้น (family intimacy) เพราะต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันเกือบตลอดทั้งวัน หากต่างก็มีวินัยในการป้องกันเชื้อโควิด-19 มากเท่าไร ครอบครัวก็จะคงความอบอุ่นและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
 

[อ่าน 1,346]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เผยลักษณะสำคัญของ Savvy Explorers ในเอเชียแปซิฟิก
อโกด้าเผยไทยติดอันดับ 2 จุดหมายยอดฮิตของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นช่วงโกลเดนวีค
หลุยส์คาเฟ่ ปลุกกระแสแบรนด์เนมตื่น เอนเกจพุ่ง 950 % หลังเปิดตัวเพียงครึ่งเดือน
สัญญาณดีๆ ของปี 2023 มีส่งต่อปี 2024 ไหม
TikTok ร่วมพัฒนาอนาคตแห่งความบันเทิงและการค้าในปี 2567
ถอดรหัสเทรนด์ การชำระเงิน ในเอเชียแปซิฟิกปี 2567
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved